๘๖. การประกอบสัมมาอาชีวะย่อมดีกว่าอเนสนา The Right Livelihood Better Looks than the Improper One
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
การประกอบอาชีพการงานในสังคมยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่มุ่งที่ผลประโยชน์ของตนเป็นหลัก จะไม่ยอมเสียผลประโยชน์อะไรง่ายๆ โดยมีใจเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นด้วยเมตตาและกรุณา มีแต่แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในเรื่อง มิจฉาสังกัปปะ หมายถึง ความดำริที่เป็นอกุศลทั้งหลาย [อกุศลวิตก ๓] ได้แก่ (๑) กามวิตก คือ ความตรึกในทางกาม ความนึกคิดในทางแส่หา หรือพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยาก (๒) พยาบาทวิตก คือ ความตรึกในทางพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยความขัดเคืองเพ่งมองในแง่ร้าย และ (๓) วิหิงสาวิตก คือ ความตรึกในทางเบียดเบียน ความนึกคิดในทางทำลาย ทำร้าย หรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น แทนที่จะเป็น กุศลวิตก ๓ หมายถึง ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม ได้แก่ (๑) เนกขัมมวิตก คือ (ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน (๒) อพยาบาทวิตก คือ ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย และ (๓) อวิหิงสาวิตก คือ ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ต้องพึงระวังในการหาเลี้ยงตนเองโดยสุจริต ด้วยการประกอบกุศลกรรมต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อสร้างฐานบารมีแห่งศีลให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ให้ความประพฤติทั้งหลายกลายเป็นศีลอันบริสุทธิ์ยิ่งให้ได้ ไม่ปฏิบัติการสร้างกรรมดี ไม่ย่อท้อใจจากผลแห่งการทำดีที่สมประสงค์กับความปรารถนาที่คาดหวังไว้อย่างไม่มีเหตุผล ไม่ควรพึงหวังผลของการทำความดี จนกลายเป็นเหตุแห่งความทุกข์กายทุกข์ใจ หรือจนเกิดความคิดมุ่งทำลายบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แห่งตน เพราะขาดสติสัมปชัญญะ [อโยนิโสมนสิการ] อันเป็นเหตุให้ละเลยกุศลกรรมทั้งหลาย อันเป็นเหตุทำให้ถึงขั้นประมาทในชีวิต.
บทความที่ ๘๖ ประจำปี ๒๕๕๙ การประกอบสัมมาอาชีวะย่อมดีกว่าอเนสนา
ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั้น ทุกชีวิตต้องหาเลี้ยงชีพตนอยู่เสมอ โดยดำเนินตามห่วงโซ่อาหารอย่างปฏิเสธไม่ได้ นั่นคือ สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของตนให้อยู่รอดตามธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่า สัตว์ที่แข็งแรงกว่าย่อมสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ของตนให้อยู่ได้ อันเป็นไปตามหลักทฤษฎีชีววิทยา คือ ธรรมชาติเลือกสรร ฉะนั้น ความฉลาดในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้น จึงเป็นทักษะการเอาชีวิตรอด ซึ่งอาจหมายถึง การอยากได้ของผู้อื่น ความคิดประทุษร้าย และ การเอารัดเอาเปรียบกัน ดังนั้น ความรู้เห็นเข้าใจในธรรม คือ ธรรมทัศนะ นั้น ต้องรู้เห็นตามเป็นจริงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง [กัมมัสสกตา (ข้อ ๕ ในอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕) คือ เป็นเหตุละหรือช่วยบรรเทาความทุจริตต่างๆ โดยตรง หรือ กัมมัสสกตาสัทธา (ข้อ ๓ ในศรัทธา ๔ หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล นั่นคือ เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน ปัญญาดังกล่าวนี้ เกิดบนบาทฐานแห่งหลักปฏิจจสมุปบาทจุตูปปาตญาณ (ทิพพจักขุญาณ)ปัจจยปริคคหญาณ] เพราะชีวิตของสัตว์ทั้งหลายนั้น มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ไม่สิ้นสุด ที่เรียกว่า ทุคติแห่งโลกียภูมิสังสารทุกข์ [ภูมิ ๓๑] แต่ในคติทางพระพุทธศาสนานั้น การปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานนั้น เป็นการยกระดับชีวิตหรือจิตวิญญาณไปสู่ โลกุตตรภูมิ [ภพภูมิที่อยู่ของพระอริยเจ้า] ซึ่งเป็นภูมิที่สูงกว่ากลุ่มของ พรหม เทพ เทวดา ตามคติของศาสนาพรมหมณ์หรือฮินดู แต่ผู้บรรลุถึงภูมิแห่งพระอรหันต์ได้นั้น เรียกว่า วิสุทธิเทพ [อรหัตตผลอรหัตตผลวิมุตติ] ซึ่งเป็นภูมิที่เหนือกว่า (๑) กามาวจรภูมิ (๒) รูปาวจรภูมิ และ (๓) อรูปาวจรภูมิ ตามลำดับ อันเป็นชั้นที่พ้นจากโลกียภูมิแล้ว ที่เรียกว่า โลกุตตรภูมิ นั่นเอง การดำรงชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมหลีกเลี่ยงการเบียดเบียนกันและกันได้ยาก ซึ่งเกิดจากความอยากได้ของผู้อื่นและความคิดประทุษร้ายกัน โอกาสที่จะเกิด ธรรมทัศนะ [สัมมาทิฏฐิ] โดย เมตตาและกรุณา นั้น จึงเป็นเรื่องที่ยากอย่างมาก ดังนั้น ความอดอยากที่เกิดจากข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาตินั้น เป็นเหตุทำให้คนต้องแข่งขันการทำมาหากิน และยอดเลือกมิจฉาชีพเพื่อการเอาตัวรอด เมื่อคนกลุ่มใหญ่เลือกความไม่สุจริตเป็นที่ตั้ง การออกกฎหมายก็จ่อมเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มตนเป็นธรรมดา ว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น กลุ่มสมาคม พ่อค้าวาณิชย์ กลุ่มนักการเมือง เป็นต้น ความทะยานอยาก ความร่ำรวยมั่งคั่ง ความหรูหรา จึงเป็นเหตุให้เห็นการทำผิดเป็นเรื่องการกระทำถูกต้องตามข้อตกลงของกลุ่มที่มีอิทธิพลมากกว่า และยอมทุกอย่างเพื่อเงินและยศบรรดาศักดิ์ เงินทองคือรากเหง้าแห่งกิเลส หรือ ยศลาภสรรเสริญสุข เป็นยอดปรารถนาของกลุ่มมิจฉาชีพ พวกเห็นแก่ตัวเอาเปรียบคนอื่น ในกลุ่มคนเหล่านี้ บางยุคบางสมัยยังรวมพวกนักบวชทุศีลเข้าไปด้วย ที่เรียกว่า ประกอบอเนสนา คือ หลอกคนอื่นเลี้ยงชีพอย่างไม่อายหรือเกรงกลัวต่อบาปกรรม สภาพสังคมบ้านเมืองนิยมคนชั่วมากกว่าคนดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดีได้ เรียกว่า คติวิบัติกาลวิบัติ แต่ถ้าเป็นสมณเพศก็จัดอยู่ใน วิบัติ ๔ ได้แก่ ศีลวิบัติอาจารวิบัติทิฏฐิวิบัติอาชีววิบัติ ข้อนี้จึงเป็นเรื่องต้องนำมาพิจารณาประกอบกับการปฏิบัติธรรม เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในยุโรปยุคมืดมาแล้ว ซึ่งเรียกว่า กลียุค หรือ ยุคมิคสัญญี แต่ในโลกยุคปัจจุบัน มนุษย์ยังทำสงครามแย่งผลประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่เช่นเดิม ยิ่งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากเท่าไหร่ ความรุนแรงของสงครามก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ความเมตตากับความกรุณาที่มีต่อมนุษย์ด้วยกันก็ลดลงไป มีแต่ความป่าเถื่อนเกิดขึ้นแทนอารยธรรม