๙. กรรมย่อมให้วิบากตามกฏธรรมชาติ Kamma and Results Depending on the Natural Law
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ถ้าพิจารณาตามธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว กัมมปัจจัยวิปากปัจจัย มีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม เพราะ สังขตธรรม ทั้งหลาย เกิดดับอยู่ในวงจรของวัฏฏะ ที่ประกอบด้วย กิเลสกรรมวิบาก ที่มนุษย์เป็นผู้ปรุงแต่งสร้างสรรค์ขึ้นตามแรงปรารถนาของตนทั้งสิ้น ส่วนคำว่า อสังขตธรรม นั้น คือ สิ่งที่ไม่ได้ปรุงแต่ง ปราศจากกิเลสขันธ์ทั้งหลาย [กามาวจร] และสังขารนิมิตทั้งสอง [รูปาวจรอรูปาวจร = ฌานปัจจัย] ที่เรียกว่า นิพพานธาตุ [อมตธาตุ = มรรคปัจจัย] ฉะนั้น ธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้น คือ โสภณกุศลกรรม กับ โสภณกุศลวิบาก การปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิจึงเป็น การสร้างกรรมใหม่ เพื่อให้ได้ การรับวิบากใหม่ อันเป็น โสภณจิต ทั้งหมด ให้พิจารณาตามขั้นปัญญาแตกฉาน ๒ อย่าง คือ เป็นเรื่องเหตุกับผล ได้แก่ (๑) อัตถปฏิสัมภิทา ด้วยประพฤติใน ปุพเพนิวาสานุสติญาณนามรูปปริจเฉทญาณ กับ (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ด้วยประพฤติใน จุตูปปาตญาณปัจจยปริคคหญาณ [ทิพพจักขุญาณธัมมัฏฐิติญาณ] เพราะอรรถว่า ได้บรรลุดวงตาเห็นธรรม ทำให้เห็นกรรมทั้งหลายด้วยปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ [กลาปสัมมสนะสัมมสนญาณ] เพราะฉะนั้น กฎธรรมชาติ คือ ปฏิจจสมุปบาทธรรมฐิติ ต้องสัมปยุตต์ด้วย ไตรลักษณ์ธรรมนิยาม ๓ ที่จะอธิบายสภาวธรรมอันเป็นจริงตาม อริยสัจจ์ ๔ ได้จริง เพื่อออกจาก วัฏฏะ ๓: กิเลสกรรมวิบาก ดังนั้น กัมมผลสัทธา [กัมมัสสกตา] จึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ทำให้เห็นธรรมทั้งหลายอย่างแท้จริง ไม่ใช่เรื่องมาพูดเล่นๆ ผ่านไปอย่างไร้ความหมาย ถ้าคิดเรื่องนี้ไม่ออก ก็ถึงขั้น ฉิบหายเสียคุณอันใหญ่ คือ หมดโอกาสบรรลุโลกุตตรธรรม [อภัพบุคคล] ได้เช่นกัน สำหรับอุบายวิธีให้บรรลุอุตตริมานุสสธรรมทั้งหลายนั้น ไม่ใช่เรื่องยากหรอก แต่พอเห็นธรรมทั้งหลายแล้ว จำแนกแจกธรรมไม่ได้ตามไตรลักษณ์ ก็สรุปได้ว่า ท่านผู้นั้นถึงจุดอวสานแห่งการปฏิบัติธรรมในพระธรรมวินัยนี้ ประพฤติปฏิบัติมาก็แสนยาก แต่ตอนที่ต้องเสียก็เสียแค่เหตุปัจจัยเพียงนิดเดียว คือ คำสั้นๆ ง่ายๆ ว่า กรรม นั่นเอง.
บทความที่ ๙ ประจำปี ๒๕๕๙ กรรมย่อมให้วิบากตามกฏธรรมชาติ
ลัทธิศาสนานั้น เกิดขึ้นจากกระบวนการแสวงหาความรู้อันเป็นความจริงในธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่ไปให้ความสำคัญปรากฏการณ์ภายนอกตน ไม่ได้สนใจใส่ใจตัวตนของตนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นตัวจิตรับรู้อารมณ์ [รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์] ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาทางอินทรีย์ [ตาหูจมูกลิ้นกายใจ] ฝ่ายรับรู้และตีความหมาย พร้อมด้วยเจตนาการปรุงแต่งอารมณ์นั้นให้เป็น สังขตะสังขตธรรมสังขารสังขารธรรม หมายถึง ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งขันธ์ ๕ ทั้งหมด อันสัมปยุตต์ด้วย ตัณหา กับ ทิฏฐิ [อวิชชาโมหะ] กล่าวโดยย่อ เรียกว่า นิวรณ์ [Hindrances] จิตไม่สงัดจากนิวรณ์ หมายถึง (๑) สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม (๒) ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี (๓) อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง อันมีนัยอยู่ ๘ ประการ ได้แก่ (๑) กามฉันทะ คือ ความพอใจในกามความต้องการกามคุณ (๒) พยาบาท คือ ความคิดร้ายความขัดเคืองแค้นใจ (๓) ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่และเซื่องซึม (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจความกระวนกระวายกลุ้มกังวล (๕) วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย (๖) อวิชชา คือ ความไม่รู้จริงความไม่รู้แจ้ง (๗) อรติ คือ ความขึ้งเคียดความไม่ยินดีด้วยความริษยา (๘) อกุศลธรรมทั้งปวง คือ ธรรมที่เป็นอกุศลธรรมฝ่ายอกุศลธรรมที่ชั่วธรรมฝ่ายชั่ว
ใน นิวรณธรรม ทั้งหลายนั้น เป็นตัวอุปสรรคสำคัญที่ทำให้จิตหวั่นไหวและฟุ้งซ่านจนถึงขั้นเสียสติได้ เพราะจิตนั้นถูกกิเลส ยำยีเร่ารุมกลุ้มรุมรุมล้อมปริยุฏฐานครอบงำ เพราะเหตุไม่มี โยนิโสมนสิการ ครอบงำแล้ว [ไม่ใช้เหตุผลให้เข้าใจถูกต้องเพราะศรัทธาในสิ่งผิดๆ เพราะความไม่รู้แห่งอวิชชา หรือ อโยนิโสมนสิการ] นั่นคือ กิเลสทั้งหลายเข้าเบียดเบียนเนืองๆ ดังเช่น นิวรณูปกิเลส ทั้ง ๘ ประการข้างต้นนั้น และ จิตตอุปกิเลส ทั้ง ๑๖ ประการ คือ ธรรมเครื่องเศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ได้แก่ (๑) อภิชฌาวิสมโลภะคิดเพ่งเล็งอยากได้โลภไม่สมควร (๒) พยาบาทคิดร้ายเขา (๓) โกธะความโกรธ (๔) อุปนาหะความผูกโกรธ (๕) มักขะความลบหลู่คุณท่าน (๖) ปลาสะความตีเสมอ (๗) อิสสาความริษยา (๘) มัจฉริยะความตระหนี่ (๙) มายามารยา (๑๐) สาเถยยะความโอ้อวดหลอกเขา (๑๑) ถัมภะความหัวดื้อ (๑๒) สารัมภะความแข่งดี (๑๓) มานะความถือตัวทะนงตน (๑๔) อติมานะดูหมิ่นเขา (๑๕) มทะความมัวเมา และ (๑๖) ปมาทะความประมาท ฉะนั้น ทั้ง นิวรณูปกิเลส กับ จิตตอุปกิเลส นั้น เรียกว่า ปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลาง ที่จะดับได้ด้วย อธิจิตตสิกขา [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] เพราะฉะนั้น นิวรณธรรม ทั้งหลาย คือ กิเลสเครื่องทำลายจิตตสมาธิโดยตรง การชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ ก็คือ การกำจัดหักล้างนิวรณ์ทั้งหลาย นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ ผู้เป็นพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงต้องเข้าใจถึงวิธีชำระจิตให้ปราศจากนิวรณ์ หรือให้จิตสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย คือ ประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นนิตย์ ไม่ใช่เฉพาะวันศีลหรือวันพระเท่านั้น เพราะว่าในบรรดาอุปกิเลสทั้งหลายนั้น ไม่มีวันหยุดทำงานเช่นพวกคนทำงานกินเงินเดือน มันเข้ารุมเร่าอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ตอนนอนหลับมันยังเข้าฝันได้อีกต่างหาก [พรอรหันต์ไม่สร้างฝันนิมิตขณะจำวัด เพราะจำวัดก็ต้องอยู่ในสมาธิเช่นกัน] ในความเป็นจริง สมาธิเอกัคคตา นั้น ก็คือ สติสัมปชัญญะ ที่คมชัดแรงกล้าเป็นจิตที่มีคุณภาพในระดับ อุปัฏฐาน ที่ไพบูลย์ด้วย สัมมาสติ [สติปัฏฐาน ๔ จนเกิดเป็นญาณทัสสนะสัมปยุตต์ด้วย สัมมาสมาธิ นั่นคือ ฌาน ๔ นั่นเอง เพื่อเป็นบาทฐานในวิปัสสนาต่อไป และต้องสัมปยุตต์ด้วย สัมมาวายามะ คือ สัมมัปปธาน ๔ อันเป็นความเพียรชอบ ความเพียรใหญ่ อีกด้วย โดยสรุปทั้งหมดเรียกว่า อธิจิตตสิกขา นั่นเอง] จิตที่เป็นสมาธิไม่ว่าจะอยู่ในระดับ อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ก็ตาม จิตนั้นก็จะปราศจากนิวรณ์ตามระดับความบริสุทธิ์ของจิต กำจัดระงับกิเลสได้มากแค่ไหน ฉะนั้น จิตที่ปราศจากนิวรณ์แล้ว [จตุตถฌานฌานที่ ๔: อุเบกขาเอกัคคตา] เรียกว่า จิตประภัสสร [ภวังคจิต] อันเป็นจิตตามสภาพดั้งเดิม ปราศจากการปรุงแต่ด้วยเจตนาของผู้เป็นเจ้าของ แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตของมนุษย์ขุ่นมัวเศร้าหมองอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ใช่ความแส่ไปหาเหตุเองของตน เพราะไม่มีปัญญานึกคิดได้ไม่ทั่วถึง จิตจึงสหรคตด้วยความไม่รู้จริง อวิชชา กับ ความไม่สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ปราศจาก สติสังวร [สำรวมด้วยสติ คือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลธรรมเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น = อินทรียสังวร] และ ญาณสังวร [สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัย ๔ = ปัจจัยปัจจเวกขณ์] จิตอันเป็นอุปนิสัยจึงเกิดความประมาท ปมาทะ ในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ที่พร้อมจะสร้าง กรรมใหม่ สืบเนื่องต่อไปอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุคติหรือทุคติ ต่างก็เรียกว่า สังสารทุกข์แห่งภวจักร [โลกธรรม ๘] ในความหมายของคำว่า กรรม [Volitional Actions] นั้น หมายถึง ภาวะที่จิตประกอบด้วยเจตนาหรือสัญเจตนาใน ๖ อย่าง [อารมณ์ ๖: รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์] ทำหน้าที่ปรุงแต่ เวทนา ที่ปรุงแต่งด้วย ตัณหาทิฏฐิ = สัญญาเก่า เมื่ออารมณ์ทั้ง ๖ นั้นมาสัมผัส [ผัสสะ ๖] กับ อินทรีย์ ๖: ตาหูจมูกลิ้นกายใจ แล้วจิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็น อุปาทานขันธ์ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ความรู้สึกเป็น อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา หรือ อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนาก็ตาม ต่างก็เรียกว่า ภูมิแห่งทุคติ ทั้งนั้น เพราะเป็นจิตที่จัดอยู่ใน กามาวจรภูมิ [อบายภูมิ ๔ กับ กามาวจรสุคติภูมิ ๗ = ปริตตะ] แต่บางคนเป็นผู้มีบุญวาสนา [เกิดปัญญาเห็นธรรม] ถึงแม้จะอยู่ในกามภพดังกล่าวนี้ก็ตาม ก็ยังคิดได้ว่าต้องแสวงหาภพภูมิที่สูงกว่า เจริญกว่าที่เป็นให้ได้ ย่อมเกิดศรัทธาปสาทะในพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และดำเนินชีวิตถูกคลองธรรม และเป็นผู้มีปัญญาปฏิสังยุตด้วยการใช้เหตุผล [Reasoning] และความเข้าใจถูกต้อง [Right Understanding] ในสภาวธรรมตามที่เป็นจริง เรียกโดยรวมว่า สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ซึ่งก็สามารถยอมรับได้ว่า เริ่มเข้าถึง กระแสแห่งอริยมรรค [มัชฌิมาปฏิปทาอริยมรรคมีองค์ ๘] ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับพวกกะโหลกหนาปัญญาทึบนั้น เรียกว่า ชนผู้หลงทิศ ทั้งมีโอกาสทองของชีวิตได้เรียนรู้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นแสงประทีปแห่งชีวิตที่รุ่งโรจน์นี้ก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายคงคิดออกได้ว่าตั้งปรารถนาปณิธิไว้อย่างใด [อธิษฐานธรรมบารมี: (๑) ปัญญาความรู้ชัด (๒) สัจจะความจริง (๓) จาคะความสละ (๔) อุปสมะความสงบ] นั่นคือ ความตั้งใจมั่น การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่วแน่ ไม่หนีทิ้งธุระกลางทางเตลิดหนีไปอย่างอื่น นอกจากนี้ ปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้เข้าถึงความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม ชื่อว่า ฉันทะ [ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔] หมายถึง ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป หรือ ฉันทสัมปทา (ข้อ ๓ ในบุพนิมิตแห่งมรรค ๗) หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ การทำฉันทะให้ถึงพร้อม ความใฝ่ใจอยากจะทำกิจหน้าที่และสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ดีงาม ความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ [น่าจะรวมถึง ปฏิภาณปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในไหวพริบปฏิภาณ (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔) คือ มีความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ และความคิดประยุกต์ดัดแปลง] ถ้ามีจิตอันสหรคตด้วยธรรมข้อนี้ได้ ก็เท่ากับบุคคลนั้นเริ่มเข้าสู่ กระแสแห่งอริยมรรค [อริยอัฏฐังคิกมรรคอริยมรรคมีองค์ ๘หลักมัชฌิมาปฏิปทา] ได้เช่นกัน อันไม่ใช่จิตที่ดำเนินไปอย่างผิดทาง ประการสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ปัญญา [Wisdom: จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง = ยถาภูตญาณ] ถือเป็นคุณสมบัติที่เกื้อกูลให้ถึงความตรัสรู้ [มหาโพธิสมภาร: ปัญญากับกรุณา] ได้ในพระธรรมวินัยนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถสร้างปัญญาขึ้นได้ด้วย ไตรสิกขาสิกขา ๓ ที่เรียกสามัญว่า ศีลสมาธิปัญญา นั่นคือ บุคคลต้องเริ่มต้นปฏิบัติธรรมด้วย ศีล เพื่อละเว้นจากสิ่งชั่วอกุศลทั้งหลายให้ได้ แล้วเลือกทำความดีกุศล กล่าวคือ มีความประพฤติเรียบร้อยวาจาดี ไม่เป็นเสนียดอุบาทว์ต่อตนและผู้อื่น เมื่อศีลดีด้วยพฤติกรรมที่บริสุทธิ์ ในหน้าที่การงาน ขั้นต่อไป คือ การพัฒนาจิตให้สะอาดบริสุทธิ์จากอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะให้ถึงจิตปราศจากนิวรณ์ให้ได้ด้วย สมาธิ [ฌาน ๔] อันจะเป็นจิตที่จะไม่ตั้งสมุฏฐานผิดด้วย ตัณหาทิฏฐิ ในธรรมหรือสภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในตน [จิตใจจิตวิญญาณ] ในการพัฒนาจิตตภาวนานี้ ให้หมายเอาถึง จตุตถฌาน: อุเบกขาเอกัคคตา นั่นหมายถึง จิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ดีแล้ว [อัปปนาสมาธิจิตประภัสสร] นั้น ย่อมทำให้เกิด อภิญญา คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด ดังนี้
อภิญญา ๖ [Ultra-Conscious Insight] หมายถึง ความรู้ยิ่งยวด ได้แก่ (๑) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ [Magical Powers] คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสต [Divine Ear] คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ [Telepathy] คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติ [Retrocognition] คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ [Divine Eye] คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ [Cessation of Mental Intoxication] คือ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
แต่ประการสำคัญ ให้ผู้ปฏิบัติทำความเข้าใจให้ถึงนัยแห่ง วิชชา ๓ ที่เกิดร่วมกับ อภิญญา ๖ และ ญาณ ๑๖ ให้ลึกซึ้งถึงแก่นแท้แห่งธรรมวิเศษนี้ให้ได้ นั่นคือ ข้อ ๔๖ ดังนี้
อภิญญา ๖ [Ultra-Conscious Insight] หมายถึง ความรู้ยิ่งยวด ได้แก่ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติ [Retrocognition] คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ [Divine Eye] คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ [Cessation of Mental Intoxication] คือ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
วิชชา ๓ หมายถึง ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ [Reminiscence of Past Lives] คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ ระลึกชาติได้ ตรงกับ ปุพเพนิวาสานุสสติ (ข้อ ๔ ในอภิญญา ๖) ซึ่งเป็นบาทฐานสำคัญในเกิดปัญญาในวิปัสสนา คือ นามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖) หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป (๒) จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ [Clairvoyance] คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ตรงกับ ทิพพจักขุ (ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖) ซึ่งเป็นบาทฐานสำคัญในเกิดปัญญาในวิปัสสนา คือ ปัจจยปริคคหญาณ [กังขาวิตรณญาณธัมมัฏฐิติญาณ] (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) หมายถึง ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป หรือ ปัจจัยธรรม ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [อวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพชาติชรา มรณะ รวมทั้ง โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส] กับ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย ได้แก่ อัทธา ๓ [กาล ๓]สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ อันรวมถึง กฎแห่งกรรม คือ ความเชื่อในเรื่องการกระทำและผลของการกระทำ และ กัมมัสสกตาปัญญา คือ ความรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว (๓) อาสวักขยญาณ [Enlightenmentสัมโพธะ] คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือ ความตรัสรู้ ตรงกับ อาสวักขยญาณ (ข้อ ๖ในอภิญญา ๖) ซึ่งเป็นบาทฐานสำคัญในเกิดปัญญาในวิปัสสนา คือ สัมมสนญาณ (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖) หมายถึง ญาณหยั่งรู้ด้วยพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ แล้วตามด้วย วิปัสสนาญาณ ๙ [อุทยัพพยญาณภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณสังขารุเปกขาญาณอนุโลมญาณ] โคตรภูญาณมรรคญาณ [ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา] ผลญาณปัจจเวกขณญาณอาสวักขยญาณ [ตรัสรู้] นิพพาน
นอกจากนี้ ปัญญาที่เกิดจากสมาธิกับวิปัสสนานั้น จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต้องสัมปยุตต์ด้วย ญาณ ๓ [Insight] คือ ความหยั่งรู้ปรีชาหยั่งรู้ อันเกี่ยวข้องกับกาลทั้ง ๓ อย่าง ซึ่งจะตรงกับปัญญาในวิปัสสนาในข้อ ปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) ในส่วนที่เป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม ดังนี้
