
นิวรณ์
๕นิวรณูปกิเลส หมายถึง สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม
ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง
และทำปัญญาให้อ่อนกำลัง นั่นคือ ธรรมเครื่องเผาผลาญสติสัมปชัญญะ
[สติปัญญา]
อนึ่ง การละงับดับนิวรณูปกิเลสได้นั้น ต้องหมั่นประกอบความเพียรใน
ฌานสมาบัติ
โดยเฉพาะ ฌาน
๔รูปฌาน
๔
ที่อยู่ในทำนองที่ว่า
ปราศจากนิวรณ์
[จิตประภัสสร
เป็นสมาธิที่แน่วแน่
อัปปมาสมาธิ
ในขณะที่อยู่ในฌานที่
๔ ประกอบด้วย อุเบกขาเอกัคคตา
แต่ในความเป็นจริงของการดำเนินชีวิต การทรงสมาธิที่จิตปราศจากนิวรณ์ได้นั้น
เป็นอารมณ์แห่งพระอรหันต์ ส่วนปุถุชนทั่วไป ก็ให้หมั่นเพียร
นึกคิดพิจารณาสืบเนื่อง อยู่เนืองๆ เป็นประจำ เท่าที่จะทำได้
อย่างน้อยผู้ที่ปฏิบัติได้ ก็ได้รับกุศลานิสงส์ ให้เป็นสุขตามสภาพในปัจจุบันทันตาทิฏฐธรรมสุขวิหาร]
ฉะนั้น องค์แห่งที่ระงับนิวรณ์แต่ละอย่างได้ในขณะที่จิตอยู่ในฌาน
[การเพ่งพิจารณาอารมณ์แห่งกรรมฐานที่ละเอียดประณีต ได้แก่
กรรมฐาน ๔๐] นั้น ควรนำข้อปฏิบัติดังกล่าวข้างล่างนี้
น้อมนำมาปฏิบัติจริงในชีวิต ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(๑)
กามฉันทะ ความพอใจปรารถนาในกามคุณทั้ง
๕ [โมหะหลงใหลขาดสติ
ฉันทะพอใจ
ราคะติดใคร่]
องค์ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละกามฉันทะ [กามคุณ
๕ ได้แก่ รูปเสียงกลิ่นรสกายสัมผัส
หรือ โผฏฐัพพะ อนึ่ง กามฉันทะ
คือ ความพอใจรัก ใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ แต่ กามราคะ
คือ ความกำหนัดในกาม ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม ฉันทราคะ
คือ ความพอใจติดใคร่ ความชอบใจจนติด ความอยากที่แรงขึ้นเป็นความติด
ที่เรียกว่า พลวราคะ หรือ
สิเนหะ ส่วน ตัณหาฉันทะ
เป็นราคะอย่างอ่อน ที่เรียกว่า ทุพพลราคะ
หรือ ฉันทะ] ด้วยกระทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการ [ความฉลาดแยบคายด้วยอุบายอย่างถูกวิธี
ด้วยเหตุผลที่เป็นไปตาม กฎธรรมชาติ
คือ ธรรมนิยาม ๓ปฏิจจสมุปบาท
๑๒
ไตรลักษณ์อริยสัจจ์
๔] ในอสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น
ไม่ให้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อการละกามฉันทะ ที่เกิดขึ้นแล้ว
ได้แก่
๑. การเรียนอสุภนิมิตพิจารณาในสมาธฌานด้วยการเจริญอสุภะ
๒. การประกอบเนืองๆ ในอสุภภาวนาให้ทำมากๆ
ในความปฏิกูลแห่งสังขารทั้งหลายด้วยความไม่หลง
๓. ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายประกอบการเจริญอินทรียสังวรสำรวมอารมณ์ทั้ง
๖
๔. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะไม่มัวเมาในการกินบริโภคอาหารเกินจำเป็นต่อร่างกาย
คือ ไม่อยู่เพื่อกิน
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรกัลยาณมัตตตาอันเป็นอุดมมงคล
[มงคล ๓๘]
๖. สัปปายกถาเรื่องสภาวะที่เกื้อหนุนการบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ
ฉะนั้น
ปฏิปักษ์ธรรมของกามฉันทะ คือ เนกขัมมะ
ความปลีกออกจากกาม
(๒)
พยาบาท ความคิดร้ายขัดเคืองแค้นใจ
[โทสะผูกโกรธคิดปองร้าย]
องค์ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละพยาบาท กระทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการ [ความฉลาดแยบคายด้วยอุบายอย่างถูกวิธี
ด้วยเหตุผลที่เป็นไปตาม กฎธรรมชาติ
คือ ธรรมนิยาม ๓ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ไตรลักษณ์อริยสัจจ์
๔] ในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น
หรือว่าเพื่อการละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่
๑. การเรียนเมตตานิมิตเจริญเมตตาภาวนาด้วยมีความใคร่อยากให้สัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์
๒. การประกอบเนืองๆ ในเมตตาภาวนากำหนดจิตแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายแก่
ตนเอง คนที่รัก คนทั่วไป คนศัตรูคู่เวร
๓. การพิจารณาในกัมมัสสกตาพิจารณาถึงความจริงสัตว์ทั้งหลายมีกรรมของตน
คือ ทางใครทางมัน [ไม่เสียธรรม]
๔. การกระทำการใคร่ครวญให้มากพิจารณาธรรมในโยนิโสมนสิการอย่างมีอุบายแยบคาย
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรกัลยาณมัตตตาอันเป็นอุดมมงคล
[มงคล ๓๘]
๖. สัปปายกถาพูดคุยสนทนาในเรื่องเสริมการเจริญสมาธิ
ฉะนั้น