เพราะสังคมส่วนใหญ่ประกอบมิจฉาชีพไม่ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน การดำเนินตาม สัมมาอาชีวะ ไม่สามารถสร้างผลกำไรที่ตอบแทนได้ทันใจ มีปัญหาให้แก้ไขมากขึ้น เพราะโลกเป็นเรื่องของ สังสารทุกข์ แต่คนส่วนใหญ่เลือกแนวทางแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ ก็มีแต่เพิ่มความทุกข์ยากมากยิ่งขึ้น ทำให้ศรัทธาใน ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓ มากยิ่งขึ้น เช่น ลัทธิกรรมเก่า ๑ ลักทธิพระเป็นเจ้า ๑ ลัทธิเสี่ยงโชค ๑ เป็นต้น ถ้าไปเจอพระก็ไปขอหวยมากกว่าไปปฏิบัติธรรม เห็นอะไรผิดจากธรรมชาติก็ไหว้ขอหวยเสี่ยงโชคดีกว่า คือ ยอมเป็นผู้มี ภพชาติชรามรณะโสกะ และสังกิเลสทั้งหลายเป็นธรรมดา ขออย่างเดียวให้ท้องอิ่มสุขสบายไว้ก่อน อย่างอื่นค่อยว่าทีหลัง ฉะนั้น ในสังคมยุคปัจจุบันนั้น โอกาสที่คนจะประกอบอาชีพผิดศีลธรรมจะมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากความกดดันทางสังคมและเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง เริ่มมองข้ามความสำคัญความถูกต้องของ สัมมาอาชีวะ และยอมรับ ภาวะที่ผิดของ มิจฉาอาชีวะ มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย อัตตสัมปทา [ภาวนา ๔: กายภาวนาสีลภาวนาจิตตภาวนาปัญญาภาวนา] นั้น ย่อมมีปัญญารู้แจ้งใน อริยมรรคมีองค์ ๘ [หลักมัชฌิมาปฏิปทา] โดยเฉพาะในเรื่อง อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ นั่นคือ ต้องเป็นผู้ไม่ทุศีล นั่นเอง และต้องดำเนินชีวิตตามปกติอันประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ การทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม ความฉลาดคิดแยบคายให้เห็นความจริงและหาประโยชน์ได้] ที่มีญาณสัมปยุตต์ด้วย ธรรมฐิติญาณแห่งอิทัปปัจจยตา ในอีกแง่มุมหนึ่ง มีการประยุกต์ดัดแปลงใน ปัญญา ๓ มาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างพร้อมเพรียงกัน ได้แก่ สุตมยปัญญาจินตามยปัญญาภาวนามยปัญญา ซึ่งทำให้เกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง [ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ] เมื่อเกิดปัญญาเห็นธรรมดีแล้ว ย่อมนำไปสู่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ [อธิปัญญาสิกขา] นั้น ย่อมเห็นความสำคัญในการดำรงชีพโดยชอบธรรม คือ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ อันเป็นเงื่อนไขต่อเนื่องตาม หลักมัชฌิมาปฏิปทา [อริยมรรคมีองค์ ๘] ซึ่งทำให้เข้าใจในการปฏิบัติธรรมตาม หลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา อย่างถูกต้องและเกิดความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริง โอกาสที่จะไปคิดชั่วและทำชั่วนั้น คงเกิดขึ้นในกายและใจได้ยากเช่นกัน เพราะพิจารณาสภาวธรรมด้วย หลักปฏิจจสมุปบาท ทำให้เกิดปัญญาเห็นชอบดำริชอบ เข้าใจเรื่อง กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตา คือ เชื่อในการดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ทุกคนมีกรรเป็นของของตนเอง เกิดความละอายใจต่อการทำความชั่วและกลัวบาป ที่เรียกว่า หิริโอตตัปปะ อันเป็นธรรมคุ้มครองโลก และทำให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย โดยคนส่วนใหญ่เป็นผู้มี อริยทรัพย์ ๗ ได้แก่ ศรัทธาศีลหิริโอตตัปปะพาหุสัจจะจาคะปัญญา นั่นเอง.
|