บทความที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๗ บทที่ ๔ การเจริญวิปัสสนาภาวนา
บทที่ ๔
การเจริญวิปัสสนาภาวนา
เมื่อกล่าวถึงการเจริญวิปัสสนาภาวนาแล้ว
ก็ย่อมจะหมายถึง กระบวนการพัฒนาสติปัญญา หรือ สติสัมปชัญญะ
อันเป็น การหยั่งรู้ด้วยญาณ ที่เรียกว่า ปัญญาวิปัสสนาวิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ
ที่ประกอบด้วยหลักธรรมทั้ง ๘ ประการ ได้แก่ (๑) ขันธ์ ๕
(๒) อายตนะ ๑๒ (๓) ธาตุ ๑๘
(๔) อินทรีย์ ๒๒ (๕) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
(๖) ปฏิจจสมุปปันนธรรม (๗) ไตรลักษณ์
(๘) อริยสัจจ์ ๔ ซึ่งเป็นความรู้หรือปัญญาในการหยั่งรู้ใน
สภาวธรรมทั้งหลายแห่งนามรูป [ทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์]
หรืออีกนัยหนึ่ง คือ สภาวะปรุงแต่งโดยเหตุปัจจัยทั้งหลายด้วยเจตนา
หรือ สัญเจตนา ๖
[อินทรีย์ ๖ = ตาหูจมูกลิ้นกายใจ] ของบุคคลที่จะปรุงแต่ง
[อารมณ์ ๖ = รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์] ที่เรียกว่า สังขาร ๓อภิสังขาร ๓
แต่ถ้าจำแนกแจกธรรมอย่างละเอียดสูงขึ้นไปอีก ก็สามารถแบ่งออกเป็น
๔ ขั้นตอนแห่งการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน [โสฬสญาณญาณ ๑๖] ที่เรียกว่า อริยสัจจ์
๔ ดังนี้
(๑)
สภาพแห่งนามรูป =
ขันธ์ ๕ ทุกขอริยสัจจ์ [ทุกข์]
(๒)
สาเหตุการเกิดนามรูป = ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์
[สมุทัย]
(๓) ความตรัสรู้โดยสามัญลักษณะแห่งนามรูป = ไตรลักษณ์ ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ [นิโรธ]
(๔) การดับนามรูป = อริยสัจจ์ ๔ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ [มรรค]
กระบวนการทั้ง ๔ ประการดังกล่าวนี้ หมายถึง โสฬสญาณญาณ ๑๖ อันเป็น ญาณในวิปัสสนา ทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน วิปัสสนาภูมิ เนื่องจากการมนสิการใน กรรมฐาน ทั้งหลาย ซึ่งหมายถึง อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งงานเจริญภาวนาที่ตั้งแห่งงานทำความเพียรฝึกอบรมจิต หรือ วิธีฝึกอบรมจิต ปัญญาที่เกิดขึ้นในวิปัสสนาภูมิ
หรือ วิปัสสนาภาวนา [ญาณ] นี้ รวมทั้ง สมถภาวนา [ฌาน] เรียกว่า ภาวนามยปัญญา นั่นคือ การหยั่งรู้เห็นด้วยญาณทัสสนะ อันมีรากฐานที่วิวัฒน์พัฒนามาจาก
(๑) จินตามยปัญญา หมายถึง ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา ปัญญาสืบแต่ โยนิโสมนสิการ ที่ตั้งขึ้นในตนเอง
กับ (๒) สุตมยปัญญา
หมายถึง ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียนสืบค้นค้นคว้าวิจัย หรือ ปัญญาสืบแต่ ปรโตโฆสะ เพราะฉะนั้น จินตามยปัญญา กับ สุตมยปัญญา ย่อมหมายถึง
ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานและขั้นสูง ซึ่งแสดงถึงทักษะการคิด ๒ ระดับข้างต้น อันเป็น ปัญญาสามัญ [ปัญญาปุถุชนปัญญาอนริยะ] ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ โลกียธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นวิสัยของโลกสภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ ขันธ์ ๕ ที่เป็น
สาสวะ
ทั้งหมดสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ คำว่า อาสวะ หมายถึง ความเสียหายความเดือดร้อนโทษทุกข์ หรือ กิเลสที่หมักหมมดองอยู่ในสันดาน
ซึ่งไหลซึมซ่านไปย้อมจิตต์เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ฉะนั้น ในบรรดา
ธรรม [สภาวะสิ่งปรากฏการณ์] ทั้งหลายนี้
ยังไม่ใช่ โลกุตตรธรรม ๙
ซึ่งหมายถึง ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลกสภาวะพ้นโลกปราศจากขันธ์
ได้แก่ มรรค ๔ผล
๔นิพพาน ๑ ซึ่งเรียกว่า โลกุตตรธรรม ๙ ที่จะปฏิเวธเข้าถึงได้ด้วย มรรคสมาธิผลสมาธิปัญญาญาณ เท่านั้น หมายถึง โสฬสญาณญาณ ๑๖ คือ ความหยั่งรู้ ในที่นี้คือญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ
ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด

จากรายละเอียดข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า (๑) จินตามยปัญญา และ (๒) สุตมยปัญญา อันทำให้เกิด
(๑) ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน
กับ (๒) ทักษะการคิดขั้นสูง
ตามลำดับ (ดูเพิ่มเติมในภาคผนวกการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด) อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะ นำไปประยุกต์ใช้ และ
ต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ ในการเจริญภาวนา หรือเป็นบาทวิถีในวิปัสสนา
ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า ปัญญาปุถุชน หรือเรียกว่า โลกียธรรม คือ ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก ยังไม่ใช่ โลกุตตรธรรม คือ ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ นั้น เมื่อเปรียบเทียบในเชิง
ระบบโครงสร้างของกระบวนการคิด กับ ภาวนามยปัญญา [ปัญญาอริยะ] มีขั้นตอนคล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นไปตาม หลักการเชิงทฤษฎี [The Principle of Theories] ดังที่ผู้บรรยายเปรียบเทียบในข้างต้นกับ
โสฬสญาณญาณ ๑๖ นั้น สำหรับความแตกต่างกันนั้น คือ ข้อประพฤติปฏิบัติของ
ภาวนามยปัญญา จะเป็นการเจริญมรรคาที่สหรคตด้วย มัคคังคะองค์มรรค องค์แห่งมรรคที่รู้แจ้งใน
อริยมรรคมีองค์ ๘ [อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ] และ อริยสัจจ์ ๔ อันมีรากฐานตามหลัก มัชฌิมาปฏิทา หมายถึง เส้นทางสายกลางแห่งปัญญาอันยิ่ง ที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติตาม
ไตรสิกขาสิกขา ๓ หมายถึง สิ่งที่พึงต้องศึกษาด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า
ได้แก่ (๑) เริ่มต้นด้วยปัญญาที่ถูกต้อง นั่นคือ อธิปัญญาสิกขา ด้วยปัญญาอันยิ่ง สัมปยุตต์ด้วยมัคคังคะ ๒ องค์ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ
ซึ่งเป็นการดับกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสยกิเลสกิเลสานุสัย (๒) ดำเนินด้วยศีลที่บริสุทธิ์
นั่นคือ อธิสีลสิกขา
ด้วยศีลอันยิ่ง สัมปยุตต์ด้วยมัคคังคะ ๓ องค์ ได้แก่ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ เป็นการดับกิเลสอย่างหยาบ คือ วีติกกมกิเลส และ (๓) นำไปสู่ปัญญาอันยิ่ง นั่นคือ อธิจิตตสิกขา ด้วยจิตต์อันยิ่ง สัมปยุตต์ด้วยมัคคังคะ ๓ องค์ ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ เป็นการดับกิเลสอย่างกลางที่ครอบงำยำยีจิตใจ คือ ปริยุฏฐานกิเลส เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายของการเจริญภาวนาเพื่อ
