๙๗. มนุษย์มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องเดียวกัน Different Views of Human Beings in the Same Matters
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
เมื่อพิจารณาถึงวัฒนธรรมสังคมอุดมปัญญาคู่คุณธรรมแห่งยุคสมัยใหม่ศตวรรษที่ ๒๑ นี้ เป็นกาลสมัยแห่งความแตกต่างทางปัญญากับพฤติกรรมต่างๆ ที่บ่งบอกคุณภาพของความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง อันเป็นเหตุทำให้เห็นองค์ประกอบในมิติความสัมพันธ์หลายๆ ด้านมารวมกัน กลายเป็นเหตุการณ์หรือสภาวธรรมปรากฏขึ้นแล้วดับไปในเวลาเดียวกัน และมีสภาวธรรมใหม่ปรากฏขึ้นแทนและหมุนเวียนเปลี่ยนแปรไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดในสังสารวัฏฏ์ ความคิดเห็นจะมีความหลากหลายมากน้อยเพียงใดก็ตาม ทั้งในระดับบุคคลหรือสังคมจากท้องถิ่น จนถึง ประเทศ ภูมิภาค หรือ โลก ก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องมีกระบวนการคิดและความเข้าใจที่ถูกต้องตามเป็นจริง ไม่วิปลาสเกิดอคติลำเอียง ที่เกี่ยวเนื่องกับปรากฏการณ์หรือสภาวธรรมนั้นๆ แล้วเข้าไปปรุงแต่งให้ได้ตามความใคร่ปรารถนาไม่ตรงกันข้ามกัน จนเกิด อุปาทานทุกข์ ไปกับอาการแห่งอายตนะทั้ง ๑๒ ประการ เพราะความไมรู้เท่าทันกับเหตุปัจจัยที่มีกิเลสปรุงแต่งขึ้นกับสัญเจตนาและความจริงแห่งอริยสัจจธรรม [อธิปัญญาธรรมวิปัสสนายถาภูตญาณทัสสนะ] ได้แก่ (๑) อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔ กับ (๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ เพราะฉะนั้น ความแตกต่างทางความคิดเห็นหรือทัศนคตินั้น คือ ความคิดริเริ่มความคิดสร้างสรรค์ความคิดประยุกต์ดัดแปลง ในต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ๆ หรือนวัตกรรมทางความคิด ที่เรียกว่า ปฏิภาณไหวพริบความเป็นอัจฉริยะ อันบ่งบอกถึง ความเป็นพุทธะ ของพุทธบริษัททั้งหลาย หรือสาธุชนผู้ถือตนเป็นชาวพุทธ ที่ต้องเข้าใจอย่างถูกต้องในความต่างแห่งความคิด แต่ต้องมีเกณฑ์มาตรฐานแห่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักยึดมั่นในการเจริญภาวนาธรรมทั้งหลายด้วยตนเอง.
บทความที่ ๙๗ ประจำปี ๒๕๕๙ มนุษย์มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องเดียวกัน
โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น ต่างคนก็ต่างมีความความคิดเห็นในเรื่องเดียวกัน ยิ่งต่างสังคมก็ยิ่งต่างความคิดเห็น ความคิดเห็นเป็นมุมมองที่แสดงทัศนคติต่อโลก ซึ่งอาจตั้งข้อกำหนดบรรทัดฐานขึ้นตามข้อตกลงระหว่างกันและกัน แต่โดยส่วนใหญ่จะแตกต่างจากกลุ่มอื่นเสมอ เพราะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ยิ่งเป็นองค์ประกอบทางศาสนา ก็ยิ่งมีความเห็นที่ขัดแย้งกันมากเป็นหลายเท่าตัว เพราะต่างมีความยึดมั่นตามแนวทางปฏิบัติของตนเฉพาะกลุ่ม ไม่ได้ยึดเอาเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นสากลเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน แต่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เป็นหลักการหรือทฤษฎีที่มีลักษะเป็นสากล เป็นกฎธรรมชาติโดยปรมัตถ์ ปราศจากความวิปลาคลาดเคลื่อน และความลำเอียงอคติใดๆ เพราะประพฤติปฏิบัติด้วยหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา [แห่งปฏิปทาในอริยมรรคมีองค์ ๘] โดยมีจุดมุ่งหมายในการกำจัดกิเลสขั้นต่างๆ กัน ออกจากจิตใจ เพื่อไม่ให้เกิด กรรม และ วิบาก ใดๆ ตามมา แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนามีอายุสืบมาประมาณ ๒,๖๐๐ ปี ก็ยังมีความคิดเห็นแตกต่างแยกเป็นนิกายต่างๆ ในพระศาสนาเดียวกัน ความหลากหลายในความคิดเห็นเป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้ ก็เข้าทำนองลักษณะที่ว่า หลักการหรือทฤษฎีหนึ่งๆ นั้น อาจมีแนวทางปฏิบัติ [ปฏิปทาศีลวัตร] แตกต่างกันไปหรือเบี่ยงเบนจากพระธรรมวินัยหลัก เพื่อให้บรรลุผลตามแนวคิดนั้นๆ ดังเช่น การเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน นั้น ก็มีแนวทางปฏิบัติแตกต่างกัน อาจขึ้นอยู่กับจริตนิสัยขอแต่ละบุคคลอันเฉพาะบุคคล ความแตกต่างที่เบี่ยงเบนออกไปจากเกณฑ์มาตรฐานนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดชำนาญการหรือปฏิภาณไหวพริบของบุคคลเช่นกัน แต่ไม่ควรเกินเลยจากความเป็นจริงตาม กฎธรรมชาติ [Natural Law] หรือ ปรมัตถสัจจะปรมัตถธรรม [Absolute Truths] อันเป็นหัวใจของพระศาสนา นั่นคือ แนวทางปฏิบัติอันประเสริฐ ซึ่งปฏิเสธความวิปลาสและความลำเอียงด้วย อคติ หรือด้วย มิจฉาทิฏฐิมิจฉาสังกัปปะ [ทำพูดคิด] แต่บางบุคคลปฏิเสธ กฎธรรมชาติแห่งปรมัตถสัจจะ [ปรมัตถ์] ด้วยการยึดมั่นในหลักการหรือวาทกรรมของตนเป็นใหญ่ [ทิฏฐุปาทานอัตตวาทุปาทาน] กลายเป็นบุคคลมีจิตใจคับแคบ มีกิเลสปิดกั้นโอกาสของตนเอง [ปปัญจธรรม ๓: ตัณหาทิฏฐิมานะ] ในการจะได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ยิ่งจากผู้รู้สัตบุรุษผู้ทรงศีลทรงธรรม คือ หมดโอกาสปรับปรุงตนเองในทางที่ถูกต้อง นั่นเอง ตามแง่คิดทางพระพุทธศาสนานั้น ให้ถือปฏิบัติตามความเห็นที่ถูกต้อง ได้แก่ (๑) โลกียสัมมาทิฏฐิ กับ (๒) โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ อันเป็นแนวทางดำเนินตามกระแสแห่งอริยมรรค เพราะเป็นความคิดเห็นอันเป็นทางดำเนินในการขัดเกลาความไม่ถูกต้องถือผิดที่ปราศจากกิเลสทั้งหลายแล้ว [วีติกมกิเลสปริยุฏฐานกิเลสอนุสยกิเลส] ฉะนั้น การทำให้ความคิดเห็นถูกตองโดยชอบนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจำเป็นต้องหมั่นประกอบความเพียรในการเจริญภาวนากรรมฐานอย่างสืบเนื่องเป็นนิตย์ [สมถะฌาน กับ วิปัสสนาญาณ] นั่นคือ วิชชา ความรู้แจ้ง กับ ญาณ ปัญญาหยั่งรู้ ทำให้เกิด ญาณทัสสนะ คือ ปัญญาหยั่งเห็นแจ้งในการกำหนดรู้และพิจารณา [สัมมาสนะมนสิการ] สภาวธรรมตามเป็นจริง [ยถาภูตญาณ] หรือ ญาณในวิปัสสนา ทั้งหลาย อันสัมปยุตต์ด้วย (๑) ปัญญาในสมาธิ กับ (๒) ปัญญาในวิปัสสนา เพื่อให้เกิด (๑) ปัญญาเห็นธรรม และ (๒) ปัญญาตรัสรู้ธรรม หรือ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนามรูปปริจเฉทญาณ กับ ทิพพจักขุญาณปัจจยปริคคหญาณ และ (๒) อาสวักขยญาณสัมมสนญาณ กล่าวโดยสรุป หมายถึง วิชชา ๓ กับ ญาณในวิปัสสนา (ข้อ ๑๓ ในญาณ ๑๖) ซึ่งทำให้เกิดความคิดเห็นที่ถูกต้อง สัมมาทิฏฐิทิฏฐิวิสุทธิ อันเป็นความรู้เข้าใจและมองเห็น นามรูป ตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุให้ข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด หรือ สามารถกำหนดทุกขสัจจ์ และเป็นเหตุให้ข้ามพ้นความสงสัย [กังขาวิตรณวิสุทธิ ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗] ด้วย ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ คือ สามารถกำหนดสมุทัยสัจจ์ เมื่อมีความเห็นชอง [สัมมาทิฏฐิ] แล้ว การพิจารณาสภาวธรรมด้วย ญาณทัสสนะ นั้น ย่อมดำเนินไปตามแนวทางแห่งอริยมรรค เกิดเป็น วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ได้ด้วยดี ไม่วิปลาสผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ เพราะฉะนั้น ความรู้ทั้งหมดที่จะเป็นประโยชน์ในการวิปัสสนากรรมฐานนั้น คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์อุปาทานทุกข์ ได้แก่ (๑) อุปาทาน (๒) ขันธ์ ๕ และ (๓) ทุกขตา ถ้าสามารถดับธรรมทั้ง ๓ อย่าง นี้ได้ ก็เท่ากับว่าบุคคลนั้นสามารถหลุดพ้นจากภพภูมิใน วัฏฏะ ๓ไตรวัฏฏ์ ไปสู่สภาวะที่ปราศจากขันธ์ นั่นคือ วิวัฏฏะ [นิพพานอมตธาตุ] อันเป็นธรรมสูงสุด ที่เรียกว่า บรมธรรม ข้อพึงพิจารณาประกอบด้วย คือ ปัจจัยที่ทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ (๑) ปรโตโฆสะศึกษาค้นคว้าจากผู้รู้ กับ (๒) โยนิโสมนสิการคิดให้ถูกวิธีด้วยการใช้ปัญญาและเหตุผลในปัจจัยธรรมทั้งหลาย นั่นคือ การศึกษาค้นคว้ากับการคิดอย่างถูกวิธี [ปัจจยาการ] ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด ปัญญาญาณ ต่างๆ ในการเจริญภาวนากรรมฐาน ซึ่งเป็นการพิจารณาสภาวธรรมอยู่เนื่องๆ เป็นนิตย์ ด้วยมนสิการกรรมฐานใน อนุปัสสนา ๗ ทำให้เกิดปัญญาหลากหลายไม่สิ้นสุด จนสามารถตรัสรู้ด้วย สัมโพธิญาณ ได้ด้วย มหาวิปัสสนา ๑๘ ทั้งหลายทั้งปวงนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ปัญญาญาณ ที่ดำเนินตาม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นปรีชาญาณเฉพาะบุคคล เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติธรรมจะเข้าใจขั้นตอนไหนอย่างชัดเจนและลึกซึ้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการประกอบความเพียรหรือมีปรารภความเพียร ไม่หยุดหย่อน ไม่สันโดษ ต่อการสร้างบุญกุศลบารมี อันประกอบด้วยปัญญาและเหตุผลเสมอ [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖] ทุกคนมีทักษะการคิดเป็นลักษณะเฉพาะตน ไม่เหมือนกันเสียหมดที่เดียว แต่ต้องสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานสากลอันเป็นหลักองค์รวมของพระธรรมทั้งหลายที่ต้องมาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว [ญาณสัมปยุตต์ธรรมสามัคคี] โดยธรรมเอกแห่งความไม่ประมาท [อัปปมาทะ] อันยังประโยชน์แก่ตนและผู้อี่น.
|