ญาณ ๓ คือ ความหยั่งรู้ปรีชาหยั่งรู้ อันเกี่ยวข้องกับ อัทธา ๓ อันเป็นความรู้แจ้งในกาลทั้ง ๓ ได้แก่ (๑) อตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต รู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ ซึ่งจะตรงกับ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ [นามรูปปริจเฉทญาณ] (๒) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต รู้อนาคต หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ ซึ่งจะตรงกับ จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ [ปัจจยปริคคหญาณ] (๓) ปัจจุปปันนังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน กำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ ซึ่งจะตรงกับ จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ [ปัจจยปริคคหญาณ]
ฉะนั้น ทั้ง ปัญญาในสมาธิ [ญาณทัสสนะจิตตัวผู้วิปัสสนา] กับ ปัญญาในวิปัสสนา [ปัญญาญาณ] ที่เป็นสัมปยุตตธรรมกันและกันนั้น ทำให้เกิดฐานทางปัญญาอันเป็นปรีชาหยั่งรู้ใน วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ในการเจริญปัญญาภาวนา (ข้อ ๔ ในภาวนา ๔) หมายถึง ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒และปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย เฉพาะอย่างยิ่ง ท่านเน้น ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [อนุโลมปฏิจจสมุปบาทปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท] ซึ่งเป็นที่รวมในการทำความเข้าใจธรรมทั้งหมดนั้น ว่าโดยสาระ ก็คือ ธรรมชาติทั้งปวงที่มีใน ภูมิ ๓ [กามาวจรภูมิ (ปริตตะ) กับ รูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ (มหัคคตะอาเนญชาโวทานธรรม) ส่วน โลกุตตรภูมิ (อัปปาณะ) เรียกว่า อปริยาปันนภูมิ คือ ขั้นที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏะ ระดับที่ไม่ถูกจำกัด] ข้อระวังมากที่สุด คือ เมื่อผู้ปฏิบัติเกิดปัญญารู้แจ้งในหลักธรรม [อัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทา] ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา [ซึ่งต่อไปจะก้าวสู่ขั้น ความเป็นสุตพุทธะพหูสูต ด้วย สุตมยญาณ ต่อไปในกาลภาคหน้า] ฉะนั้น ข้อประพฤติปฏิบัติอันยิ่ง คือ การลงมือปฏิบัติจริง พูดได้จริงรู้จริง [นิรุตติปฏิสัมภิทา] และเป็นผู้มีความฉลาดรอบรู้จริงมีไหวพริบปฏิภาณหรือปัญญาอันล้ำเลิศ [ปฏิภาณปฏิสัมภิทา: ความคิดริเริ่มInitiativeness ๑ ความคิดสร้างสรรค์Creativeness ๑ ความคิดประยุกต์ดังแปลงApplicability หรือ การต่อยอดทางปัญญาReproductiveness เปรียบเทียบกับ โกศล ๓ หมายถึง ความฉลาดความเชี่ยวชาญ ได้แก่ (๑) อายโกศล คือ ความฉลาดในความเจริญรอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ (๒) อปายโกศล คือ ความฉลาดในความเสื่อมรอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม (๓) อุปายโกศล คือ ความฉลาดในอุบายรอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ] เพราะฉะนั้น ความเจริญงอกงามด้วยปัญญาบริสุทธิ์ ความไพบูลย์ยิ่งด้วยปัญญาแห่งสมถะกับวิปัสสนานั้น ย่อมเป็นยอดแห่งความปรารถนาของผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานี้
ด้วยเหตุนี้ บุคคลผู้ที่จะตรัสรู้ได้จริง ย่อมเป็นบุคคลผู้มีปัญญาเห็นกรรมแห่งตนได้อย่างละเอียด อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือการกระทำอันประกอบด้วยนิสัยใจคอ [อธิมุตติ] ที่เป็นวาระกรรมที่สร้างอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมมาแล้ว ทั้งในอดีตชาติ พร้อมกับปัจจุบันชาติ เพื่อจะกำหนดกรรมใหม่ในอนาคตชาติ คือ เพื่อความตรัสรู้สัมโพธิญาณให้ได้นั้น บุคคลนั้นต้องประพฤติปฏิบัติด้วยสัมมาปฏิปทาอันยิ่งได้อย่างไร กรรมเก่าทั้งหลายนั้น สามารถลบล้างหรือเทกรรมให้หมดในชาตินี้ได้จริงหรือไม่ แล้วกรรมใหม่ที่สร้างขึ้นนั้น สามารถนำมาหักล้างกับของเก่าได้หรือไม่ หรือจะต้องรับใช้กรรมอันเป็นหนี้สินที่พึงรู้ได้ด้วยปัญญา และแก้ไขให้ได้ด้วยปัญญาเช่นเดียวกัน ในชาติปัจจุบันนี้ เมื่อบุคคลนั้นมีจิตอันบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ทั้งหลายจริงอยู่ตลอดเวลา ย่อมตัดกรรมในปัจจุบันชาติได้อย่างสิ้นเชิง และมีความพร้อมที่จะตรัสรู้ได้ แต่กรรมเก่านั้น คือ กิเลสอาสวะที่หมักหมมหมักดองอยู่ใน พื้นจิตตสันดาน อยู่ลึกมาก วันดีคืนดีประสบอารมณ์เหมาะแห่งการทำชั่ว มันก็โผล่ออกมาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น พลังแห่งสมาธิกับวิปัสสนาอันเป็นปัญญาที่บริสุทธิ์เท่านั้น ที่จะไปหักล้างในสัญญาเก่าๆ ให้สิ้นไป ทำให้ชินและคุ้นเคยกับภูมิแห่งจิตใหม่ที่บริสุทธิ์ [จิตประภัสสร] ในความเป็นจริง พื้นจิตตสันดาน [จิตใต้สำนึกConscious Mind หรือ จิตไร้สำนึกUnconscious Mind] นั้น ก็คือ สัญญาเก่าความทรงจำใฝ่ต่ำ [ปกติคนไม่ค่อยจำสิ่งดี ถ้าพูดคำชั่วๆ มักจำได้ดีกว่า เพราะตรงกับจริตเดิมของตน ที่ชอบของชั่วๆ ของต่ำๆ คิดเป็นของดีนัก บางคนทำชั่วโดยไม่รู้สึกผิดอะไรเลย เพราะภูมิจิตมักมาจากฝ่ายต่ำ ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารจักร ไม่เข้าใจในธรรมแห่งอริยมรรค มันผิดสีผิดกลิ่นกับความชั่ว สรุปพูดกันไม่รู้เรื่อง เสียเวลาเปล่า ต้องปล่อยพวกนี้ไปตามยถากรรม นี้คือสัตว์ไม่ย่อมเข้าใจอะไรเลย แต่อย่าไปเรียกพวกนี้ว่า ไอ้~ หรือ อี~ ก็แล้วกัน กลายเป็นผิดศีล วจีทุจริต เพราะสติสัมปชัญญะตามไม่ทันอวิชชา จนเสียธรรมของตนเอง พวกคิดชั่วขำกลิ้งไปเลย ชาวบ้านเรียกว่า ดีแตก มันรสขมใส่ลาบหมูลาบเนื้อไม่ได้ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้าอย่าคิดลองของกับพวกคนชั่ว ไม่ทันกินมันหรอก เพราะ พวกนี้ชิงหมาเกิด แปลว่า มันวิ่งได้เร็วกว่าหมา เลยวิ่งแซงหมาแย่งที่หมามาเกิดก่อน ในภาษาธรรมเรียกว่า อุเบกขาตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก พิจารณาให้เห็น กัมมัสสกตา คือ กรรมของสัตว์โลกที่ต้องรับผลวิบากแห่งกรรมของตนไป อย่าไปยุ่งให้มาก เพราะจะไปวิตกกับวิญญาณอื่นมากไป ทำให้ธรรมไม่ก้าวหน้า อย่างนี้ ก็เรียกว่า มีกรรม หรือ ใช้กรรม ได้เหมือนกัน คือ นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ ก็มาตายน้ำตื้นกันตรงนี้มาก แล้ถอนอธิษฐานธรรมกลับสู่นรกใหม่ กว่าจะตั้งตัวได้ใหม่ ก็คิดเอาเองก็แล้วกัน] กล่าวโดยย่อตรงนี้ว่า กรรมทั้งหลายนั้น เกิดขึ้นกับจิตของเราได้ตลอดเวลา แม้จะทะเลาะกับแมงวันหรือหนู ก็ถือเป็นกรรม แม้จะทะเลาะกับจิตของตนเอง ก็นับเป็นกรรมในจิตของตน หรือจะทะเลาะกับฝนตกมาก ก็ถือเป็นกรรมอีกเช่นกัน เพราะเป็นผู้ปล่อยวางไม่ได้ ยังถือมันใน อัตตาอัตตริยะ [ตัวกูของกู] แทนที่จะเอาเวลามาเจริญภาวนา ยกระดับจิตอารมณ์ ประคองจิตอารมณ์ ให้ดำรงอยู่ตามสภาวธรรมที่เป็นจริง เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นธรรมแห่งไตรลักษณ์ [สติปัฏฐาน ๔อนุปัสสนา ๗] เรื่องที่น่าทำไม่ทำ ชอบแส่ไปหาสิ่งชั่ว สิ่งสกปรกโสโครก เน่าเหม็น ชอบมาก มองความเน่าเหม็นเป็นสิ่งที่หอมได้ [ปลาแดกปลาร้าปลาเค็ม] แต่พอกล่าวถึง ธรรม กลับทำเป็นงง เป็นสิ่งอัศจรรย์ใจไม่น่าจะมีจริง ไม่เชื่อ พ่อแม่ไม่เคยสอนมาอย่างนี้ [ลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน] ก็กลายเป็น ตัณหาทิฏฐิ ครอบงำจิตไปอย่างนั้น ก็เอาธรรมในตนให้บริสุทธิ์ก็แล้วกัน