การดับกิเลสการขัดเกลากิเลส [วิราคะนิโรธธุตะสัลเลขตา] ซึ่งแตกต่างจากการแสวงหา ปัญญาทางโลก เพื่อมุ่งสะสมกิเลสราคะที่มุ่งเป็นเรื่อง อกุศลกรรมบถ
๑๐ มากกว่า ที่จะเป็นเรื่อง กุศลกรรมบถ
๑๐ ซึ่งไม่เพลิดเพลินปรีดาปราโมทย์ตามกระแสโลก
แต่เป็นเรื่องความนึกคิดที่ขัดเกลากิเลส ที่เรียกว่า สัลเลขธรรม คือ ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส [ฌานวิปัสสนา] และปฏิบัติคล้อยตามพระวินัยอย่างหวังผลจริงจัง
ที่เรียกว่า สัตถุสาสน์ คือ คำสอนของพระศาสดา ได้แก่
(๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิงไม่หลงใหลเคลิบเคลิ้ม
(๒) วิราคะ คือ
ความคลายกำหนัดไม่ยึดติดรัดตัวเป็นอิสระ
(๓) นิโรธ คือ
ความดับหมดกิเลสหมดทุกข์
(๔) อุปสมะ คือ
ความสงบการทำใจให้สงบสภาวะอันเป็นที่สงบ
(๕) อภิญญา คือ
ความรู้ยิ่งความรู้ชัดความรู้ชั้นสูง
(๖) สัมโพธะ คือ
ความตรัสรู้ความรู้แจ้งแทงตลอด [ปฏิเวธะ]
(๗) นิพพาน คือ
การดับกิเลสกองทุกข์จาก นิรูปธิ [ไร้อุปธิ]
โลกุตตรธรรม
หมายเหตุ:
นิรูปธิ คือ กุศลมุ่งที่ภาวะไร้ปรุงแต่ง
ความหลุดพ้นเป็นอิสระ จนโยงถึงนิพพาน
ในทางตรงกันข้ามนั้น การแสวงหาความรู้หรือกระบวนการคิดทางโลกนั้น
มักใฝ่ไปในเรื่องไม่เลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้าอันหวั่นไหวในพระพุทธศาสนา เป็นความหลงเสียสติ อยากรู้แต่ก็ไม่กล้าทำ จึงเป็นการปฏิเสธที่สวนทางกับพระธรรมวินัย ที่เรียกว่า สัตถุสาสน์ คือ คำสอนของพระศาสดา แต่กลับศึกษาหาความรู้ด้วยวิถีดำเนินชีวิต
ไม่ใช่เพื่อ ธุตธรรม ๕
คือ การดับกิเลส ได้แก่ (๑) อัปปิจฉตาความมักน้อย (๒) สันตุฏฐิตาความสันโดษ
(๓) สัลเลขตาความขัดเกลา
(๔) ปวิเวกตาความสงัด (๕) อิทมัฏฐิกตาความมีสิ่งนี้เป็นประโยชน์
(ดูในบทที่ ๔ = อวิชชา ๔อวิชชา
๘อวิชชามีลักษณะ ๒๕) ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อความกำหนัดย้อมใจเสริมความติดใคร่ ย่อมปฏิปักษ์กับ วิราคะโยคเกษมธรรมโยคักเขมะ คือ ความคลายกำหนัดความไม่ติดพันเป็นอิสระ
(๒) เพื่อผูกรัดประกอบทุกข์ ทำวิปฏิสารความเดือดร้อน
สร้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ โยคธรรมโยคะอาสวะ โอฆะ ย่อมปฏิปักษ์กับ วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัดความไม่ประกอบทุกข์
(๓) เพื่อพอกพูนกิเลส ย่อมปฏิปักษ์กับ อปจยะธุตธรรม คือ ความไม่พอกพูนกิเลส
(๔) เพื่อความอยากอันใหญ่ความมักใหญ่มักมากอยากใหญ่ ย่อมปฏิปักษ์กับ อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อยความมักน้อย
(๕) เพื่อความไม่สันโดษความไม่รู้จักพอ ย่อมปฏิปักษ์กับ สันตุฏฐี คือ ความสันโดษความเอิบอิ่มพึงพอใจในผลสำเร็จในสิ่งที่ตนมี ไม่โลภริษยาขึ้งเครียดใคร อรติ คือ ความขึ้งเคียดความไม่ยินดีด้วยความริษยา
(๖) เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่ ย่อมปฏิปักษ์กับ
ปวิเวกตา คือ ความสงัดสงบในการเจริญภาวนา ความสงัดกายสงัดใจ กายวิเวกจิตตวิเวกอุปธิวิเวก นั่นคือ ปวิวิตตตา ความเป็นผู้สงัด หรือ อสังสัฏฐตาความเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
(๗) เพื่อความเกียจคร้านไม่ประกอบด้วยศรัทธาและฉันทะ ย่อมปฏิปักษ์กับ วิริยารัมภะ คือ การปรารภประกอบความเพียรในการสร้างกุศล
นั่นคือ
อารัทธวิริยตา
ความเป็นผู้ปรารภความเพียร
(๘) เพื่อความเลี้ยงยากเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมปฏิปักษ์กับ สุภรตา คือ
ความเลี้ยงง่าย
เพราะฉะนั้น สิ่งนี้คือจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ที่เกิดขึ้นระหว่าง (๑) กระบวนการคิดในทางโลก ของปราชญ์ทางโลก ที่วิวัฒน์พัฒนานาตนให้เกิดความเชี่ยวชาญในด้าน
ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานทักษะการคิดขั้นสูง [โลกียธรรมโลกียปัญญา] แต่ได้รับอกุศลผลวิบาก [ทุคติ] คือ ผู้มีโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา [ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสความคับแค้นใจ] กับ (๒) กระบวนการคิดในทางธรรม ของขีณาสพอรหันต์แห่งอริยบุคคล
ที่วิวัฒน์พัฒนาตนให้เกิด ปัญญาญาณ [โลกุตตรธรรมโลกุตตรปัญญา] แห่งวิปัสสนาภูมิ ที่ได้รับกุศลผลานิสงส์
[สุคติ] คือ ผู้ปราศจากโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อเสนอแนะในเชิงภาคปฏิบัติ คือ
(๑) ให้พัฒนาปัญญาทางโลก โลกียธรรม ให้ถึงสูงสุด
ให้เกิดความรู้ที่แตกฉานจริงๆ ให้อยู่ในฐานะผู้คงแก่เรียน พหูสูตพาหุสัจจะ หรือปัญญาแตกฉานใน
ปฏิสัมภิทา ๔
(๒)ให้เข้าถึง ความคิดริเริ่ม [Initiativeness] และ ความคิดสร้างสรรค์ [Creativeness] ด้วยไหวพริบปฏิภาณ ด้วยทัศนคติหรือมุมองที่มองโลกในแง่ดี
[Optimistic Attitudes] คือ นำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นมาต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า
นวัตกรรมทางความคิด [Thinking Innovations] ในการเจริญภาวนาแห่งอริยมรรค
(๓) ให้เข้าถึง ความคิดประยุกต์ดัดแปลง [Applicability
and Adaptability] คือ หลอมองค์ความรู้ทั้งหมดให้เป็น
ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths] ในเชิงนัยตามพระอภิธรรมปิฎก คือ สัจจธรรม ที่แท้จริงล้วนๆ ขั้นสูงสุด ซึ่งไม่ใช่ สมมติสัจจะ [Conventional Truths] เพื่อให้เป็นผู้รู้จำแนกแจกธรรมได้อย่างถูกต้อง
เพื่อปรับความสมดุลระหว่าง โลกียธรรม กับ โลกุตตรธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่จะเห็นธรรมและตรัสรู้ธรรมได้จริง แต่อย่าลืมต้องสหรคตด้วย
อริยมรรคมีองค์ ๘ มิฉะนั้น ผิดไม่ใช่ทางในมัชฌิมาปฏิทา
ดังนั้น ในการเจริญภาวนาจึงต้องประกอบด้วยความถึงพร้อมหรือความสมบูรณ์ด้วยข้อประพฤติปฏิบัติอันเป็นสัมมาปฏิปทาอันยิ่งยวดด้วย
องค์ประกอบสำคัญ ๒ ประการ ดังนี้
(๑) สมถภาวนาอธิจิตต์ [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ
= จิตตภาวนา]
คือ จิตอันยิ่งด้วย ฌานจิต
ที่ปราศจากนิวรณ์ มุ่งหมายให้บรรลุถึง จิตประภัสสร [จตุตถฌานจิต]
ที่ประกอบด้วย อุเบกขาเอกัคคตา นั่นคือ (๑) ฌานุเปกขา อุเบกขาในฌาน กับ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา
อุเบกขาในความวางตนเป็นกลางในธรรมนั้นๆ (๒) เอกัคคตาแห่งสมาธิอัปปนาสมาธิ สมาธิที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้วเบิกบานใจสว่างไสว นั่นคือ
มีวิริยะมีสัมปชัญญะมีสติ ที่เรียกว่า อาตาปีสัมปชาโนสติมา (ดูในบทที่ ๕)
(๒) วิปัสสนาภาวนาอธิปัญญา [สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ =
ปัญญาภาวนา] คือ ปัญญาที่เห็นธรรม
นั่นได้แก่ วิปัสสนาญาณ
หรือ ญาณในวิปัสสนา และ ปัญญาที่ตรัสรู้ธรรม
ได้แก่ มัคคญาณ
อันเป็น โลกุตตรมรรค ที่ทำให้เกิด โลกุตตรผล อันเป็น
สัมมาญาณ (ข้อ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐) คือ หยั่งรู้ชอบ
ฉะนั้น มัคคญาณผลญาณ คือ อริยปัญญา ที่เป็นเหตุในจิตแล่นไปสู่ภาวะอันเป็นสัจจธรรมแห่ง
นิพพานอมตธาตุ ที่เรียกว่า สัมมาวิมุตติอริยวิมุตติ
(ข้อ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐ และ ข้อ ๔ ในอริยธรรม) คือ หลุดพ้นชอบ ตามลำดับ
ลำดับต่อไป ให้พิจารณาถึง โสฬสญาณญาณ
๑๖ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
โสฬสญาณญาณ ๑๖
[ปัญญาประเสริฐปัญญาอริยะ]
(๑) นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป
(๒) ปัจจยปริคคหญาณ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป
(๓) สัมมสนญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์
(๔) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับไปแห่งขันธ์
๕
(๕) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลายไปหมดของสังขารทั้งหลาย
(๖) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
(๗) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ
(๘) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
(๙) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย
(๑๐) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาทบทวนเพื่อหาทาง
(๑๑) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
(๑๒) สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ ญาณยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
(๑๓) โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร
(๑๔) มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค
(๑๕) ผลญาณ ญาณในอริยผล
(๑๖) ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน
นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาถึง อนุปัสสนา ๗ [การพิจารณาเนืองๆการตามเห็น] คือ จิตตามพิจารณาจิตอยู่เนืองๆ ทั้งในและนอกวิปัสสนาภูมิ คำว่า
วิปัสสนาภูมิ หมายถึง (๑) การปฏิบัติอันเป็นพื้นฐานที่วิปัสสนาดำเนินไป
คือ การมองดูรู้เข้าใจ สัมมสนะ มักแปลว่า พิจารณา
หรือรู้เท่าทันสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็น อนิจจะทุกขะอนัตตา อันดำเนินไปโดยลำดับ
จนเกิด ตรุณวิปัสสนา [วิปัสสนาอ่อนๆ ข้อ ๑๔ ที่เหลือเป็น
พลววิปัสสนา คือ
วิปัสสนาที่มีกำลังที่แรงกล้าหรืออย่างเข้ม] ซึ่งเป็นพื้นของการก้าวสู่วิปัสสนาที่สูงขึ้นไป
และ (๒) ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ
ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ยถาภูตญาณ ตรงกับคำว่า ปัญญาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘
อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ์ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ และ ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มุ่งเน้น ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ ซึ่งเป็นที่รวมในการทำความเข้าใจธรรมทั้งหมดนั้น ว่าโดยสาระ ก็คือ ธรรมชาติทั้งปวงที่มีในภูมิ ๓ ที่เป็น อุปนิสสยปัจจัย เครื่องหนุนกระตุ้นเร้าทำให้เกิดปัญญาในวิปัสสนา
คือ ปัญญา ๑๐
และ หลักสำคัญในการเจริญวิปัสสนา ที่เรียกว่า มหาวิปัสสนา
๑๘ [การพิจารณาเนืองๆ] อันเป็นทางเลือกที่เสริมสนับสนุน
โสฬสญาณญาณ ๑๖ และเป็นทักษะในการวิวัฒน์พัฒนาให้เกิด
ปัญญาวิปัสสนาวิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ (ดูภาคผนวกเบญจขันธ์) หรือ ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา และเป็น ปัญญาอริยะ
ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า เช่นกัน ดังรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
อนุวิปัสสนา ๗ ซึ่งทำให้เกิด ปัญญาความรู้แจ้ง ที่เรียกว่า
ปัญญา ๑๐
ได้แก่
(๑) ชวนปัญญา
ปัญญาเร็ว โดยเจริญ
อนิจจานุปัสสนา [เห็นความไม่เที่ยง]
(๒) นิพเพธิกปัญญา ปัญญาทำลายกิเลส โดยเจริญ
ทุกขานุปัสสนา [เห็นความทุกข์]
(๓) มหาปัญญา
ปัญญามาก โดยเจริญ
อนัตตานุปัสสนา [เห็นความไม่ใช่ตัวตน]
(๔) ติกขปัญญา
ปัญญาคมกล้า โดยเจริญ
นิพพิทานุปัสสนา [หน่ายในกองทุกข์]
(๕) วิบูลปัญญา
คือ ปัญญากว้างขวาง โดยเจริญ วิราคานุปัสสนา
[ดับความกระหายวัฏฏะ]
(๖) คัมภีรปัญญา
ปัญญาลึกซึ้ง โดยเจริญ
นิโรธานุปัสสนา [ดับกิเลส]
(๗) อัสสามันตปัญญา
ปัญญาไม่ใกล้ โดยเจริญ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา [สลัดคืน]
(๘) ปฏิสัมภิทา
๔ ปัญญาแตกฉาน
โดยเจริญ อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาแตกฉานอุเบกขา]
(๙) ปุถุปัญญา
ปัญญาแน่นหนา โดยเจริญ
ปัญญา ๘ [ความรู้ทั่วถ้วนสัพพัญญู]
(๑๐) หาสปัญญา
ปัญญาร่าเริง โดยเจริญ
ปัญญา ๙ [ทิพยจักขุปัญญาจักขุ]
มหาวิปัสสนา ๑๘ [ปัญญาประเสริฐปัญญาอริยะ]
(๑) อนิจจานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
(๒) ทุกขานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความทุกข์
(๓) อนัตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความไม่ใช่ตัวตน
(๔) นิพพิทานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย
(๕) วิราคานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด
(๖) นิโรธานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความดับ
(๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความสละคืน
(๘) ขยานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความสิ้นไป
(๙) วยานุปัสสนา การเห็นความเสื่อมไป
(๑๐) วิปริณามานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความแปรปรวน
(๑๑) อนิมิตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย
(๑๒) อัปปณิหิตานุปัสสนา การเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง
