๘๗. ธรรมทั้งหลายมาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว The Single Unity of All Ultimate Realities
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
แนวคิดเกี่ยวกับการรวมกันพุ่งเข้าจุดศูนย์กลางนั้น เป็นลักษณะโครงสร้างระบบเชิงสังเคราะห์ หรือการอธิบายสภาวธรรมด้วยหลักการในเชิงทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ ที่เขียนสั้นๆ อันเป็นสูตรคล้ายกับสมการเชิงคณิตศาสตร์ แต่บุคคลสามารถอ้างถึงสัญลักษณ์นั้น แล้วอธิบายด้วยถ้อยคำได้อีกมากมาย โดยอาศัยทักษะหรือประสบการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลที่สะสมมา นั่นคือ ปัญญาความรู้รอบองค์ความรู้ ที่ทำหน้าที่เป็นบาทฐานสำคัญที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการคิดพิจารณาสภาวธรรม ที่เรียกว่า ความเข้าใจความนึกคิดความคิดเห็น หรือ ความเชื่อความศรัทธาปสาทะอธิโมกข์ ดังนี้ ในทักษะการคิดแบบเชิงสังเคราะห์นั้น เป็นลักษณะการคิดขั้นสูง ที่เกิดจากการคิดเชิงเทียบเคียงในความเหมือนกันของสภาวธรรมหลายๆ หน่วย เพื่อนำลักษณะต่างๆ มาพิจารณาหาสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างคล้ายคลึงกัน แล้วพิจารณาหาข้อสรุป ที่สื่อความหมายด้วยกฎหรือทฤษฎี ที่ผ่านขั้นตอนการพิสูจน์ด้วยหลักฐานชุดข้อมูลของสภาวธรรมใดๆในวิปัสสนาภูมิ ว่าธรรมหรือสภาวธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กันในเชิง ญาณสัมปยุตต์ธรรมสามัคคี กันได้อย่างใด ภายใต้เงื่อนไขของปรากฏการณ์หนึ่งๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแห่งจิตในภาวนากรรมฐานนั้นๆ เช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น ธรรมนิยาม ๓ไตรลักษณ์อัปปมาทะ หรือ อริยสัจจ์ ๔ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ในการบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องสามารถหาข้อสรุปสภาวธรรมใดๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกัน แล้วสามารถพิสูจน์ข้อสมมติฐานทั้งหลายอันเกี่ยวกับอารมณ์แห่งกรรมฐานนั้นๆ ว่าเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ว่าเป็นไปสิ่งที่คาดหวังไว้ในหลักธรรมหรือทฤษฎีหรือไม่ โดยพิจารณาด้วยปัญญาและเหตุผลร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์สูงสุด อันเกิดจากสัจจธรรมของธรรมทั้งหลายที่มารวมกัน.
บทความที่ ๘๗ ประจำปี ๒๕๕๙ ธรรมทั้งหลายมาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
เมื่อสิ่งสองสิ่งหรือธาตุสองธาตุมารวมกันเป็นสิ่งใหม่หรือสภาวธรรมใหม่นั้น ย่อมเป็นแนวคิดในการกำหนดสติสัมปชัญญะตามพิจารณาในวิปัสสนาภูมิ โดยเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ต่อยอดขึ้นใหม่ กลายเป็นความรู้ใหม่แห่งปัญญาญาณ โดยอาศัยเครื่องมือในการค้นคว้าวิจัยสภาวธรรมเหล่านั้นด้วย ญาณทัสสนะญาณทัสสนวิสุทธิยถาภูตญาณทัสสนะ ที่เกิดขึ้นในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ที่เรียกว่า มหาวิปัสสนาญาณ ๑๘ สำหรับกระบวนการรวมกันและอาศัยกันของสภาวธรรมทั้งหลาย นั้น ต่างเรียกว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการตถตา โดยปราศจากความสงสัย เพราะรู้เหตุปัจจัยแห่งนามรูปจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ [อัทธา ๓ = ปฏิจจสมุปปันนธรรมปัจจัยธรรมทั้งหลายแห่งภวจักรหรือสังสารจักร] องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ [กังขาวิตรณวิสุทธิ ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗] ส่วนปัญญาญาณในวิปัสสนาภูมิ เรียกว่า ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ ถ้าจะกล่าวโดยสรุป คือ บุคคลนั้นได้บรรลุถึง ปัญญาเห็นธรรมดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ [ปัญญาจักขุ] แต่ยังไม่ได้ถึงขั้นบรรลุความตรัสรู้โดย สัมโพธิญาณ ซึ่งต้องอาศัยปัญญาญาณเห็นธรรมด้วย หลักไตรลักษณ์ [สามัญลักษณะ: อนิจจังทุกขังอนัตตา] นั่นคือ สมาธิ ๓ ในวิปัสสนา กับ วิโมกข์ ๓ โดยพิจารณาตาม (๑) อนิจจตาอนิมิตตา (๒) ทุกขตาอัปปณิหิตา (๓) อนัตตตาสุญญตา หรือ ลำดับตามการพิจารณาในวิปัสสนา (๑) ทุกขตา (๒) อนิจจตา (๓) อนัตตตา ฉะนั้น ในการสัมปยุตต์กันของธรรมทั้งหลายนั้น จะมีองค์ประกอบหลักๆ ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) จิตตภาวนาสมถภาวนา กับ (๒) ปัญญาภาวนาวิปัสสนาภาวนา โดยสรุป คือ (๑) ฌาน กับ (๒) ญาณ โดยเชื่อมโยงด้วย ญาณทัสสนะ ในขณะที่ สติสัมปชัญญะ มีความแก่กล้าหรือคมชัด หมายถึง ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงหยั่งรู้หยั่งเห็น โดยพิจารณาสภาวธรรมตามเป็นจริงด้วย