อนึ่ง ในการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องการสำรวมระวังอินทรีย์ทั้ง ๖ ไม่ให้เตลิดไปกับอกุศลธรรมทั้งหลายที่อยู่รอบข้างทุกขณะจิต ถ้าจะว่าไปแล้ว จิตของมนุษย์สามารถฝึกอบรมได้ ไม่ต่างการฝึกลิงให้เก็บมะพร้าว มันอยู่ที่ความตั้งใจว่าจะทำหรือไม่ทำมากกว่า ฉะนั้น คำว่า กรรม จึงหมายถึง (๑) จิตที่ถูกครอบงำด้วย ราคะโทสะโมหะ [สัญเจตนา ๖อปุญญาภิสังขาร] อยู่ในฝ่ายอกุศลธรรม นั่นคือ จิตจะจุติปฏิสนธิ [ดับเกิด] อยู่ใน อบายภูมิ ๔: นิรยะติรัจฉานโยนิปิตติวิสัยอสุรกาย กับ (๒) จิตที่ปราศจาก อโลภะอโทสะอโมหะ [สัญเจตนา ๖ปุญญาภิสังขาร] อยู่ในฝ่ายกุศลธรรม นั่นคือ จิตจะจุติปฏิสนธิอยู่ใน กามสุคติภูมิ ๗ [มนุษยโลก ๑กามาวจรสวรรค์ ๖: จาตุมหาราชิกาดาวดึงส์ยามาดุสิตนิมมานรดีปรนิมมิตวสวัตดี] แต่ถ้าเจริญภาวนาหรือนั่งสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ จิตจะเคลื่อนไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น เรียกว่า พรหมโลก [สัญเจตนา ๖ปุญญาภิสังขารอาเนญชาภิสังขาร] ได้แก่ (๑) รูปาวจรภูมิ ๑๖ คือ ปฐมฌานภูมิ ๓: พรหมปาริสัชชาพรหมปุโรหิตามหาพรหมา ทุติยฌานภูมิ ๓: ปริตตาภาอัปปมาณาภาอาภัสสรา ตติยฌานภูมิ ๓: ปริตตสุภาอัปปมาณสุภาสุภกิณหา จตุตถฌานภูมิ ๗: เวหัปผลาอสัญญีสัตว์อวิหาอตัปปาสุทัสสาสุทัสสีอกนิฏฐา กับ (๒) อรูปาวจรภูมิ ๔: อากาสานัญจายตนภูมิวิญญาณัญจายตนภูมิอากิญจัญญายตนภูมิเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ แต่ถ้ามีการพัฒนาทั้งจิตตภาวนากับปัญญาภาวนา [สมถะกับวิปัสสนา] นั่นคือ ได้พ้นจาก ภูมิ ๓๑ ข้างต้นนั้น จนสามารถบรรลุถึง โลกุตตรธรรม ๙ [มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑] เรียกว่า โลกุตตรภูมิ ๔ ได้แก่ โสดาบันสกทาคามีอนาคามีอรหันต์ [วิสุทธิเทพ] ฉะนั้น การที่จิตได้เคลื่อนไปในภพภูมิต่างๆ ทั้ง ๓๕ ภูมิ นั้น เกิดจากการสร้างกรรมทั้งหลาย ที่จัดเป็นฝ่าย (๑) กุศลธรรมอุปาทินนธรรม คือ ธรรมที่ถูกยึดด้วยตัณหาและทิฏฐิ (๒) อัพยากตธรรมอนุปาทินนธรรม คือ ธรรมที่ไม่ถูกยึดด้วยตัณหาและทิฏฐิ เพราะฉะนั้น กรรมที่จัดเป็น มหาสัมโพธิสมภาร คือ ปัญญากรุณา นั่นคือ ถ้าบุคคลนั้นตัดสินใจด้วยเนกขัมมวิตกดีแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ผู้มีคุณสมบัติเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ (๑) อัตตหิตสมบัติ คือ ความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ตน คุณข้อนี้มุ่งเอาพระ ปัญญา เป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จ พุทธภาวะ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า และ ความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้ ด้วยการสร้างกรรมดี ที่เรียกว่า บารมี ๑๐ อันเป็นปฏิปทาอันยิ่งของพระโพธิสัตว์ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าต่อไป ได้แก่ ทานศีลเนกขัมมะปัญญาวิริยะขันติสัจจะอธิษฐานเมตตาอุเบกขา (๒) ปรหิตปฏิบัติ คือ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น คุณข้อนี้มุ่งเอา กรุณา เป็นหลัก เพราะ เป็นเครื่องให้สำเร็จพุทธกิจ คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้า และ ความเป็นโลกนาถ คือ เป็นที่พึ่งของชาวโลกได้ ให้พิจารณาถึง พุทธกิจประจำวัน ๕ คือ พุทธกิจที่พระมนุพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวันมี ๕ อย่าง คือ (๑) เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต (๒) เวลาเย็นทรงแสดงธรรม (๓) เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ (๔) เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา [พระอรหันต์] (๕) จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรม อันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่
ในช่วงสมัยพุทธกาลนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้อำนาจทางจิตในการตรวจสอบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในกาลทั้ง ๓ อย่าง [ไม่ได้ส่งไลน์เช่นสาวกสมัยศตวรรษที่ ๒๑ อันเป็นกิเลสตัณหาที่ทำให้จิตฟุ้งซ่าน นึกคิดหวั่นไหวไปในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระตถาคตอย่างแท้จริง ยังไม่แจ้งในเรื่อง กรรม อย่างแท้จริง] อันเป็นสร้างกุศลกรรมให้สัตว์ทั้งหลาย ที่มีโอกาสจะบรรลุธรรมวิเศษที่พระองค์ทรงตรัสรู้ไว้ดีแล้ว ถ้าเปรียบเทียบศักยภาพของมนุษย์สมัยใหม่นี้ ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ดาวเทียมสื่อสาร ที่มองดูโลกทั้งใบได้พอๆ กับมีตาทิพย์ แต่เป็นดาวเทียมที่เกิดจากกิเลสตัณหา ประกอบด้วย โลภะโทสะโมหะ เป็นตาอัปรีย์เพื่อใช้ในการสงครามมากกว่าสร้างสันติสุขให้หมู่มนุษย์ด้วยกัน ทำไมไม่ส่องหาพวกคนอดข้าว [ใช้ดาวเทียมกับ Drones] เพื่อจะได้ส่งเสบียงอาหารไปดับทุกข์ มันเป็นเรื่องไม่สมกับที่พยายามเรียกตนเองว่า ผู้ศิวิไลซ์ [Civilized People] ไม่รู้ว่าวิไลกันตรงไหน มีแต่จะโยนลูกระเบิดใส่หัวกระบาลกันมากกว่า [ค้าขายอาวุธ] อนึ่ง สภาพสังคมโลกที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องจาก กรรม เช่นเดียวกัน มันเป็นเรื่อง กรรมเป็นแดนเกิดกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันทั้งโลก ไม่ใช่ปัจจัยเฉพาะท้องถิ่นหรือภูมิภาคเท่านั้น ที่มีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงทางความนึกคิดและกระแสสังคม ลองพิจารณากรรมในเรื่องนี้ด้วยหลักธรรม ปัจจัย ๒๔ ผ้ปฏิบัติธรรมจะเห็น สัจจธรรม ของมนุษยโลกได้เป็นอย่างดี ก็ให้ถึงข้อสรุปที่ว่า ผู้ไม่ได้รู้เข้าใจถึงพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะตายไปเลยเสียทีเดียวจากโลกนี้ แต่มีนัยว่า อยู่อย่างทุกข์ทรมาน อยู่ในทุคติ ทั้งที่มีปัญญาพอจะเลือกการแสวงหาโอกาสให้กับตนได้ แต่ก็ไม่เลือกจะทำกัน เพราะ กรรมมันบังตา [ไม่ใช่ กัมมัสสกตา แต่เป็นอวิชชาปิดบังปัญญา ไม่ได้แปลว่าจบปริญญาเอกขั้นสูงสุดจะเป็นผู้ฉลาดหลักแหลม เพราะมาจากภูมิธรรมอันต่ำต้อย โคตรตระกูลไม่ดีพอ มีบาปกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ถึงเรียนสูงมันก็ช่วยอะไรไม่ได้จริงๆ เพราะเรียนไปเพื่อเบียดเบียนกันในสังคม] เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ชาวพุทธในสมัยปัจจุบันอยู่ในยุคที่สังคมโลกมีความซับซ้อนด้วยปัจจัยต่างๆ มากมาย คิดไม่ทันในแต่ละชั่วโมง บางคนถึงกับเป็นบ้าเสียสติไปกับกระแสสังคมที่โง่เขลา ไม่เป็นตัวของตัวเอง [ลืมใช้สมองคิด] นึกจับหัวชนปลายไม่ถูก เพราะไม่ได้เจริญปัญญาภาวนาอย่างแท้จริง เลยทำให้สมองคิดทรยศตัวเอง พาให้จิตวิปริตโดยวิปลาสไปเสียอย่างนั้น ได้แก่ สัญญาวิปลาสจิตวิปลาสทิฏฐิวิปลาส แล้วส่งผลอกุศลวิบากให้เกิดความนึกคิดที่คลาดเคลื่อน และผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงตาม กฎธรรมชาติ อันควรที่จะเป็นได้ [ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เห็นกงจักรเป็นดอกบัว] ดังนี้ (๑) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (๒) วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (๓) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (๔) วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม
ในทางธรรมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้มาก ด้วยความไม่ประมาทในปัญญาและธรรมทั้งหลาย นั่นคือ ให้พอกพูนด้วยปัญญาในสมาธิและปัญญาในวิปัสสนา การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมรู้จักตัวเองได้ยิ่งขึ้น โดยให้เห็นลักษณะแห่งอนัตตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตน ที่ตนจะต้องไปยึดมั่นถือมั่นเป็นสรณะที่พึ่ง แต่จุดประสงค์หลักในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั้น เพื่อให้เกิดสมาธิให้เห็นธรรมในตัวตนของตน ที่เรียกว่า ธรรมกาย คือ ที่ประชุมธรรมทั้งหลาย ที่มีบ่อเกิดจากร่างกายและจิตใจของตนเอง ไม่ใช่ให้ปล่อยจิตไปพิจารณาสภาวธรรมที่อยู่นอกกายของตน ไปรู้จักแต่เรื่องข้างนอก แต่เรื่องของตนเองกลับไม่เข้าใจอะไรเลย ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้น จึงเป็นเรื่องการตรวจสอบสืบสาวเรื่องราวประวัติของตนเองในอดีตว่าเป็นมาอย่างไร จึงมาปรากฏเป็นตัวตนในชาตินี้อย่างเช่นนี้ โดยต้องรู้เห็นด้วยตนเอง ไม่ต้องไปฟังหมอดูทำนายทายทักว่าเป็นอย่างนั้นหรืออย่างนี้ เพราะผู้แก้กรรมให้กับตนเอง ก็คือตัวเองที่จะตัดสินใจเลือกทำหรือไม่ทำก็ตามใจหรือตามเจตนา โดยมีกฎง่ายๆ ที่ควรถือปฏิบัติ คือ อย่าทำกรรมเก่าและกรรมใหม่ที่เป็นกรรมชั่ว ให้รักษากรรมเก่าและทำกรรมใหม่ที่กุศลกรรม และทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์จากนิวรณ์ [นิวรณ์ ๕อวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง] แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามคำสอนของพระตถาคตแล้ว ย่อมเข้าใจภูมิหลังประวัติความเป็นมาของตนได้อย่างชัดเจนด้วยตนเองด้วย ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ โดยอาศัยการเจริญสมถภาวนาด้วย รูปฌาน ๔ ซึ่งในฌานแต่ละขั้นนั้น ก็จะให้ความถูกต้องชัดเจนทางปัญญาที่แตกต่างกัน เพราะขึ้นกับความสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย [นิวรณ์: นิวรณ์ ๕อวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง] โดยให้ถือว่าฌานในขั้น จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา] เป็นขั้นที่จิตเที่ยงตรงแม่นยำและเป็นกลางที่สุด ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ได้ [โพชฌงค์ ๗: สติธัมมวิจยะวิริยะปีติปัสสัทธิสมาธิอุเบกขา = สติกับญาณสติสัมปชัญญะ สัมปยุตต์ด้วย ญาณหยั่งรู้ในวิปัสสนา] ฉะนั้น จิตที่น้อมด้วยความเชื่อ ความศรัทธาและฉันทะ โดยใช้เหตุและผล ด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้องตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา [อริยมรรคมีองค์ ๘อริยสัจจ์ ๔ = ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุธรรมจักร] ในขณะที่จิตสหรคตด้วยโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ องค์ [อภิญญาเทสิตธรรมเอกายนธรรม] ย่อมไม่เกิดความคลาดเคลื่อนใน สัญญาจิตวิญญาณทิฏฐิสัมปทา [ปัญญาสติสัมปชัญญะ] จนเกิดเป็น วิปลาส ๔ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ความระลึกชาติดั้งเดิมในอดีตังสญาณ [ปุพเพนิวาสานุสสติ] นั้น ทำให้เกิดความปลงใจเชื่อด้วยศรัทธาและฉันทะที่แรงกล้า ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง เรียกว่า อธิโมกข์ [อธิโมกขสัทธา] จนรวมถึงความเชื่อความเลื่อมใสอื่นๆ ประกอบมาด้วย สัทธา ๙ ได้แก่ (๑) อาคมนสัทธา คือ ความเชื่อความมั่นใจของพระโพธิสัตว์ อันสืบมาจากการบำเพ็ญสั่งสมบารมี (๒) อธิคมสัทธา คือ ความเชื่อมั่นของพระอริยบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงด้วยการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ (๓) โอกัปปนสัทธา คือ ความเชื่อหนักแน่นสนิทแน่วเมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง (๔) ปสาทสัทธา คือ ความเชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟัง และรวมถึง (๕) กัมมสัทธา คือ เชื่อกฎแห่งกรรม (๖) วิปากสัทธา คือ เชื่อในผลของกรรมที่ทำไป (๗) กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว (๘) รตนัตตยสัทธา คือ เชื่อพระรัตนตรัย (๙) ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้ปฏิบัติธรรมจะมองข้ามความสำคัญไปไม่ได้
อนึ่ง การเกิดความเชื่อ ความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้าในลัทธิศาสนาของตนเช่นนี้ ก็ถือเป็น สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ คือ มีความเห็นและความนึกคิดที่ถูกต้องตามคลองธรรมอันเป็นไปตามกำหนดแห่งธรรมดา ซึ่งโอกาสจะดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดย่อมมีน้อยลงไป คือ เริ่มเข้าสู่ กระแสแห่งอริยมรรค ในเบื้องต้นได้จริง นั่นคือ มี อธิษฐานธรรม มั่นคง ไม่สั่นคลอนได้ง่าย หรือหวั่นไหวไปตามกระแสโลกธรรม คือ มีจิตที่มั่นคงเป็นสมาธิที่แน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่านเสียสติไป ผู้ปฏิบัติธรรมที่ขาดประสบการณ์ขั้นพื้นฐานนี้ แล้วปฏิบัติธรรมอย่างไร้ทิศทาง เมื่อเผชิญกับปัญหาหนักๆ ในระหว่างปฏิบัติธรรม ก็จะมีจิตหดหู่เชื่องซึมเกียจคร้าน มีข้อแก้ตัวได้ตลอดเวลา [ไม่ครอบงำด้วยชาคริยานุโยคได้จริง] จะเข้าเกียร์ถอนหลังอยู่ร่ำไป เดินหน้าได้ยาก จะมีโทสะ [พยาบาทอรติ] เป็นอารมณ์ที่ตรึกอยู่ในจิตตลอดเวลา จะทะเลากับแมงวันหรือหนูนาก็เอา เพราะขาดสติสัมปชัญญะ [มุฏฐสัจจะ คือ ไม่มีสติระลึกตามไปไม่ได้ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้นึกไม่ออกจำไม่ได้ ฟั่นเฟือนหลงลืม กับ อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ความไม่เห็นความไม่ตรัสรู้ความไม่รู้โดยสมควรความไม่รู้ตามความเป็นจริงความไม่แทงตลอดความไม่ถือเอาให้ถูกต้องความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบความไม่พินิจความไม่พิจารณาความไม่กระทำให้ประจักษ์ความทรามปัญญาความโง่เขลาความไม่รู้ชัดความหลงความลุ่มหลงความหลงใหลอวิชชาโอฆะคืออวิชชาโยคะคืออวิชชาอนุสัยคืออวิชชาปริยุฏฐานคืออวิชชาลิ่มคืออวิชชาอกุศลมูลคือโมหะ] กล่าวสรุปง่ายๆ คือ กลายเป็นผู้ไม่เห็นกรรมของตนเองไปแล้ว อย่างไม่รู้ตัว ไม่สามารถหาคำอธิบายภาวะจิตใจของตนเองได้ ก็เลยโทษคนอื่น สิ่งอื่นๆ มาเป็นแพะรับบาป กลายเป็นข้อแก้ตัวหรือเกิดอคติลำเอียง [อคติ ๔] ไปเพราะ (๑) ฉันทาคติลำเอียงเพราะชอบ (๒) โทสาคติลำเอียงเพราะชัง (๓) โมหาคติลำเอียงเพราะหลงพลาดผิดเพราะเขลา (๔) ภยาคติลำเอียงเพราะกลัว ฉะนั้น คนในลักษณะอาการเช่นนี้ ย่อมอยู่ในคติ ๔ ได้แก่ (๑) อบาย [ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ] (๒) ทุคติ [ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี] (๓) วินิบาต [ภพคือภาวะแห่งชีวิตที่มีแต่ความตกต่ำเสื่อมถอยย่อยยับ] และ (๔) นรก [เหวแห่งความทุกข์ ที่อันไม่มีความสุขความเจริญ ภาวะเร่าร้อนกระวนกระวาย ที่ไปเกิดและเสวยความทุกข์ของสัตว์ผู้ทำบาป] ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติที่ถูกต้องหลักธรรม จึงไม่ควรให้จิตถูกรุกรานด้วยคติดังกล่าวข้างต้นนี้
เพราะฉะนั้น ในปรีชาสามารถระลึกชาติได้ ย่อมทำให้รู้เห็น สภาวะกรรมในอดีตของตน ที่ทำให้อยู่ในภพภูมิต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมาก ไม่ต้องเป็นร้อยชาติพันชาติหรอก เอาแค่ย้อนหลังไปสัก ๑๐๒๐ ปี ที่ผ่านมาในชาตินี้ เพื่อพิสูจน์ กฎแห่งกรรม ของตนเอง ลองนั่งนอนยืนนึกคิดพินิจดูก็แล้วกัน ที่ในปัจจุบันนี้ ได้ดีหรือได้ชั่วเพราะเหตุผลกรรมอะไรที่ตนทำไว้ อย่าเพิ่งใช้ยนต์ใช้ญาณอะไรเลยก็ได้ เพื่อเป็นการพิสูจน์หลักธรรมที่เป็น กฎธรรมชาติ [Natural Law] ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วค่อยยกเครื่องใหม่ด้วย ญาณทัสสนะ [อภิญญาที่เกิดจากผลแห่งการปฏิบัติอธิคมธรรม คือ รูปฌาน ๔] ใน ๒ อาการ ได้แก่ ปุพเพนิวาสานุสติ [ปุพเพนิวาสานุสติญาณ] อีกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดปัญญาในวิปัสสนา ที่เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ [สังขารปริจเฉทญาณ] อันเป็นความรู้ในเรื่อง ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ กับ จุตูปปาตญาณทิพพจักขุ [ทิพพจักขุญาณ] อีกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดปัญญาในวิปัสสนา ที่เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ [ธัมมัฏฐิติญาณ] อันเป็นความรู้ในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลายกฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาญาณ และย่อมเป็นสมุฏฐานให้เกิดปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ต่อไป ที่เรียกว่า สัมมสนญาณ [กลาปสัมมสนญาณ] รวมถึง วิปัสสนาญาณ ๙โคตรภูญาณมรรคญาณผลญาณปัจจเวกขณญาณ อันเป็นญาณในวิปัสสนาของ โสฬสญาณญาณ ๑๖ ก็ให้พิจารณาให้ลึกซึ้งอย่างละเอียดระหว่าง คำว่า กรรม กับ คำว่า วิบาก ว่าเป็นจริงหรือไม่ อย่างเช่น วิบากจิตทั้งหลายอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมในภูมิทั้ง ๔ ยกเว้น อกุศลวิบากจิต ๗ [อบายภูมิ ๔] ได้แก่ (๑) กามาวจรจิต: มหาวิบากจิต ๘อกุศลวิบากจิต ๗กุศลวิบากอเหตุกจิต ๘ (๒) รูปาวจรจิต: รูปาวจรวิบากจิต ๕ (๓) อรูปาวจรจิต: อรูปาวจรวิบากจิต ๔ [คำว่า สังขารนิมิตทั้งสอง หมายถึง รูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรม = มหัคคตะ] และ (๔) โลกุตตรจิต: โลกุตตรวิบากจิต ๔ [สามัญผลอริยผล ๔] ข้อที่พึงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง คือ การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่องการบำเพ็ญเพียรที่ต้องพึงตนเอง [ปัญญา] เท่านั้น จึงจะสามารถบรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณและพระนิพพานได้ อีกนัยหนึ่ง กรรมเก่าที่สะสมมาโดยไม่รู้ตัว คือ ปปัญจะ ๓: ตัณหาทิฏฐิมานะ [กิเลสเครื่องเนิ่นช้า กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา] ที่เป็นปัจจัยทำให้เชื่อใน (๑) ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓ (๒) คติพราหมณ์ในวรรณะ ๔ (๓) ทิฏฐิ ๒ทิฏฐิ ๓ และ (๔) ที่สุด ๒ อย่าง ทั้งหมดเป็นปฏิปักษ์ต่อแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธสมัยใหม่ยังเข้าใจไม่ลึกซึ้งเพียงพอ ทำให้วินาศทางความคิดในการศรัทธาเลื่อมใสพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง กลายเป็นพวก ชนหลงทิศ เพราะด้อยปัญญาที่จะคิดเป็นอะไรเป็นอะไร ได้แต่ขี้กระพี้ไม่ใช่แก่นไม้ ดังนี้
ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓ หมายถึง ลัทธิดังกล่าวนี้ ไม่ชอบด้วยเหตุผล ถูกยันเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆ กันมา เป็นลัทธิประเภท อกิริยา หากยึดมั่นถือตามเข้าแล้ว ย่อมให้เกิดโทษ คือ ไม่เกิดฉันทะ และความพยายาม ที่จะทำการที่ควรทำและเว้นการที่ไม่ควรทำ ได้แก่ (๑) ปุพเพกตเหตุวาท ลัทธิกรรมเก่า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อน แต่กลับไม่เชื่อการสร้างกุศลกรรมในปัจจุบันสมัยแห่งตนนี้ (๒) อิสสรนิมมานเหตุวาท ลัทธิพระเป็นเจ้า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้ยิ่งใหญ่ แต่มีมติขัดแย้งกับแนวคิดในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า กฎแห่งกรรม กับ กัมมัสสกตาสัทธา (๓) อเหตุอปัจจัยวาท ลัทธิเสี่ยงโชค คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ คือ ถึงคราวก็เป็นไปเอง แต่กลับปล่อยชีวิตไปตามยถากรรมที่ไร้จุดหมาย ไม่ต่างจากชีวิตสัตว์เดรัจฉานทั่วไป
วรรณะ ๔ หรือ วัณณะ ๔ [Castes] หมายถึง ชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์ คือ กษัตริย์พราหมณ์แพศย์ศูทร ในความเชื่อดังกล่าวขัดแย้งกับเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ในทางพระพุทธศาสนา ที่ถือคุณค่าความเป็นคนที่ วิชชาและจรณะ ดังนี้
(๑) กษัตริย์ ชื่อวรรณะที่ ๑ ในวรรณะ ๔ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ชนชั้นปกครอง หรือ นักรบ นั่นคือ จัดอยู่ใน อุภโตสุชาต เกิดดีแล้วทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา หมายความว่า มีสกุลสูง เป็นเชื้อสายวรรณะนั้นต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา เป็นคุณสมบัติที่กษัตริย์บางวงศ์ถือเป็นสำคัญมาก
(๒) พราหมณ์ ชื่อวรรณะที่ ๒ ในวรรณะ ๔ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ฉะนั้น พราหมณ์เป็นวรรณะนักบวชและเป็นเจ้าพิธี ถือตนว่าเป็นวรรณะสูงสุด เกิดจากปากพระพรหม นั่นคือ จัดอยู่ใน อุภโตสุชาต เกิดดีแล้วทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา หมายความว่า มีสกุลสูง เป็นเชื้อสายวรรณะนั้นต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา เป็นคุณสมบัติที่พวกพราหมณ์ถือเป็นสำคัญมากได้แก่ (๑) พราหมณดาบส ดาบสที่มีชาติตระกูล เป็นพราหมณ์ ออกมาบำเพ็ญพรตถือเพศเป็นดาบส มีบันทึกในอรรถกถาว่า ครั้งอดีตสมัยพระเจ้าโอกกากราช ในดินแดนแถบทักขิณาบถ อันเป็นทักษิณชนบท มีพวกพราหมณดาบสอยู่มาก (๒) พราหมณมหาสาล พราหมณ์ผู้มั่งคั่ง (๓) พราหมณคหบดี พราหมณ์และคหบดี คือ ประดาพราหมณ์ และชนผู้เป็นเจ้าบ้านครองเรือนทั้งหลายอื่น ที่นอกจากกษัตริย์และพราหมณ์นั้น เฉพาะอย่างยิ่งคือพวกแพศย์
(๓) แพศย์ คนวรรณะที่ ๓ ใน ๔ วรรณะ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ หมายถึง พวกชาวนา และ พ่อค้า
(๔) ศูทร ชื่อวรรณะที่ ๔ ในวรรณะ ๔ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ จัดเป็นชนชั้นต่ำ ได้แก่ พวกทาส และ กรรมกร หรือคนในกลุ่มต่อไปนี้ (๑) ชาติสุททะ พวกสุททะ คนพวกวรรณะศูทร เป็นคนชั้นต่ำในชมพูทวีป (๒) ชาติปุกกุสะ พวกปุกกุสะ เป็นคนชั้นต่ำพวกหนึ่งในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ มีอาชีพคอยเก็บกวาดขยะดอกไม้ตามสถานที่บูชา (๓) จัณฑาล ลูกต่างวรรณะ เช่น บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์ มีลูกออกมา เรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนต่ำทรามถูกเหยียดหยามที่สุดในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์
ฉะนั้น ผู้ที่หลงทิศไปแล้วในลัทธินอกพระพุทธศาสนาดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องความเห็นถือผิดแห่ง ทิฏฐิมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไม่เกิดปัญญาในส่วนหนึ่ง และได้ผลประโยชน์เป็นลาภสักการะอีกส่วนหนึ่ง ทำให้สบายในการทำมาหากินกับพวกคนโง่เขลาที่จนปัญญาในการต่อสู้ชีวิต [พวกซวยซ้ำซ้อนมี ๒ มาตรฐาน คือ มีทั้งพุทธศาสนาและลัทธิเถื่อนแห่งเดียรถีย์ = ติตถิยะ คือ นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา] ดังนี้
ทิฏฐิ ๒ หมายถึง ความเห็นความเห็นผิด ได้แก่ (๑) สัสสตทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าเที่ยง ความเห็นว่ามีอัตตาและโลกซึ่งเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป (๒) อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่าขาดสูญ ความเห็นว่ามีอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป
ทิฏฐิ ๓ หมายถึง ความเห็นความเห็นผิด ได้แก่ (๑) อกิริยทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ เห็นว่าการกระทำไม่มีผล (๒) อเหตุกทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย (๓) นัตถิกทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าไม่มี เห็นว่าไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้
ที่สุด ๒ อย่าง อันตา ๒ หมายถึง ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง นั่นคือ มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ (๑) กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข ความสุขในการครอบครองทรัพย์สิน ความมั่งคั่งไพบูลย์ในลาภสักการะ หรือโภคทรัพย์ในเชิงวัตถุนิยมและบริโภคนิยมแบบเกินความพอดี สมกับฐานะในความเป็นมนุษย์ จนแสวงหาความสุขบนความทุกข์ร้อนของคนอื่น ด้วยความเบียดเบียนเขาอย่างไร้มนุษยธรรมที่นิยมในสังคม จนกลายเป็นเรื่องปกติไป โดยเข้าใจว่าเป็นทางหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวงได้ (๒) อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน โดยเข้าใจว่าเป็นทางหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวงได้ เช่น การบำเพ็ญตบะที่พยายามจะแสดงอิทธิฤทธิ์ เพื่อแสวงหาลาภสักการะ หรือความศรัทธาเลื่อมใสในพฤติกรรมของตนอันเช่นนั้นที่วิปริตไป อย่างเช่น การบำเพ็ญทุกรกิริยา อดข้าว กลั้นลมหายใจ ให้ถึงขั้นปางตายจนกลายเป็นเรื่องการยึดมั่นศีลวัตรเหล่านั้น ว่าเป็นอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประพฤติปฏิบัติกันมาอย่างไรเหตุผล ว่าเป็นหนทางแห่งความหลุดพ้น ให้ตนบริสุทธิ์ได้ พระศาสดาได้ทรงดำเนินปฏิบัติมาแล้ว ว่าไม่เป็นจริงตามความเชื่อนั้น ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่ใช่ในแนวทางสายกลางแห่งปัญญา คือ มัชฌิมาปฏิปทา ที่พระองค์ทรงต่อยอดความคิดใหม่ให้แสดงผลไปไกลกว่านั้น ไม่ใช่ ชนผู้หลงทิศ อีกต่อไป นั่นคือ เป็นเรื่อง การเห็นด้วยตรัสรู้อริยสัจจธรรมในวิปัสสนาภูมิ ที่ละเอียดประณีตกว่า จนกลายเป็นการหลุดพ้นทั้งฝ่ายสมาธิสมถะใน เจโตวิมุตติ กับฝ่ายปัญญาวิปัสสนาใน ปัญญาวิมุตติ
อีกอย่างหนึ่ง พวกคนซวยซ้ำซ้อนมักมีนิสัยไม่ชอบเรียนรู้ ไม่อยากรู้อยากเห็น ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ชอบฟังคำสั่งสอนในธรรม ไม่ชอบเรียนสูงๆ ถึงพ่อแม่ให้เรียนสูงๆ ก็โง่ตามกอเหง้าดั้งเดิม ไม่ฉลาดตามระดับการศึกษาที่เรียนได้ คือ จบแบบไม่รู้สึกตัว ไม่มีสติสัมปชัญญะ [คิดระลึกไม่ได้ ไม่มีความรู้จริง] ประการสำคัญ คนพวกนี้ มักจะกลัวพระไตรปิฎก เพราะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง จึงทำให้เสียโอกาสที่จะบรรลุคุณอันใหญ่ได้ [โลกุตตรธรรม] พลเมืองด้อยคุณภาพเหล่านี้ เป็นขยะปัญหาต่อสังคมในอนาคตอย่างแน่นอน และตกเป็นเครื่องของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองได้ง่าย เพราะไม่รู้จักคิดให้ถูกต้องตามเป็นจริง เช่น หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เป็น กฎธรรมชาติ ไม่ใช่ กฎผีบอก [พวกหมอดู] ถ้าไปเชื่อพวกหมอผีหมอดู [ส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษา] แล้วจะไปเรียนทำให้จนถึงปริญญาเอก ลองเอาไม้บรรทัดวัดความห่างระหว่างประถมศึกษากับปริญญาเอกว่านานกี่ปีที่พัฒนาปัญญา [แต่มหาวิทยาลัยทุกวันนี้ ก็อย่าไปให้ความไว้วางใจสูงนักEducation Accountability เพราะผู้สอนยังด้อยคุณภาพมาก ไม่มีผลงานวิจัยวิชาการให้สาธารณะได้เห็น มีแต่เปิดสาขาหากินจากคนโง่ทั่วประเทศ ที่เรียกว่า จบไม่รู้สึกตัว นั่นเอง] กล่าวโดยย่อในขั้นนี้ ผู้มีอวิชชาครอบงำ แทนที่จะครอบงำอวิชชา เรียกว่า ผู้มี โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา พวกยังมีกรรมครอบงำ [ตัณหาทิฏฐิมานะ] ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกระแสโลกธรรมแห่งวัฏฏะ บางคนรู้สึกตัวทันการ แต่ก็หนีไม่ทันการ เพราะ ประมาท แล้วตายก่อนที่จะได้ปฏิบัติธรรมชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ มีจิตปราศจากนิวรณ์ ก่อนที่จะตายจริงจากโลกนี้ไป [ซวยไม่ทันคิดไม่ทันทำ] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกประเภทรู้มากแล้วไม่ได้ดี [ไปเชื่อในลัทธินอกพระพุทธศาสนา หมาหลายรางนกสองหัว Polytheistพาหุเทวนิยม เป็นพวกเดรัจฉานวิชา ไปศรัทธาในสิ่งที่ผิด ไม่ใช่พวกวิชชาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า] ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า กรรมปัจจัยวิปากปัจจัย [ปริตตะ] เป็นตัวชำนำให้เป็นไป ไม่ได้รู้เป็นไปตาม ฌานปัจจัยมรรคปัจจัย [มหัคคตะอัปปมาณะ] ที่กล่าวบรรยายถึงขั้นนี้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ใช้เหตุผลและความเข้าใจรู้เห็นด้วยปัญญา [ปุพเพนิวาสานุสติทิพพจักขุ] ไม่ใช่การเห็นด้วยตาเนื้อแบบพวกนักวิทยาศาสตร์ หรือความรู้แบบมหาวิทยาลัย [เดรัจฉานวิชา] แต่เป็นความรู้ที่เรียกว่า วิชชา [อภิญญา: ความรู้ยิ่งความรู้ชัด] เพราะลงมือปฏิบัติธรรมในสมถะจนเข้าถึงฌานสมาบัติได้จริง ขี้หมูขี้หมาก็ให้ได้ ปฐมฌาน: วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา ก่อนก็ได้ หรือได้ปัญญาหยั่งรู้ขั้นสามัญ ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา [ผู้ถึงพร้อมด้วย ธรรมสมาธิ ๕ ได้แก่ ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ] ก็ยังดี แล้ววันๆ จะไปหายใจทิ้งไปทำไม แค่ลมหายใจก็เป็นการปฏิบัติธรรมสมาธิได้ ที่เรียกว่า อานาปานสติสมาธิ [พิจารณาลมหายใจเข้าออกให้สงบ คือ ลมอัสสาสะกับลมปัสสาสะ ไม่ใช่ ลมปัสสาวะ นั่นมัน ผายลมตดแตกและเยี่ยวแตก หรือรวมขี้แตก ประชุมลงในเวลาเดียวกัน ธาตุลมเป็นธาตุลม ธาตุน้ำเป็นธาตุน้ำ ธาตุดินเป็นธาตุดิน ไม่ละเมิดกันและกัน ซึ่งเป็นอาการธาตุแตกของพวกใกล้จะตาย ก็ให้พิจารณาลักษณะอาการด้วยกรรมฐานไปเลย ถ้ามีเหงื่อแตกมาด้วย เรียกว่า ยางตายออก ควรหาเวลาไปดูคนใกล้ตายบ้างจะได้เข้าใจ เป็นธรรมสังเวชได้ จะได้รู้จักเจริญมรณสติภาวนาได้ ทำให้ไม่ประมาทชีวิตและพระธรรม จะได้รู้เรื่องกรรมของแต่ละคนได้ กัมมัสสกตา ว่าเป็นอย่างไร คนใกล้ตายจิตดวงสุดท้ายมันจะบอกปฏิสนธิภูมิในปรโลกได้ ถ้าทุรนทุราย กระวนกระวาย กระสับกระส่าย ดิ้นรนจะให้พ้นจากทรมาน ย่อมมีนรกเป็นที่ตั้ง ชาวบ้านเรียกว่า ตายไม่ได้ดี ถ้าเป็นนักเรียน คือ ได้เกรด F แปลว่า สอบตก ถ้าได้ D แปลว่า แค่สอบผ่าน] ในขั้นดังกล่าวนี้ ให้พิจารณาดีจะเห็นเรื่อง กรรม [ปัจจัย] ทั้งหลายมารวมกัน ที่นักสังคมวิทยาพยายามอธิบายว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ไร้ระเบียบไม่มีโครงสร้างระบบแน่นอน [Chaos Theory ส่วนทฤษฎีความน่าจะเป็น Possibility Theory ใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อนไม่ได้จริง ส่วน Feasibility Study นั้น พวกธนาคารหน้าเลือดใช้กดขี่ลูกหนี้เงินกู้] แต่ไม่ได้คิดแบบทางธรรมที่เรียกว่า ปัจจัย ๒๔ หมายถึง ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไข ให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นเอง
ดังนั้น ให้ความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ ย่อมเนื่องมาด้วยผลวิบากของการกระทำกรรมนั้นๆ ไว้ คนที่เข้าใจได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ย่อมเป็นผู้มีโอกาสดีที่จะบรรลุธรรมวิเศษได้ไม่ยากเกินไป เพราะมีความเชื่อศรัทธาในเรื่องบุญกุศลบารมี และจะเป็นผู้มีถึง ดวงตาเห็นธรรม รู้เห็นในอาณาจักรธรรมอย่างแท้จริงด้วยปัญญา อย่างเช่น ด้วยทฤษฎีปัญญาว่า: สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมดับไปเป็นธรรมดา คนไม่ได้ศึกษาพระธรรม คิดอย่างไรก็ไม่เป็นธรรม จะเป็นอธรรมมากกว่า ไม่เป็นมรรค แต่เป็นอมรรคมากกว่า ในคำว่า คิดพิจารณา คือ การใช้สติสัมปชัญญะไตร่ตรองสืบหาความจริงในเรื่องนั้นๆ [โยนิโสมนสิการ] เพราะฉะนั้น การครอบสติสัมปชัญญะให้มั่นคงจึงเป็นเรื่องใหญ่ กรรมจะดีจะชั่วก็เริ่มจากตรงนี้ได้เช่นกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หมั่นประพฤติจตุสติปัฏฐานภาวนาให้มาก คือ เป็น อนุปัสสนา ๔ อย่าง โดยพื้นฐาน ได้แก่ กายานุปัสสนาเวทนานุปัสสนาจิตตานุปัสสนาธัมมานุปัสสนา คือ มีความถึงพร้อมด้วย ศีลสมาธิปัญญา [ไตรสิกขาสิกขา ๓] ในเวลาพร้อมกัน ฝึกฝนมากๆ ไม่บาปหรอก ท่านผู้เจริญ คือ สติจะได้แข็งแรง ไม่หลงไม่ลืม และมีสัมปชัญญะแก่กล้า รอบรู้ด้วยการใช้เหตุผลและความเข้าใจอย่างถูกต้องตามคลองธรรม ฉะนั้น คนที่เข้าใจเรื่อง กรรมวิบาก ได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ย่อมมองเห็น กิเลส อันเป็นเหตุให้เกิดทั้ง กรรมวิบาก ซึ่งหมายถึง วัฏฏะ ๓ จุดมุ่งหมายสำคัญในการปฏิบัติธรรม คือ การหลีกออกจาก วัฏฏะ ๓ ไปสู่ภาวะที่ปราศจาก กิเลสกรรมวิบาก นั่นเอง เรียกว่า วิวัฏฏะ ให้พิจารณาประเด็น วัฏฏะ ๓ไตรวัฏฏ์ ว่าเกี่ยวข้องกับเรื่อง กรรมวิบาก อย่างไร ดังนี้
วัฏฏะ ๓ [ไตรวัฏฏ์] หมายถึง การวนวงเวียนองค์ประกอบปัจจัยใหญ่ที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของ ภวจักร หรือ สังสารจักร ดังนี้ (๑) กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรกิเลส ได้แก่ อวิชชาตัณหาและอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ คือ วงจรกรรม ได้แก่ สังขารและกรรมภพ (อภิสังขาร ๓ หรือ เจตนา) (๓) วิปากวัฏฏ์ คือ วงจรวิบาก ได้แก่ วิญญาณนามรูปสฬายตนะ ผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ คือ ภพที่อุบัติขึ้น ชาติชรามรณะความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ
ดังนั้น เรื่อง กรรม ไม่ใช่เรื่องมาคุยกันเล่นอย่างไร้สาระ ที่เรียกว่า วิตัณฑวาทศาสตร์ [เรื่องที่พูดกันเล่นสนุกๆ] อย่างเช่น คัมภีร์โลกายตะ [คัมภีร์ที่ไม่น่าเชื่อถือในลัทธิพราหมณ์ ท่านอธิบายว่า คัมภีร์ทั้ง ๒ นั้น รวมทั้ง คัมภีร์มหาปุริสลักษณศาสตร์ ๑๒,๐๐๐ อันเป็นคัมภีร์หลักของ คัมภีร์มหาปุริสลักษณะ ย่อมมีฐานะ ไม่มีเสื่อม ผู้ใดไม่สามารถทรงจำคัมภีร์เหล่านั้นได้โดยอรรถและโดยคันถะ ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่า เสื่อม (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 539 FILE 47)] เพราะว่า กรรม เป็นองค์ความรู้ตามกำหนดแห่งธรรมดา ที่เรียกว่า กฎธรรมชาติ ที่สามารถพิสูจน์ได้จริง ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย หรือคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมมองไม่เห็นผลวิบากแห่งกุศลกรรมที่จะได้รับในกาลภาคหน้าว่า ต้องสามารถบรรลุถึงนิพพานได้ แล้วจะมานั่งอดหลับอดนอนทำสมาธิไปทำไม ไปทำอย่างอื่นไม่ดีกว่าหรือ ส่วนผู้ที่ถือเพศสมณะแล้ว ยังคิดไม่ออกในเรื่องนี้ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า มานั่งอดข้าวไปทำไมตั้ง ๒ มื้อ หรือมาทำผิดศีลอยู่ทำไมให้ชาวบ้านเสื่อมศรัทธาไปเปล่าๆ เพราะเหตุฉะนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงจำเป็นต้องตั้งโจทย์ชีวิตของตนให้ถูกต้อง ผลลัพธ์ออกมาย่อมถูกต้อง ไม่เสียเวลาชีวิตไปเปล่าๆ หรือมีท้อแท้ใจในการปฏิบัติธรรม ซึ่งผู้บรรลุธรรมวิเศษนี้ ไม่มีเหรียญกล้าหาญประดับยศให้ คือ เป็นเรื่องต้องเรียนรู้เองและปฏิบัติเอง เพื่อให้เข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ให้ได้จริง เพื่อจะหลีกออกจากโลกนี้ไป แล้วจะไปสนใจยศถาบรรดาศักดิ์ที่พวกชาวโลกให้กันไปทำไม เช่น เหรียญกล้าหาญคือเครื่องหมายบ่งบอกว่า ได้ร่วมสร้างความฉิบหายให้ฝ่ายตรงข้ามมากที่สุด โดยเฉพาะฆ่าคนให้ได้เยอะๆ ซึ่งผิดศีลข้อแรก เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น แต่สงครามมันก็คือสงคราม ไม่ประสงค์ฆ่ากันจะเรียกว่า สงคราม ไปทำไม มันก็อยู่ที่ว่า สมรภูมิสงครามนั้น เป็นที่อโคจรของผู้ปฏิบัติธรรม ไม่สัปปายะ ที่เกื้อกูลในเจริญสมาธิธรรมได้ดี ถ้ายังโง่ สิ้นปัญญา และคิดไม่ออก ถึงขั้นนี้ ยังเข้าไปเลือกเป็นที่ปฏิบัติธรรม ก็แสดงว่ามีกรรมร่วมกับคนแถวๆ นั้น อย่างแน่นอน คือ มีกรรมเป็นแดนเกิด [ไปรับกรรมร่วมกัน กรรมสามัคคี แน่ๆ] นั่นเอง ในทางธรรม ท่านเรียกลักษณะอาการเช่นนี้ว่า วิปลาสเห็นของไม่งาม ว่างาม ทำให้อายป้าแหยงบ้านข้างวัดเปล่าๆ