ปฏิปักษ์ธรรมของพยาบาท คือ เมตตา ความปรารถนาให้พ้นทุกข์
(๓) ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม
[โมหะหลงใหลเสียสติ
ฉันทะพอใจ
ราคะติดใคร่
ไม่ใช่ สัมมาวายามะ]
องค์ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละถีนมิทธะ กระทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการ [ความฉลาดแยบคายด้วยอุบายอย่างถูกวิธี
ด้วยเหตุผลที่เป็นไปตาม กฎธรรมชาติ
คือ ธรรมนิยาม ๓ปฏิจจสมุปบาท
๑๒
ไตรลักษณ์อริยสัจจ์
๔] ใน อารัพภธาตุความเพียรที่เริ่มครั้งแรก
๑ นิกกมธาตุความเพียรที่มีกำลังมากกว่าอารัพภธาตุนั้นเพราะขจัดความเกียจคร้านได้แล้ว
๑ ปรักกมธาตุความเพียรที่มีกำลังกว่าแม้นิกกมธาตุ
๑ เหล่านี้ นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
หรือว่า เพื่อการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่
๑. การถือเอานิมิตในอติโภชนะ
[บริโภคมากเกินไป] ไม่กินอาหารเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา
๒. การเปลี่ยนอิริยาบถไม่ทรงอยู่ในอาการซึมวกวนประวัติถึงคราวในเรื่องเก่าๆ
๓. มนสิการในอาโลกสัญญายกจิตใจให้สว่างไสวแม้วันหรือคืนซึ่งทำให้เกิดปัญญา
๔. การอยู่กลางแจ้งอัพโภกาสิกังคะได้เห็นภูมิทัศน์ที่แปลกตาให้พิจารณาธรรมได้
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรกัลยาณมัตตตาอันเป็นอุดมมงคล
[มงคล ๓๘]
๖. สัปปายกถาพูดคุยสนทนาในเรื่องเสริมการเจริญสมาธิ
ฉะนั้น
ปฏิปักษ์ธรรมของถีนมิทธะ คือ วิริยารัมภะ
[สัมมาวายามะ] การปรารภความเพียร ทำความเพียรมุ่งมั่น
(๔)
อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ
[โทสะผูกโกรธคิดประทุษร้าย
ไม่ใช่ สัมมาสมาธิ]
องค์ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละอุทธัจจกุกกุจจะ
กระทำให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการ
[ความฉลาดแยบคายด้วยอุบายอย่างถูกวิธี ด้วยเหตุผลที่เป็นไปตาม
กฎธรรมชาติ คือ ธรรมนิยาม
๓ปฏิจจสมุปบาท
๑๒
ไตรลักษณ์อริยสัจจ์
๔] ใน อารัพภธาตุนิกกมธาตุปรักกมธาตุ
ที่มีอยู่เหล่านี้ นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
หรือว่าเพื่อการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่
๑. ความเป็นพหูสูต [การสดับตรับฟังมาก]
ผู้คงแก่เรียนผู้มีปัญญามากยิ่ง
๒. ปริปุจฉกถา [การสอบถาม]
ซักถามในสิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. ความเป็นผู้ชำนาญในพระวินัยมั่นคงในข้อปฏิบัติศีลและวัตร
๔. การคบบุคคลผู้เจริญสัปปุริสสังเสวะคบหาท่านผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นกัลยาณมิตร
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรกัลยาณมัตตตาอันเป็นอุดมมงคล
[มงคล ๓๘]
๖. สัปปายกถาพูดคุยสนทนาในเรื่องเสริมการเจริญสมาธิ
ฉะนั้น
ปฏิปักษ์ธรรมของอุทธัจจกุกกุจจะ คือ สมาธิสัมมาสมาธิ
ความตั้งมั่นชอบ
(๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
[โมหะหลงใหลเสียสติ
ไม่ใช่ อธิโมกข์ ความเลื่อมใสศรัทธา
หรือ สัมมาสติ]
องค์ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละวิจิกิจฉา กระทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการ [ความฉลาดแยบคายด้วยอุบายอย่างถูกวิธี
ด้วยเหตุผลที่เป็นไปตาม กฎธรรมชาติ
คือ ธรรมนิยาม ๓ปฏิจจสมุปบาท
๑๒
ไตรลักษณ์อริยสัจจ์
๔] ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศลและอกุศล
อันเป็นโทษและไม่เป็นโทษ อันควรเสพและไม่ควรเสพ อันเลวและประณีต
อันเปรียบด้วยมรรคดำและธรรมขาว ที่มีอยู่ นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
หรือว่าเพื่อการละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว ได้แก่
๑. ความเป็นพหูสูตผู้คงแก่เรียนผู้มีปัญญามากยิ่ง
๒. ความเป็นผู้สอบถามซักถามในสิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. ความเป็นผู้ชำนาญในพระวินัยมั่นคงในข้อปฏิบัติศีลและวัตร
๔. ความเป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์เลื่อมใส
ศรัทธาอย่างแรงกล้า ในพระรัตนตรัย
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรกัลยาณมัตตตาอันเป็นอุดมมงคล
[มงคล ๓๘]
๖. สัปปายกถาพูดคุยสนทนาในเรื่องเสริมการเจริญสมาธิ
ฉะนั้น
ปฏิปักษ์ธรรมของวิจิกิจฉา คือ ปัญญาสัมมาทิฏฐิ
ความเห็นชอบ