ยถาภูตญาณยถาภูตญาณทัสสนะกังขาวิตรณญาณกังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึง ปัญญาหยั่งรู้องค์ประกอบแห่งปัจจยาการ ที่เรียกว่า ปัจจัยธรรม ได้แก่ (๑) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ และ (๒) ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ ซึ่งเรียกว่า ภวจักรสังสารจักร เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงสภาวธรรมในวิปัสสนาภูมินั้น จะมีองค์ประกอบ ๒ อย่าง ที่เกิดขึ้นรวมกันเป็นองค์รวมเดียวกัน ได้แก่ (๑) สมาธิอธิจิตตสิกขา กับ (๒) ปัญญาอธิปัญญาสิกขา โดยสมาธิจะเป็นเหตุให้เกิดปัญญาหยั่งรู้เห็นตามเป็นจริงของความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ [ญาณทัสสนะ] กลายเป็น ญาณในวิปัสสนา (ข้อ ๑ ในวิชชา ๘) นั่นคือ ในการบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานนั้น ต้องเจริญด้วย ภาวนา ๒ ได้แก่ (๑) สมถะสมถภาวนา กับ (๒)) วิปัสสนาวิปัสสนาภาวนา นั่นคือ เมื่อจิตสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ทั้งหลาย จิตประภัสสร ดีพร้อมแล้ว คือ ปราศจากนิวรณ์ [นิวรณ์: กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอรติอวิชชาอกุศลธรรมทั้งหลาย] จิตนั้นสรคตด้วย ฌานกุศลจิต [รูปาวจรจิต ๑๕อรูปาวจรจิต ๑๒โลกุตตรจิต ๘] ซึ่งทำให้จิตไม่เกิดความลำเอียง [อคติ ๔] และไม่มีความเห็นคลาดเคลื่อนถือผิด [วิปลาส ๔] ฉะนั้น ฝ่ายปัญญาในวิปัสสนานั้น ย่อมเป็นองค์ความรู้ที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์ คือ ปรมัตถสัจจะ [อภิธรรม] ไม่ใช่ สมมติสัจจะ ที่เรียกว่า โลกียธรรม ในบางส่วนเป็นเรื่องความเห็นคลาดเคลื่อน [ทิฏฐิอุปาทาน] และอีกบางส่วนก็เป็นนัยแห่งปรมัตถ์ ที่ไม่ใช่ ปรมัตถสัจจะ ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ปรมัตถสัจจะ ซึ่งแตกต่างจากปรมัตถ์ทางวัตถุนิยมที่เป็นข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เพราะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วย ชีวิตินทรีย์จิตวิญญาณ และแตกต่างจาก อินทรียวัตถุ ที่ไม่อ้างถึงเรื่องจิตวิญญาณที่เน้นสภาวธรรมในวัฏฏะ [กิเลสกรรมวิบาก = ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] ส่วนทางแนวคิดทางวิทยาศาสตร์นั้น ไม่กล่าวถึงเรื่อง กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตา เพราะความรู้ทางปรัชญากับวิทยาศาสตร์ทั้งหมด เรื่องว่า เดรัจฉานวิชา คือ ความรู้ที่ไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง ซึ่งต่างจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เน้นถึงความเจริญอันประเสริฐด้วยอริยมรรคและอริยธรรม เพราะฉะนั้น สภาวธรรมทั้งหลายต้องพึ่งพากันมาเกิดรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อกลายเป็นอีกสภาวธรรมหนึ่ง และตั้งอยู่แล้วดับไป แล้วมีสภาวธรรมอื่นมารวมกันใหม่อาจเป็นสภาวะที่เล็กลง เท่าเดิม หรือโตกว่าเดิม พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปรากฏการณ์แห่งจิตนี้ด้วย หลักปฏิจจสมุปบาท [ปัจจัยธรรม] และ ปัจจัย ๒๔ ที่อธิบายลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ของสภาวธรรมใดๆ ที่ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป แต่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นจากสภาวะการพึ่งอาศัยกันและกันของกลุ่มสภาวธรรมนั้น คือ สภาวะแห่งจิตที่แปรปรวนไปทุกขณะจิต ที่กิเลสทั้งหลายเข้าครอบงำจิตใจบุคคล ที่เรียกว่า สังขตธรรม คือ สภาพปรุงแตงด้วยเหตุปัจจัย อันเป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ ส่วนจุดหมายสำคัญของการปฏิบัติธรรมนั้น คือ การบรรลุถึง โลกุตตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ โดยนิพพานนั้น เรียกว่า อสังขตธรรม [อมตธรรมบรมธรรม] ซึ่งทั้ง สังขตธรรม และ อสังขตธรรม ต่างดำรงอยู่ด้วย อนัตตตา [ธรรมนิยาม ๓] ดังนั้น พุทธบริษัทจึงต้องเข้าใจรู้เห็นสภาวธรรมอย่างถูกต้องตามเป็นจริงด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ การหมั่นเพียรภาวนากรรมฐานอย่างสืบเนื่องเป็นนิตย์ เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง อย่างสมบูรณ์และไพบูลย์ยิ่งขึ้น และยิ่งกว่านั้น ต้องเป็นบุคคลที่จำแนกแยกธรรมและมีทักษะกระบวนการคิดด้วยปัญญาตรัสรู้สัมโพธิญาณด้วยหลักธรรม ธรรมสามัคคี ที่เป็นสภาวะที่ธรรมทั้งหลายมาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวและไม่ขัดแย้งกัน ต่างธรรมต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตน ดังเช่น พระธรรมทั้งหมดของพระตถาคตมาประชุมรวมกันที่ธรรมเอกว่า อัปปมาทะความไม่ประมาท ดังนี้ เป็นต้น.
|