กล่าวโดยสรุป กรรม คือ ปัจจัยทั้งหลายที่มารวมกัน เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน จึงทำให้คนแสดงพฤติกรรมออกเป็น กรรม ๓ [กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม] ทั้งที่เป็นฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล หรือจะอธิบายให้ลึกซึ้งกว่านี้อีก เรียกว่า อภิสังขาร ๓: ปุญญาภิสังขารอปุญญาภิสังขารอาเนญชาภิสังขาร [บุญบาปฌาน] หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำเจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม ฉะนั้น ในกระบวนการคิดขณะเจริญภาวนากรรมฐาน ให้พิจารณานามรูปแห่งขันธ์ ๕ เป็นกองลักษณะอาการของจิต [เจตสิก ๕๒: อัญญสมานาเจตสิก ๑๓อกุศลเจตสิก ๑๔โสภณเจตสิก ๒๕] ก่อนมาจัดกลุ่มเป็น จิต ๘๙: กามาวจรจิต 85รูปาวจรจิต ๑๕อรูปาวจรจิต ๑๒โลกุตตรจิต ๘ อีกครั้งหนึ่ง อย่าลืมว่า ผู้ปฏิบัติดีถูกต้องแล้ว ย่อมเป็น กุศลกรรม ในภูมิทั้ง ๔ ได้แก่ กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิโลกุตตรภูมิ ตามลำดับ ส่วนผู้ปฏิบัติชั่วผิดพลาดแล้ว ย่อมเป็น อกุศลกรรม ในกามาวจรภูมิ ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒อกุศลวิบากจิต ๗ [อบายภูมิ ๔: นิรยะติรัจฉานโยนิเปตติวิสัยอสุรกาย และยังเป็นภูมิใน มนุษย์ อยู่เพื่อทำชั่วนั่นต่อไปอีก แต่ไม่เป็นภูมิใน เทพ อย่างแน่นอน] ดังนั้น ในการพิจารณา คติ คือ ภูมิจิต [คติ ๕ = ที่ไปเกิดของสัตว์ แบบการดำเนินชีวิต ในบาลีแห่งทีฆนิกาย ได้แก่ นิรยะติรัจฉานโยนิเปตติวิสัยมนุษย์และเทพ] ดังกล่าวนี้ เป็นเรื่อง (๑) การใช้เหตุผล และ (๒) ความเข้าใจที่ถูกต้อง อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท [อิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา] ที่สัมปยุตต์ด้วย (๑) ปุพเพนิวาสานุสติ กับ (๒) จุตูปปาตญาณทิพพจักขุ ที่เรียกว่า วิชชา คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ หรือ อภิญญา คือ ความรู้ยิ่งความรู้ยิ่งยวดความรู้ชัด อันเกิดจากการเจริญฌานสมาธิบรรลุในขั้นต่างๆ ได้แล้ว คือ จิตบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ [จิตประภัสสร] รวมทั้ง ศรัทธา ๙ ที่เป็นปัญญาพื้นฐานแห่งการปฏิบัติธรรมมาก่อนด้วย ได้แก่ (๑) กัมมสัทธา คือ เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ (๒) วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม (๓) กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (๔) ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต (๕) รตนัตตยสัทธา คือ เชื่อพระรัตนตรัย [พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์] (๖) อาคมนสัทธา เชื่อมั่นใจการบำเพ็ญสั่งสมบารมีของพระโพธิสัตว์ (๗) อธิคมสัทธา เชื่อมั่นการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ของพรอริยบุคคล (๘) โอกัปปนสัทธา เชื่อหนักแน่นสนิทแน่วที่เห็นจริงในการปฏิบัติธรรมที่ก้าวหน้า (๙) ปสาทสัทธา เชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟัง
ประการสำคัญ ศรัทธา ดังกล่าวนี้ เรียกว่า ปสาทะ คือ ความเลื่อมใส หมายถึง อธิโมกข์ ที่เกิดขึ้นในระหว่าง สมถะกับวิปัสสนา ในกรณีนี้ จะสังเกตได้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิที่ไม่ได้ดำเนินตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น พวกแก็งเดียรถีย์ต่างๆ ก็จะเริ่มเกิดจิตฟุ้งซ่าน [ธัมมุทธัจจะ เนื่องจาก วิปัสสนูปกิเลส ๑๐] สำคัญผิดในธรรมว่าตนเองได้บรรลุถึง อุตตรมานุสสธรรม แล้ว คือ มรรคผลนิพพาน เพราะไม่เข้าใจถึงปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์อย่างถูกวิธี [กลาปสัมมสนะสัมมสนญาณ] ที่สัมปยุตต์ด้วย อริยมรรค [อริยมรรคมีองค์ ๘มัคคญาณ ๔อริยสัจจ์ ๔] การเจริญวิปัสสนาภาวนาไม่ผ่านในขั้นตอนนี้อย่างถูกต้อง ทำให้เป็นบ้าเสียสติได้ เรียกว่า กระบวนการถอนหลังเข้าคลอง [Regressive] ที่ไม่เป็นท่า ส่วนใหญ่ก็กลายเป็นหมอผีหรือร่างทรงไปตามประสาคนเบาปัญญา ดูภาพประกอบข้างล่าง
ภาพประกอบ ๑: ขั้นลำดับการเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
ดังนั้น กรรม [สัญเจตนา ๖กิเลสทั้งหลาย] แสดงบทบาทเป็นตัวชักนำให้เกิด วิบาก [บุญบาปฌาน] ที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถวิวัฒน์ปัญญาไปสู่ ความเป็นอริยบุคคล ได้ เพราะใช้เหตุผลประกอบด้วยปัญญาอย่างเข้าใจตามพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า [พวกที่เก่งเกินคำสอนของพระตถาคต ส่วนใหญ่เปิดสำนักตำหนักร่างทรง เพราะไม่ประกอบด้วยปัญญา โยนิโสมนสิการ อย่างถูกขั้นตอน คำเตือน: ถ้าไปอินเดียอย่าไปแสดงตนเป็นร่างทรงในสังคมเขา ถือว่าทำผิดกฎหมายหมิ่นประมาทเทพเจ้าของเขาอย่างรุนแรง ถ้าเป็นสมัยยุโรปยุคมืดราวศตวรรษที่ ๑๔ ก็ลงโทษด้วยการย่าง ปิ้ง หรือ เผาทั้งเป็น แล้วแต่อาการ ประเทศไทยอย่างมากไล่ออกจากหมู่บ้าน ให้ไปอยู่ที่อื่น เช่น พวกผีปอบ] สำหรับขั้นตอนที่ถูกต้องในการค้นหาความจริง [Scientific Discovery Procedures = Research Methodology] นั้น เป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เดินไม่ผิดทาง และต้องเป็นขั้นตอนที่เป็นวิธีวิทยาศาสตร์ [พระพุทธศาสนาอยู่ในฐานะ ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) ศาสนา (๒) ปรัชญา และ (๓) วิทยาศาสตร์] อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางสังคมที่สำคัญยิ่งยวด คือ ชาวพุทธจะเข้าใจพระศาสนาของตนอย่างถูกต้องได้อย่างไร โดยเริ่มตั้งแต่เรื่อง กรรม อันเป็นบทพื้นฐานในการจะก้าวสู่การปฏิบัติธรรมในขั้นสูงต่อไป ก็อย่าไปหวังพึ่งโรงเรียน วิทยาลัย หรือ มหาวิทยาลัย รวมทั้ง มหันตวิทยาลัย ให้มารับภาระหน้าที่ในการสอนพระศาสนา เพราะส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกไม่มีศาสนามากกว่า เพราะเรียนมากเกินไป จนพากันหลุดโลกออกสู่จักรวาลไปแล้ว เรียกไม่กลับแน่นอน ไม่มีสัญญาณแจ้งภัยเมย์เดย์ [May Day] ให้ต้องห่วงอีก โดยสรุปแล้ว พ่อแม่หรือครอบครัวต้องพาลูกไปวัดที่ได้มาตรฐานที่เป็นพระพุทธศาสนาจริงๆ พิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจพาญาติๆ ไปวัด อันตรายพอๆ กับไปสถานเริงรมย์ ยิ่งถ้ามีกรรมหนักมาด้วย แล้วจะซวยซ้ำซ้อนเข้าไปอีก [ระวังพวกกะเทยมาบวชในนั้นด้วยเป็นภัยต่อกุลบุตร] เพราะฉะนั้น จึงอยากแนะนำให้ศึกษาธรรมะให้ดีก่อน ศึกษาภูมิหลังพระศาสนาอย่างถูกต้อง จนรู้ว่าพวกนี้ไม่ใช่พุทธ เป็นพวกเดียรถีย์ หรือท่านเหล่านั้นเป็นพระอริยสาวกของพระพุทธเจ้าจริงๆ คือว่า ก็อย่าไปคิดหาน้ำบ่อหน้า จะลำบากภายหลัง อาจถึงขั้นเป็นกรรมทำให้เสียกำลังใจในการปฏิบัติธรรมไปเสียเปล่าๆ เพราะสมัยนี้ วัดจะเป็นบ้าน และบ้านจะเป็นวัด ไม่เชื่อลองศึกษาวิจัยดูเองก็ได้ ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง พวกมีการศึกษาสูงๆ ไม่ค่อยไปวัด เพราะคุยกับพระไม่รู้เรื่องทั้ง ๒ ฝ่าย ถ้าไม่ใช่พระเถระผู้ใหญ่ [อภิญญา ๖] ก็จะกำราบพวกกิเลสหนาไม่อยู่ เพราะมี กรรมหนัก [ครุกรรม = กรรมหนักทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ในฝ่ายกุศลครุกรรม ได้แก่ ฌานสมาบัติ น้อยมากที่จะได้เช่นนี้ ในฝ่ายอกุศลครุกรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม หรือ เป็นโจรมาก่อน หรือกำลังทำชั่วอยู่ กรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่างๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั้นถึงพื้นก่อน] แต่อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธทั้งหลาย มีหน้าที่ในการสืบทอดพระศาสนาให้ยั่งยืนต่อไปในกาลข้างหน้า จะทุกข์ยากจน จะสุขร่ำรวย ก็อย่าลืมบำรุงพระศาสนาในทางที่ถูกวิธี อย่าไปปรารถนาเขียนชื่อติดตามวัดลายเป็นตุ๊กแก ที่พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในอินเดียไม่เห็นมีใครเขียนชื่อไว้เลย กลองจัญไรไม่ตีมันดังขึ้นเอง ฉะนั้น การกระทำในทุกวาระจิตทุกขณะจิตนั้น ถือเป็นเรื่อง กิเลสกรรมวิบาก ของตนทั้งสิ้น แม้แต่หายใจทิ้ง ก็เป็นการสร้างกรรมเช่นกัน เอาลมหายใจมาเป็นสมาธิ ก็เป็นการสร้างกรรมเช่นกัน นั่งคิดเล่นๆ ก็เป็นการสร้างกรรมเช่นกัน ตายก็เป็นการสร้างกรรมเช่นกัน แม้แต่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ ก็เป็นการสร้างกุศลกรรมให้กับตนเองเช่นกัน.
|