(๑๓) สุญญตานุปัสสนา การพิจารณาเป็นความว่างเปล่า
(๑๔) อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
(๑๕) ยถาภูตญาณทัสนะ ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง
(๑๖) อาทีนวานุปัสสนา การพิจารณาเห็นโทษ
(๑๗) ปฎิสังขานุปัสสนา การพิจารณาหาทาง
(๑๘) วิวัฏฏนานุปัสสนา การพิจารณาการเห็นอุบายที่จะหลีกไป
มหาวิปัสสนา
๑๘ หมายถึง การทำให้แจ้งในธรรม การแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์
การทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งที่ศึกษาอยู่ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับในสภาวธรรมนั้นๆ ซึ่งทำโยนิโสมนสิการทั้งระบบในวิปัสสนากัมมัฏฐานโดย
โสฬสญาณญาณ ๑๖ รวมอยู่ด้วย
ได้แก่
(๑) อนิจจานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความพ้นจากดวามถือมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในขันธ์
๕ หรือธรรมทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งความไม่เที่ยงนั้น อนิจจตาอนิจจลักษณะ ความที่เบญจขันธ์เหล่านั้นเกิดเสื่อมและเป็นอย่างอื่น
หรือเป็นแล้วไม่เป็น หรือแสดงในนัยที่ว่า การไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วแตกไปโดยการทำลายแห่งขณะ
ในขณะเดียวกัน การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณ
ย่อมทำให้พ้นจากความหลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้
เพราะเหตุนั้น จึงเป็น ญาณวิโมกข์ และอีกนัยหนึ่ง อนิจจานุปัสสนา ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ชวนปัญญา
[ปัญญาเร็ว] ให้บริบูรณ์
(๒) ทุกขานุปัสสนา การพิจารณาเห็นสังขารเป็นทุกข์
เห็นสภาพแห่งทุกข์ ทุกขตาทุกขลักษณะ ซึ่งมีกำลังแห่งวิปัสสนาพละ เพราะอาศัยสมาธินทรีย์
ย่อมชำแรก ย่อมทำลาย ปณิธิแห่งขันธ์
๕ ความละสุขสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วย
ทุกขานุปัสสนา ในขณะเดียวกัน การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง
ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ
ย่อมทำให้พ้นจากความหลงโดยความเป็นสุข จากความไม่รู้
เพราะเหตุนั้น จึงเป็น ญาณวิโมกข์
เพราะฉะนั้น ทุกขานุปัสสนา ย่อมยัง นิพเพธิกปัญญา [ปัญญาทำลายกิเลส] ให้บริบูรณ์
นั่นคือ อนุโลมขันติ ซึ่งเป็นการนับได้ว่าเป็นเรื่องความอดทนในสภาพแห่งทุกข์ด้วย อาการ ๔๐ ดังนี้
พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความว่า
: (๑) เป็นของไม่เที่ยง (๒) เป็นทุกข์ (๓) เป็นโรค
(๔) เป็นดังหัวฝี (๕) เป็นดังลูกศร (๖) เป็นความลำบาก (๗) เป็นอาพาธ
(๘) เป็นอย่างอื่น (๙) เป็นของชำรุด (๑๐) เป็นเสนียด (๑๑) เป็นอุบาทว์
(๑๒) เป็นภัย (๑๓) เป็นอุปสรรค (๑๔) เป็นความหวั่นไหว (๑๕) เป็นของผุพัง
(๑๖) เป็นของไม่ยั่งยืน (๑๗) เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน (๑๘) เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน
(๑๙) เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง (๒๐) เป็นของว่าง (๒๑) เป็นของเปล่า
(๒๒) เป็นของสูญ (๒๓) เป็นอนัตตา (๒๔) เป็นโทษ (๒๕) เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
(๒๖) เป็นของหาสาระมิได้ (๒๗) เป็นมูลแห่งความลำบาก (๒๘) เป็นดังเพชฌฆาต
(๒๙) เป็นความเสื่อมไป (๓๐) เป็นของมีอาสวะ (๓๑) เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง
(๓๒) เป็นเหยื่อแห่งมาร (๓๓) เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา (๓๔)
เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา (๓๕) เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา
(๓๖) เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา (๓๗) เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา
(๓๘) เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา (๓๙) เป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
(๔๐) เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่ สัมมัตตนิยาม [สัมมัตตะ ๑๐ คือ สภาวะที่ถูกต้อง สิ่งที่ถูกต้อง
ดูเพิ่มเติมในบทสรุป] เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข
ย่อมย่างลงสู่ สัมมัตตนิยาม นั่นคือ ภาวะที่ถูกต้องแน่นอนตามธรรมดา
ที่เรียกว่า กฎธรรมชาติกำหนดแห่งธรรมดา
(๓) อนัตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน โดยพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา อนัตตลักษณะ อย่างนี้ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เพราะอาศัยปัจจัย เพราะไม่อยู่ในอำนาจ
และเพราะไม่เชื่อฟัง พิจารณาเห็นความพ้นจากดวามถือมั่นโดยความเป็นตัวตน
ที่เรียกว่า อัตตาภินิเวส ซึ่งเป็น การมนสิการสภาวธรรมอันประกอบด้วยจิตมากด้วยญาณของผู้เห็น
อนัตตลักษณะอันลึกซึ้ง ซึ่งคนภายนอกไม่เห็น จิตมากด้วยความยินดีของผู้ยินดีว่า
เห็น อนัตตลักษณะ ที่โลกพร้อมทั้งเทวโลกยังไม่เห็น ที่เรียกว่า
เวทพหุลํ นั่นคือ การพิจารณาใน สุญญตธาตุ [สุญญตานุปัสสนา] คือ ที่เกิดขึ้นใน นิพพานธาตุ กล่าวคือ สุญญตา โดยความปรากฏโดย
อาการที่เป็นของสูญ เพราะจิตน้อมไปในนิพพาน ในขณะเดียวกัน
การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ
ย่อมทำให้พ้นจากความหลง [โมหะ]
โดยความเป็นตัวตนจากความไม่รู้ [อวิชชา] เพราะเหตุนั้น จึงเป็น ญาณวิโมกข์
และอีกนัยหนึ่ง อนัตตานุปัสสนา [การพิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตา] บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง มหาปัญญา ให้บริบูรณ์ เพราะการถึงความเจริญด้วยเห็น ความเป็นของสูญ เป็นการถึงความยิ่งใหญ่
นั่นคือ โลกุตตรธรรม
(๔) นิพพิทานุปัสสนา พิจารณาความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย
เปลื้องปล่อยจิต
จากความเพลิดเพลิน [นันทิ] นั่นคือ
พ้นจาก นันทิสัญญา [ความสำคัญกำหนดหมายรู้โดย
ความยินดีความติดใจเพลิดเพลินความระเริงความสนุกความชื่นมื่น] พ้นจากดวามถือมั่นโดยความเพลิดเพลิน
พ้นจาก กามุปาทาน [อุปาทาน ๑] ด้วยปัญญาเห็นธรรม
ในความปรากฏของสังขารทั้งหลาย ที่เป็นของน่ากลัว ที่เรียกว่า ภยตุปฏฺฐาเน ปญฺญา ซึ่งประกอบด้วย (๑) ภยตูปัฏฐานญาณ (ข้อ ๓ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ ปรีชาหยั่งเห็นสังขารปรากฏโดยอาการเป็นของน่ากลัว
