๙๘. ผู้ปฏิบัติธรรมต้องพร้อมเรียนรู้ทุกสถานการณ์ Buddhists with Exactly Omniscient Promptness
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
การเป็นผู้ครอง สติสัมปชัญญะ ได้ในทุกขณะในการดำเนินชีวิตตามปกติและในการปฏิบัติธรรมด้วยการสำรวมระวังอินทรีย์ทั้งหลาย มิให้กิเลสทั้งหลายเข้ามาครอบงำจิตใจ จนเกิดอาการวิปริตผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง เพราะตนเองเข้าปรุงแต่ง [สังขตธรรม] และนึกคิดว่าเป็นจริงมีอยู่จริงจึงยึดมั่นหมายจับมาเป็นเจ้าของ จึงเกิดความเดือดร้อนเป็นทุกข์ในการไปยึดมั่นในสิ่งที่ตนปรุงแต่งขึ้นมา [อุปาทานทุกข์] เพราะขาดสติลุ่มหลงไม่เป็นสุขอันควร [อวิชชาอโยนิโสมนสิการโมหะสัมโมหะ] ที่เรียกว่า สังสารทุกข์ เพราะฉะนั้น สาเหตุหลักนั้น เกิดจากความไม่ถึงพร้อมแห่งการพิจารณาเรียนรู้สภาวธรรมต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นรอบตัว รู้ไม่ถึงการณ์ใดๆ ว่าเกิดดับขึ้นภายในจิตใจตนและคนรอบข้าง ฉะนั้น สติ ทำหน้าที่กำหนดรู้หมายจำเป็น สังขารสัญญา ส่วน สัมปชัญญะ ทำหน้าที่เรียนรู้หาข้อสรุปเป็นองค์ความรู้และปัญญาไหวพริบ โดยให้เข้าใจนึกคิดอย่างถูกต้องตาม กฎธรรมชาติ ได้แก่ (๑) อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔ (๒) ปฏิจจสมุปบาท (๓) ไตรลักษณ์ องค์ความรู้เดิมกับใหม่ประมวลรวมกันกลายเป็นปัญญาใหม่ๆ เป็น หลักการทฤษฎีกฎสูตร ที่เรียกว่า ธรรมสภาวธรรมปรมัตถสัจจะปรมัตถธรรม กล่าวโดยรวม คือ ความจริงสัจจธรรม อันประเสริฐ นั่นเอง ดังนั้น การครอบครองสติและสัมปชัญญะให้แน่วแน่ด้วยสมาธิที่บริสุทธิ์ ย่อมส่งผลให้ปัญญาเกิดความบริสุทธิ์ ที่ปราศจากอำนาจครองงำแห่งกิเลสทั้งหลาย ที่ทีให้ประสบความทุกข์และความเดือดร้อนไม่สิ้นสุด เพราะความไม่เข้าใจในการพิจารณาสภาวธรรมรอบตัวตามเป็นจริง ที่ต้องประกอบด้วย ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา โดยยึดแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง อันจะต้องดำเนินตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างจริงจัง.
บทความที่ ๙๘ ประจำปี ๒๕๕๙ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องพร้อมเรียนรู้ทุกสถานการณ์
ในความหมายของคำว่า พร้อมเรียนรู้ทุกสถานการณ์ นั้น หมายถึง การสำรวมระวังปิดกั้นบรรดากิเลสทั้งหลาย ไม่เปิดโอกาสให้กิเลสเหล่านั้น ขุกเข้ากลุ้มรุมจิตใจ เพราะความฟุ้งซ่าน ไม่เห็นประจักษ์แจ้งในธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาทั้งประโยชน์ความหมายและเหตุผล คือ ไม่หมั่นเพียรในการเจริญภาวนากรรมฐาน คำว่า สถานการณ์ นั้น ประกอบด้วยเหตุปัจจัยหลักๆ ได้แก่ (๑) เวลา กับ (๒) สถานที่ และให้รู้จักเลือกเป็นอย่างชาญฉลาดด้วย นั่นคือ สถานการณ์อันเหมาะควรแก่ธรรม [สัปปายะ ๗: สิ่งที่สบายสภาพเอื้อสิ่งที่เกื้อกูล ได้แก่ (๑) อาวาสสัปปายะที่อยู่อันเหมาะ (๒) โคจรสัปปายะแหล่งอาหารอำนวย (๓) ภัสสสัปปายะการพูดคุยที่เหมาะกัน (๔) ปุคคลสัปปายะบุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน (๕) โภชนสัปปายะอาหารที่เหมาะกัน (๖) อุตุสัปปายะดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะ และ (๗) อิริยาปถสัปปายะอิริยาบถที่เหมาะกัน] เมื่อรู้สึกตัวว่าอยู่ในสถานการณ์อันเป็น อโคจรโคจรวิบัติ [หมายถึง ความเสียหายในการไปมาหาสู่ เช่น ภิกษุไปในที่อโคจรมีร้านสุรา หญิงแพศยา แม่หม้าย บ่อนการพนัน เป็นต้น] ไม่เหมาะสมกับฐานะอันความเป็นของตนแล้ว ย่อมเกิดดำริชอบ [สัมมาสังกัปปะ] หรือ สัปปายสัมปชัญญะ (ข้อ ๒ ในสัมปชัญญะ ๔) หมายถึง รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ [สิ่งที่สบายสภาพเอื้อสิ่งที่เกื้อกูล] หรือตระหนักในความเหมาะสมเกื้อกูล คือ รู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งของนั้น การกระทำนั้น ที่ที่จะไปนั้น เหมาะกันกับตน เกื้อกูลแก่สุขภาพแก่กิจเอื้อต่อการสละละลดแห่งอกุศลธรรมและการเกิดขึ้นเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม จึงใช้ จึงทำ จึงไป หรือ เลือกให้เหมาะ เพื่อที่จะเลือกกาลเทศะที่เหมาะสมกว่านั้น นั่นคือ ไม่คบคนพาลเป็นกัลยาณมิตร [อย่าประมาทโดยคิดเอาเองว่าตนมีธรรมเหนือกว่าคนชั่ว] นั่นเอง อันตรงกับนัยแห่งธรรมว่า กัลยาณมิตตตาโยนิโสมนสิการอัปปมาทะ หมายถึง คบหากัลยาณมิตร คิดให้ถูกวิธี และไม่ประมาท เพื่อไม่ให้ประสบกับภาวะเสียธรรม คำว่า ธรรมสัจจธรรมสภาวธรรมปรมัตถสัจจะ มีอรรถนัยเหมือนกัน และยังรวมถึงคำต่อไปนี้ด้วย ได้แก่ เหตุการณ์ปรากฏการณ์สภาวการณ์สถานการณ์ โดยรวมหมายถึง ปัจจัยเงื่อนไขข้อแถลง หมายถึง ลักษณะอาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่มีสิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุหรือเงื่อนไข ให้สิ่งอื่นหรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้นคงอยู่ดับไป หรือ เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง [อุปาทขณะฐิติขณะภังคขณะ] ซึ่งเป็นกระบวนการคิด พิจารณาธรรม ให้เป็นไปตาม หลักปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา [ทิพพจักขุญาณจุตูปปาตญาณปัจจยปริคคหญาญกัมมัสสกตาญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓ และ ญาณ ๑๖ กับ ข้อ ๓ ในศรัทธา ๔: กัมมัสสกตาสัทธา หรือ ข้อ ๕ ในอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕: กัมมัสสกตา หรือ กัมมัสสกตาญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน)] นั่นอง ลักษะการคิดดังกล่าวนี้ เป็นมุมมองธรรมทั้งหลาย [สังขตธรรมอสังขตธรรม] ด้วยปัญญาพร้อมผลแห่งความหมายและเหตุผล [อัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทา ข้อ ๑๒ ในปฏิสัมภิทา ๔] อันดำเนินไปตาม หลักไตรลักษณ์ [อนิจจังทุกขังอนัตตา] ฉะนั้น ตามนิยามแห่งธรรมดังกล่าวข้างต้นนี้ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อแนวทางความเข้าใจในการเจริญภาวนาหรือมนสิการกรรมฐาน เพราะร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติธรรมต้องสัมผัสกับความเปลี่ยนแปลงของธรรมทั้งหลาย [วิปฏิสารของสภาวะแห่งจิตความไม่เที่ยงอันเป็นทุกข์] อยู่ตลอดเวลา โดยผ่านความสัมพันธ์ของความรู้ระหว่างอินทรีย์ทั้ง ๖ [อายตนะภายใน ๖: จักขุตา ๑ โสตะหู ๑ ฆานะจมูก ๑ ชิวหาลิ้น ๑ กายกาย ๑ มโนใจ ๑ = สฬายตนะ] กับ อารมณ์ทั้ง ๖ [อายตนะภายนอก ๖: รูปะสิ่งที่เห็น ๑ สัททะเสียง ๑ คันธะกลิ่น ๑ รสะรส ๑ โผฏฐัพพะสัมผัสทางกาย ๑ ธรรมธรรมารมณ์ ๑ = พาหิรายตนะ] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นใน อายตนะ ๑๒ ดังกล่าวนี้ อาจจะมี เจตนาสัญเจตนามโนสัญเจตนา [ความตั้งใจความปรารถนาความต้องการ = ตัณหา] เป็นตัวการในการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย [ตัณหา ๓อภิสังขาร ๓] หรือกำกับและกำหนดรู้อย่างเท่าทันก็ได้ ไม่เข้าไปปรุงแต่ง พิจารณาเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาและเหตุผลตามเป็นจริง [ยถาภูตญาณยถาภูตญาณทัสสนะ] จึงหลุดพ้นจากสังสารจักรหรือสังสารทุกข์ การมนสิการกรรมฐานอยู่เนื่องๆ อย่างสืบเนื่องเป็นนิตย์ อย่างบริบูรณ์สมบูรณ์ และไพบูลย์ยิ่งด้วย ปรมัตถสัจจะปรมัตถธรรม จึงเป็นทักษะกระบวนการคิดที่สำคัญด้วย (๑) สมาธิในวิปัสสนา และ (๒) ปรีชาหยั่งรู้ในวิปัสสนา ไม่ใช่ความประมาทไม่รู้จักอะไรเลยในแต่ละวันว่า จะคิดจะทำ อะไรเลย ความเป็นผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้วด้วยภาวนาทั้ง ๔ ด้าน [อัตตสัมปทา] ได้แก่ กายภาวนาสีลภาวนาจิตตภาวนาปัญญาภาวนา ย่อมเรียกว่า ภาวิตัตต์ นั่นคือ ฉะนั้น ความประจักษ์แจ้งถึงความรู้ในการปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องตามหลัก ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ จึงเป็นคุณสมบัติอันยิ่งในการพึงตนเองต่อการบรรลุธรรมวิเศษ การฝึกซ้ำๆ และทบทวนกระบวนการคิดในวิปัสสนาภูมินั้น ต้องทำให้เกิดความคุ้นเคยเป็นนิสัย อันเป็นการเจริญกุศลกรรมโดย โยนิโสมนสิการ ด้วยดำรงไว้ซึ่ง สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ โดยไม่แสดงความวิการด้วย วิปลาส ๔ คือ ความรู้เห็นคลาดเคลื่อนความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง และ อคติ ๔ คือ ทางความประพฤติที่ผิดความไม่เที่ยงธรรมความลำเอียง พร้อมด้วย วิบัติ ๔ คือ ความผิดพลาด ความเคลื่อนคลาด ความเสียหายความบกพร่องความใช้การไม่ได้ เพราะฉะนั้น แนวทางปฏิบัติสัมมาปฏิปทานั้น จึงต้องประกอบด้วยการปรารภความเพียรอย่างไม่ลดละ มีการทบทวน ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข ตามคลองธรรม อย่างมีมาตรฐานตามเป็นจริง ที่สามารถวัดประเมินผลความก้าวหน้าได้ มีขั้นตอนถูกต้องตามหลักวิธีวิทยาศาสตร์ ไม่บกพร่องด้วย อวิชชา คือ ความไม่รู้จริงความไม่รู้แจ้งด้วย อริยสัจจ ๔กาลทั้ง ๓อิทัปปัจจยตา หรือ โมหะ คือ ความหลงความโง่เขลา หรือไม่เป็นไปตาม หลักมัชฌิมาปฏิทา ที่จะเข้าถึง อริยมรรคอริยสัจจ์ ๔ ได้โดยมีแนวทางปฏิบัติตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ [อริยอัฏฐังคิกมรรค] ดังนั้น ไม่ว่าสภาวธรรมใดๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตของตน บุคคลนั้นต้องเผ้าสำรวมระวังด้วยการมี สติปัญญาสติสัมปชัญญะ อยู่เสมอ ด้วยจิตที่ฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี คือ จิตปราศจากนิวรณ์จิตประภัสสร เป็นจิตที่ซื่อตรง นุ่มนวล อ่อนไหว ควรแก่งาน ผู้ปฏิบัติธรรมจึงสามารถน้อมนำจิตนั้น ไปใช้งานได้จริง และกลายเป็น ญาณทัสสนะ คือ ปรีชาหยั่งรู้และเห็นแจ้งที่จะปิดกั้นกิเลสทั้งหลายได้ด้วย อาสวักขยญาณ คือ ปัญญาหยั่งรู้ในความตรัสรู้ อันมีสมุฏฐานมาจากความรู้แจ้ง วิชชา และ วิปัสสนาญาณ [ฌานญาณ] ดังเช่น ญาณ ๑๖โสฬสญาณ หรือ วิปัสสนาญาณ ๙ [วุฏฐานคามินีปฏิปทาการทุบขันธ์ ๕] อันเป็นปัญญาที่จะดับ อุปาทานขันธ์ ๕ [ทุบขันธ์ ๕] ซึ่งนับเป็น โลกียญาณ แล้วข้ามโคตรจากปุถุชนไปสู่ ความเป็นอริยบุคคล โดยเข้าถึงกระแสแห่งอริยมรรค นั่นคือ โลกุตตรญาณ หรือ โลกุตตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ ที่สัมปยุตต์ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หมายถึง ธรรมเครื่องสนับสนุนความตรัสรู้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ในบรรดาธรรมทั้งหมดเหล่านี้ ต้องเกิดขึ้นพร้อม อริยมรรคมีองค์ ๘ เสมอ ไม่ได้เกิดเป็นอิสระเฉพาะตนแต่อย่างใด ที่เรียกว่า ญาณสัมปยุตต์ [ธรรมสามัคคี] อนึ่ง ในกระบวนการคิดในวิปัสสนาภูมินั้น ต้องเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาและเหตุผลอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นจนจบการปรากฏสภาวธรรมนั้นๆ เรียกว่า โยนิโสมนสิการ [ทิพพจักจุญาณ] ไม่ว่าจะพิจารณาเชื่อมโยงหลักธรรมใดๆ ที่ถือเป็นทฤษฎีนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องขบได้ด้วยทฤษฎี ไม่ใช่อะไรก็ไม่ออก บอกอะไรก็ไม่ถูก ทุกอย่างเกิดความเชี่ยวชาญขึ้นจากการฝึกอบรมทักษะกระบวนการคิดทั้งนั้น ไม่ต้องรอให้คนอื่นมาบอกชี้นำมากมายนัก ต้องดำเนินการเองและเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาและความหมายประโยชน์กับเหตุผลของตนเป็นหลัก อันเกิดจากการศึกษาค้นคว้าพิสูจน์หลักฐานธรรมทั้งหลาย [ปริยัตติสัทธรรมปฏิปัตติสัทธรรมปฏิเวธสัทธรรม] โดยผสมผสานกับ หลักไตรสิกขา [ศีลสมาธิปัญญา = อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔] และดำเนินไปตามแนวทางปฏิบัติใน อริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น การเห็นธรรมทั้งปวง จึงเป็นเห็นตถตา [อาณาจักรแห่งปัจจัยธรรม] สืบเนื่องจากบุคคลนั้น ได้ถือประพฤติปฏิบัติสัมมาปฏิปทามาอย่างถูกต้องแม่นยำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า.
|