เพราะสังขารทั้งปวงนั้น ล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
(๒) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๓ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่ามีข้อบกพร่องระคนด้วยทุกข์
และ (๓) นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๕ ในวิปัสสนาญาณ
๙) คือ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย
แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร ซึ่งญาณในวิปัสสนาทั้ง
๓ นี้ มีลักษณะในความหมายอย่างเดียวกัน และ ญาณ
๓ เหล่านี้ หมายถึง นิพพิทานุโลมญาณ
เพราะอนุโลมโดยความอนุกูลของ นิพพิทาญาณ
ในขณะเดียวกัน การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง นิพพิทานุปัสสนายถาภูตญาณ ย่อมทำให้พ้นจากความหลงโดยความเพลิดเพลิน
จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้น จึงเป็น ญาณวิโมกข์
และในอีกแง่หนึ่ง นิพพิทานุปัสสนา บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ติกขปัญญา [ปัญญาคมกล้า] ให้บริบูรณ์
(๕) วิราคานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด
สำรอกกิเลสตัณหา ความพ้นจาก ราคสัญญา ได้แก่ วิราคานุปัสสนา และ มรรค [อริยมรรค ๔] อันเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเห็นทั้งสองอย่างนั้น
ซึ่งเป็นธรรมที่ละเอียดประณีต แล้วพึงทราบว่า ผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้สองอย่าง
หายใจเข้า และ หายใจออก ย่อมศึกษาว่าเราจักพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจเข้าหายใจออก ฉะนั้น วิราคานุปัสสนาย่อมยัง วิบูลปัญญา
[ปัญญากว้างขวาง] ให้บริบูรณ์ ในขณะเดียวกัน การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง
วิราคานุปัสสนายถาภูตญาณ [วิราคานุปัสสนาญาณ] ย่อมทำให้พ้นจากความหลง
ความถือมั่น ความยึดมั่น โดยความกำหนัด กามุปาทาน [อุปาทาน ๑] จากความไม่รู้ [อวิชชา] เพราะเหตุนั้น จึงเป็น ญาณวิโมกข์
และในอีกนัยหนึ่ง วิราคานุปัสสนา บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง วิบูลปัญญา [ปัญญากว้างขวาง] ให้บริบูรณ์เช่นกัน
(๖) นิโรธานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความดับ ก็ลึกซึ้งสามารถเห็นความดับทั้งปวง ด้วยลักษณะของความเสื่อมระคนทุกข์และความแปรปรวน
ย่อมพ้นจากเครื่องหมาย นิมิต เหตุปัจจัย หรือที่ตั้งโดย ความเป็นเหตุเกิด จิตไม่หวั่นไหวในสมุทัย สลัดออกไปจาก สมุทัยทุกขสมุทัย อันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ พ้นจากความหลงโดยเป็นเหตุให้เกิด
จากความไม่รู้ อวิชชา คือ ดับกิเลสทั้งหลายได้ด้วย นิโรธานุปัสสนา และ ผล [อริยผล ๔] ซึ่งเป็นธรรมที่ละเอียดประณีต ในขณะเดียวกัน
การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง นิโรธานุปัสสนายถาภูตญาณ ย่อมทำให้พ้นจากความหลงโดยเป็นเหตุให้เกิด จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็น
ญาณวิโมกข์ ฉะนั้น นิโรธานุปัสสนา บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง คัมภีรปัญญา [ปัญญาลึกซึ้ง] ให้บริบูรณ์
(๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา พิจารณาความถือมั่นตั้งไว้โดยความถือผิดยึดมั่น
จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปใน อวิชชา ในกิเลสอันสหรคต
[รวมกับ] ด้วย อวิชชา และในขันธ์ หรือพิจารณาเห็นความสละคืน
ซึ่งประกอบด้วย ๒ อย่าง คือ สละคืนเพราะบริจาค
และสละคืนเพราะการแล่นไป ซึ่งเป็นชื่อของ วิปัสสนามรรค เพราะวิปัสสนาย่อมสละกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วย
ขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถแห่งตทังคะ [ดับกิเลสด้วยธรรมที่ตรงข้าม] ย่อมแล่นไปเพราะเห็น โทษแห่งสังขตธรรม และเพราะน้อมไปในนิพพานอันตรงกันข้ามกับโทษแห่งสังขตธรรมนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สละคืนเพราะบริจาค และสละคืนเพราะแล่นไป
มรรคย่อมสละกิเลสทั้งหลายพร้อม ขันธาภิสังขาร [อุปาทานขันธ์
๕] ด้วยอำนาจแห่งการตัดขาด ย่อมแล่นไปในนิพพานด้วยการทำให้เป็นอารมณ์
เพราะเหตุนั้น คือ สละคืนเพราะบริจาค สละคืนเพราะแล่นไป
ดัง ผู้ประกอบด้วย ปฏินิสสัคคานุปัสสนา [พิจารณาเห็นความสละคืน]
แม้สองอย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกย่อมศึกษาว่า
ก็จักเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า หายใจออก ในขณะเดียวกัน
การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง ปฏินิสสัคคานุปัสสนายถาภูตญาณ ย่อมทำให้พ้นจากความหลงโดยความถือมั่น จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็น
ญาณวิโมกข์ ฉะนั้น ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
อัสสามันตปัญญา [ปัญญาไม่ใกล้] ให้บริบูรณ์
(๘) ขยานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความสิ้นไป ได้แก่ การเห็นและการรู้ ความดับแห่งรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจุบันธรรมที่เกิดขณะนั้น
และการเห็นและการรู้ ความดับแห่งจิตและเจตสิกอันมีขันธ์เป็นอารมณ์ในลำดับ
ความดับแห่งขันธ์นั้นๆ ซึ่งในความเป็นจริง ก็คือ ความดับแห่งกิเลส [ขันธ์ ๕ ที่มีกรรมครอบครอง มีวิบาก ประกอบด้วยสังสารทุกข์]
(๙) วยานุปัสสนา การเห็นความเสื่อมไป ได้แก่ การเห็นการรู้ความดับแห่งขันธ์ในอดีตอนาคตอันสืบเนื่องกันไปกับขันธ์นั้น
ในลำดับแห่งการเห็นและการรู้ความดับแห่งขันธ์ในปัจจุบัน กล่าวคือ
เห็นอนิจจังที่เกิดในกาลทั้ง ๓ ซึ่งระคนด้วยทุกข์ หรือ สังสารทุกข์
(๑๐) วิปริณามานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความแปรปรวน
แห่งขันธ์ทั้งปวงว่า ขันธ์ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน นั่นคือ
ในกาลทั้ง ๓ [อัทธา ๓] แม้ทั้งหมดมีความแปรปรวน เพราะน้อมไปใน นิโรธ อันได้แก่ ความดับนั้น กล่าวคือ เห็นไตรลักษณ์ ซึ่งเป็น สามัญลักษณะ ในขันธ์ทั้งหลายแห่ง สังขารธรรม
หรือ สังขตธรรม ซึ่งระคนด้วยทุกข์ [ทุกขตา] อันเกิดจากความไม่รู้แห่ง อวิชชา และ กิเลสตัณหา ตามหลัก
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
(๑๑) อนิมิตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย
ได้แก่ อนิจจานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง [อนิจจังอนิจจตาอนิจจลักษณะ] ของผู้เห็นความแปรปรวนของสังขารทั้งปวงอย่างนี้แล้ว
ฉะนั้น การพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่า อนิมิตฺตานุปสฺสนา เพราะไม่มีเครื่องหมายอันเป็นความเที่ยง ด้วยการละเครื่องหมายอันเป็นความเที่ยงเสียได้
และในขณะเดียวกัน การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง อนิมิตตานุปัสสนายถาภูตญาณ ย่อมทำให้พ้นจากความหลงโดยความเป็นนิมิตว่าเป็นของเที่ยง ยั่งยืนถาวร ไม่แตกสะลาย
จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้น จึงเป็น ญาณวิโมกข์
(๑๒) อัปปณิหิตานุปัสสนา การเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง
ได้แก่ การพิจารณาเห็นทุกข์ [ทุกขังทุกขตาทุกขลักษณะ] อันเป็นไปในลำดับแห่ง อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า อปฺปณิหิตานุปสฺสนา เพราะไม่มีที่ตั้ง ไม่ใช่สรณะที่พึ่ง ไม่ใช่ที่อาศัยแห่งจิต ด้วยการละความปรารถนาสุข
และในขณะเดียวกัน การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ ย่อมทำให้พ้นจากความหลงโดยความเป็นที่ตั้งจาก
ความไม่รู้ อวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงเป็น ญาณวิโมกข์
(๑๓) สุญญตานุปัสสนา การพิจารณาเป็นความว่างเปล่า
ความไม่มีแก่นสาร ความไม่ใช่ตน ความไม่ใช่เรา ได้แก่
การพิจารณาเป็น อนัตตาอนัตตตาอนัตตลักษณะ อันเป็นไปในลำดับ
ทุกขานุปัสนา ชื่อว่า สุญฺญตานุปสฺสนา เพราะเห็นความเป็นของว่างเปล่าจากตน ด้วยการละความยึดมั่นตัวตน ด้วยการถอน
อัตตาภินิเวส และในขณะเดียวกัน การเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึง
สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณ ย่อมทำให้พ้นจากความหลงโดย ความยึดมั่น [อุปาทานอุปาทิ] จากความไม่รู้
[อวิชชา] เพราะเหตุนั้น
จึงเป็น ญาณวิโมกข์
(๑๔) อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ได้แก่ วิปัสสนาเป็นไปเพราะถือความว่างเปล่าด้วยการดับว่า สังขารที่เห็นแล้วๆ
เล่าๆ ซึ่งความดับของสังขารอย่างนี้ แล้วพิจารณาเห็นโดย ความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ย่อมดับไป ด้วยเห็นถึงสภาวะแห่ง
อนัตตาอนัตตตาอนัตตลักษณะ นอกจากความดับของสังขาร ย่อมไม่มีอะไรอื่น เป็นความว่าง เป็นสุญญตา ไม่มีตัวตน
ฉะนั้น การเจริญวิปัสสนาด้วย อธิปญฺญาธมฺมวิปสฺสนา นั้น ทำให้ได้ข้อสรุปว่า อธิปญฺญา จ ธมฺเมสุ
จ วิปสฺสน หมายถึง อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมทั้งหลาย
เพื่อที่จะดับกิเลสและทุกข์ทั้งปวง
(๑๕) ยถาภูตญาณทัสนะ ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง เพราะหมดสิ้นข้อสงสัย [เห็นสมุทัยสัจจ์] ซึ่งทำให้เกิด ยถาภูตญาณธรรมฐิติญาณสัมมาทัสสนะ [ปรีชาหยั่งรู้สรรพสิ่งตามที่เป็นจริงความตั้งแน่นอนแห่งกำหนดธรรมดาความปลูกฝังในสัมมาทิฏฐิ] ในขณะเจริญธรรม วิสุทธิ ๗ ในข้อ ๔ นั่นคือ กังขาวิตรณวิสุทธิ ได้แก่
ภยตูปัฏฐานญาณ
(ข้อ ๓ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ
ปรีชาญาณอันคำนึงเห็นโทษของสังขารทั้งหลาย นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๕ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ ปรีชาญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
อันเป็นไปแล้วว่า สภยา
สงฺขารา หมายถึง สังขารทั้งหลายน่ากลัว
เพราะเห็นความดับแล้วๆ เล่าๆ อยู่เรื่อยไป ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหรือ อุปนิสสยปัจจัย ที่เกื้อกูลให้เกิด มุญจิตุกัมยตาญาณ (ข้อ ๖ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ
ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสียจากสังขารทั้งหลาย
(๑๖) อาทีนวานุปัสสนา การพิจารณาเห็นโทษ ได้แก่ การเห็นการรู้โทษ ด้วย ภยตูปัฏฐานญาณ อันเกิดขึ้นแล้วในภพทั้งปวง เป็นต้น เมื่อกล่าวถึง อาทีนวานุปสฺสนา (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
เป็นอันกล่าวถึง นิพพิทานุปัสนา หมายถึง การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย เพราะบาลีว่าธรรมเหล่านี้
คือ ภยตูปัฏฐานญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณ มีอรรถความหมายอย่างเดียวกัน เพียงแต่มีพยัญชนะเท่านั้นต่างกัน
(๑๗) ปฎิสังขานุปัสสนา การพิจารณาหาทาง ได้แก่ อนิจจานุปัสนาญาณทุกขานุปัสนาญาณอนัตตานุปัสนาญาณ [ปัญญาเห็นไตรลักษณ์ปัญญาตรัสรู้] เกิดขึ้นด้วย มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ข้อ ๖ ในวิปัสสนาญาณ ๙) หมายถึง ปรีชาคำนึงถึงด้วยความใคร่จะพ้นไปเสีย
กระทำอุบายเพื่อพ้น กำหนดรู้ด้วย ปฏิสังขานุปัสนา
(ข้อ ๗ ในวิปัสสนาญาณ ๙) ฉะนั้น เมื่อกล่าวถึง
ปฏิสังขานุปัสนา เป็นอันกล่าวถึง มุญจิตุกัมยตาญาณ และ สังขารุเบกขาญาณ (ข้อ ๘ ในวิปัสสนาญาณ ๙) หมายถึง
ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยในสังขารเพราะรู้เห็นด้วยปัญญาในวิปัสสนา
อย่างไรก็ตาม ธรรมเหล่านี้ ได้แก่ มุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขานุปัสนาญานสังขารุเบกขาญาณ มีอรรถความหมายอย่างเดียวกัน
(๑๘) วิวัฏฏนานุปัสสนา การพิจารณาการเห็นอุบายที่จะหลีกไป ได้แก่ โคตรภูญาณ (ข้อ
๑๓ ในโสฬสญาณญาณ ๑๖) หมายถึง ญาณซึ่งเป็นลำดับแห่งอริยมรรค
เกิดขึ้นด้วย สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙) หมายถึง ญาณอันสมควรแก่การกำหนดหยั่งรู้อริยสัจจ์
คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว
ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ
ต่อจากนั้น ก็จะเกิด โคตรภูญาณ มาคั่นกลาง แล้วเกิด มรรคญาณมัคคญาณมรรค ๔ ให้สำเร็จ ความเป็นอริยบุคคล ต่อไป ฉะนั้น เมื่อกล่าวถึง โคตรภูญาณ เป็นอันกล่าวถึง สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ ด้วย เพราะ โคตรภูญาณ สำเร็จด้วย สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ เพื่อเป็นบาทฐานแห่งอริยมรรค ๔อริยผล ๔และนิพพาน ๑ ที่เรียกว่า
โลกุตตรธรรม ๙ ซึ่งเป็น มหาปัญญา
แห่งพระพุทธศาสนา
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ให้พิจารณาถึงรายละเอียดของ
โสฬสญาณญาณ ๑๖ อีกครั้งหนึ่ง
รวมทั้งความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับ โลกุตตรญาณ
๙ [มัคคญาณผลญาณ] ได้แก่ มัคคญาณ ๔ผลญาณ ๔นิพพาน ๑ ดังนี้
โสฬสญาณญาณ ๑๖ หมายถึง
ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ
ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด ให้พิจารณาถึง วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ได้แก่
(๑) นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม
และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม ซึ่งทำให้เห็น
ขันธ์ ๕ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์สงสารทุกข์ ให้ดูภาคผนวกเบญจขันธ์] ทั้งหมด = ขันธ์ ๕อายตนะ
๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์
๒๒
(๒) ปัจจยปริคคหญาณ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย
และเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนว ปฏิจจสมุปบาท
ก็ดี ตามแนว กฎแห่งกรรม
ก็ดี ตามแนว วัฏฏะ ๓
ก็ดี เป็นต้น ซึ่งทำให้เห็น ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ และ ปฏิจจสมุปปันนธรรม [ภวจักร] ทั้งหมด = ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
(๓) สัมมสนญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน ซึ่งทำให้เห็น ไตรลักษณ์ ทั้งหมด = สามัญลักษณะ
๓
(๔) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ
พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไปล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด
[จากข้อ ๔๑๒
= วิปัสสนาญาณ ๙] = ปัญญาเห็นธรรม [ไตรลักษณ์ กับ กิจในอริยสัจจ์
๔ ได้แก่ ปริญญาปหานะสัจจิกิริยาภาวนา]
(๕) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้วคำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น
ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด = อนัตตตา
(๖) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้วสังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด
ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัวเพราะล้วนแต่จะต้องสลายไปไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
= อนิจจตา
(๗) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป
เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษเป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง
จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์ = ทุกขตา
(๘) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว
ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ = วิราคะ
(๙) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว
ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น = นิโรธะ
(๑๐) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
= มรรค [ปหานะ]
(๑๑) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง
ว่ามีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้
ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้น มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท
ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้
= อุเบกขา [ตัตรมัชฌัตตุเปกขา อุเบกขาในความเป็นกลางในธรรมนั้นๆ]
(๑๒) สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว
ญาณอันคล้อยต่อ การตรัสรู้อริยสัจจ์ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของ วิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิด โคตรภูญาณ มาคั่นกลาง แล้วเกิด มรรคญาณ [มัคคญาณ] ให้สำเร็จความเป็น
อริยบุคคล ต่อไป = อริยสัจจ์ ๔
(๑๓) โคตรภูญาณ
ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจาก
ภาวะปุถุชน เข้าสู่ ภาวะอริยบุคคล = ญาณคั่นระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ
(๑๔) มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จ ภาวะอริยบุคคล แต่ละขั้น ซึ่งทำให้เห็น อริยสัจจ์ ๔ ทั้งหมด = โลกุตตรมรรค
[มรรค ๔มัคสมังคีมัคคญาณแห่งมรรค
๘]
(๑๕) ผลญาณ ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ
= โลกุตตรผล [ผล ๔ผลสมังคีผลญาณแห่งมรรค
๘]
(๑๖) ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรคผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่
ซึ่งสุดท้ายทำให้เกิด อาสวักขยญาณ = ปัญญาตรัสรู้ [สัมโพธะนิพพาน ๒]
เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ประการแรก
คือ (๑) วิปัสสนาญาณ
๙ ซึ่งอยู่ในลำดับข้อ ๔๑๒
ซึ่งจะมีส่วนสัมพันธ์อย่างสอดคล้องกันกับ อนุปัสสนา
๗ และ มหาวิปัสสนา ๑๘ ที่เรียกว่า กระบวนการทุบขันธ์ ๕ขันธวินิมุตวุฏฐานคามินีปฏิปทา [ข้อปฏิบัติอันยิ่งในการดับความยึดมั่นในสังขารธรรมเพื่อให้เข้าถึงอริยมรรคให้ได้] คือ สภาวะที่ปราศจากขันธ์หรืออุปาทานขันธ์ ได้แก่
(๑) อุทยัพพยญาณ
ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป (๒) ภังคญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา (๓) ภยญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
(๔) อาทีนวญาณ
ญาณคำนึงเห็นโทษ (๕) นิพพิทาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย (๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
(๗) ปฏิสังขาญาณ
ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง (๘) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร (๙) อนุโลมญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่กำลังเจริญภาวนาหรือบำเพ็ญเพียรตบะ
[เผาผลาญกิเลสราคะ] นั้น ฉะนั้น เวลานึกถึงการระงับปลดเปลื้องออกจากกิเลสทั้งหลาย
สิ่งที่เศร้าหมองทำให้จิตขุ่นมัวไม่ผุดผ่องหมดจดไม่สะอาดไม่เปิดรับกุศลความดี
นั้น สิ่งที่ผู้เจริญภาวนาควรระลึกรู้ตัวเพื่อเข้าใจแนวทางปฏิบัติในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ที่เรียกว่า สัญญา ๑๐
ซึ่งสัมปยุตต์กับ วิปัสสนาญาณ ๙อนุปัสสนา
๗มหาวิปัสสนา ๑๘ ดังนี้
สัญญา ๑๐ หมายถึง ความกำหนดหมาย สิ่งที่ควรกำหนดหมายไว้ในใจหรือแนวความคิดความเข้าใจ
สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกรรมฐาน ได้แก่
(๑) อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร
(๒)อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง
(๓) อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย
(๔) อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือ มีอาพาธต่างๆ
(๕) ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม
(๖) วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ
คือ อริยมรรค ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต
(๗) นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธ คือ อริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต
(๘) สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
(๙) สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง
(๑๐) อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
และ ประการหลัง คือ (๒) โลกุตตรธรรม ๙ คือ ปัญญาตรัสรู้สัมโพธิญาณ ได้แก่ (๑) มรรค ๔มัคคญาณ (๒) ผล ๔ผลญาณ (๓) นิพพาน ๑ (นิพพาน ๒) ปัจจเวกขณญาณญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓อาการ ๑๒ รวมถึง นิโรธ ๕ ซึ่งอยู่ในลำดับข้อ
๑๔๑๖ ของโสฬสญาณญาณ
๑๖ ผู้ที่บรรลุถึง มรรค ๔ผล
๔ เรียกว่า อริยบุคคล ๘ นั่นคือ มรรคสมังคี ๔ [ผู้พร้อมด้วยองค์มรรค ๘จริยา
๘] และ ผลสมังคี
๔ [ผู้พร้อมด้วยผล] ในพิจารณา
โคตรภูญาณ ก่อน ที่จะเชื่อมต่อกับ มรรค ๔ผล ๔ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร ซึ่งยังเป็น
โลกียญาณ
ที่คั่นระหว่าง วิปัสสนาญาณ ๙
กับ โลกุตตรญาณ ๒
คือ (๑) มรรคญาณ ๔ กับ (๒) ผลญาณ ๔ ดังนี้
หลังจากเจริญวิปัสสนาญาณ ๙ แล้วนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมโยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียร จะก้าวสู่ โคตรภู ที่ประกอบด้วยปัญญา ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจาก ภาวะปุถุชน เข้าสู่ ภาวะอริยบุคคล คือ ภูมิแห่งโลกุตตระโลกุตตรภูมิ ได้แก่ อริยมรรคอริยผล [อริยบุคคล ๔ = โสดาบันสกทาคามีอนาคามีอรหันต์] ที่เรียกว่า โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร
ดังเช่นในคำว่า พหิทฺธา วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน
ปญฺญา โคตฺรภูญาณํ แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็นโคตรภูญาณ คำว่า พหิทฺธา หมายถึง
สังขารนิมิตภายนอก
เพราะ (๑) อาศัยกุศลขันธ์อันเป็นไปแล้วในสันดานของตน กับ (๒) อาศัยอกุศลขันธ์ในจิตสันดานในภายใน
เพราะฉะนั้น โคตรภูญาณนั้น ย่อมออกจาก คือ ตั้งอยู่ในเบื้องบนปราศจาก
สังขารนิมิตภายนอก จึงชื่อว่า วุฏฐานะ
คือ ย่อมหลีกออก และ ย่อมหมุนกลับหันหลังให้ คือ
วิวัฏฏนะ รวมเรียกว่า วุฏฐานวิวัฏฏนะ อย่างไรก็ตาม โคตรภูญาณ ยังไม่ออกจาก ปวัตตขันธ์ [ความเป็นไปแห่งขันธ์] เพราะตัดสมุทัยยังไม่ขาด [สังสารจักร] แต่ออกจากนิมิต [เครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย]
ได้ เพราะมี พระนิพพานเป็นอารมณ์ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เอกโตวุฏฐานะ คือ ออกจาก สังขารนิมิต โดยส่วนเดียว ดังนี้ นอกจากนี้ ที่เรียกว่า
โคตรภู
ได้แก่ (๑) เพราะครอบงำเสียได้ซึ่งโคตรปุถุชน และ
(๒) เพราะก้าวขึ้นสู่โคตรอริยะ อีกนัยหนึ่ง เพราะ
โคตรภูญาณ นี้กระทำพระนิพพาน ชื่อว่า อนิมิตตะ คือ ไม่มีนิมิตให้เป็นอารมณ์ในที่สุดแห่งอาเสวนะแห่งอนุโลมญาณของจิตที่เหนื่อยหน่ายจากสังขารทั้งปวงดุจน้ำตกจากใบบัว
ก้าวล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน ซึ่งอันนับว่าปุถุชน ซึ่งภูมิแห่งปุถุชน
หยั่งลงสู่โคตรแห่งอริยะ อันนับว่าอริยะ เป็นภูมิแห่งอริยะ
ยังความเป็นปัจจัยให้สำเร็จแก่มรรคด้วยอำนาจ ปัจจัย
๖ [วิเคราะห์วินิจฉัยตาม ปัจจัย
๒๔] ได้แก่ (๑) สมนันตรปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที (๒) อนันตรปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องไม่มีช่องระหว่าง
(๓) อุปนิสสยปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นเครื่องหนุนหรือกระตุ้นเร้า (๔) อาเสวนปัจจัย ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน
(๕) นัตถิปัจจัย
ปัจจัยโดย [ต้อง] ไม่มีอยู่ (๖) วิคตปัจจัย ปัจจัยโดย [ต้อง] ปราศไป อันเป็นไปในครั้งแรกความเสพในครั้งแรก
อันประชุมพร้อมกันในครั้งแรกในอารมณ์ คือ นิพพาน
[บรมธรรม] ถึงยอดเป็นศีรษะวิปัสสนา ย่อมเกิดขึ้นกระทำให้เป็นภาพที่ให้หมุนกลับอีกไม่ได้
อริยมรรค ๔มัคคญาณ
๔ (ข้อ ๑๕ ในโสฬสญาณญาณ
๑๖ = มรรค ๔) หมายถึง ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล
ญาณที่ทำให้ละ สังโยชน์ ๑๐ ได้ขาดโดยตรงด้วยอธิปัญญาแห่งวิปัสสนาภูมิ
ประกอบด้วยอำนาจแห่งฌานสมาธิ [จตุตถฌาน] ที่กำหนดบุคคลผู้ปฏิบัติอริยมรรคเป็นอริยะ
(ดูเปรียบเทียบกับ ฌานวิโมกข์ และ วิโมกข์ ๘ ในบทที่
๓) ดังรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไปนี้
(๑)
โสดาปัตติมรรค คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก [อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ ญาณคือทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรค
๘] มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้
๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส
(๒)สกทาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี
เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำ ราคะโทสะโมหะ [อกุศลมูล ๓] นั่นคือ ติดโกรธหลง ให้เบาบางลง
(๓)
อนาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง
๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะ
(๔)
อรหัตตมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ได้แก่
สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส
ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
ย่อมเกิด ญาณแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ [อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ = ปัญญาหยั่งรู้ขององค์มรรคทั้ง
๘ ที่ทำให้ลุถึง มัคคสมังคี ผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค] ดังนี้
(๑) ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ย่อมเห็นสัมมาทิฏฐิ เพราะออกจากมิจฉาทิฏฐิ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากกิเลสขันธ์ทั้งหลาย
คือ อรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน
และวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น
ปัญญาใน การออกไปและหลีกไป [วุฏฐานวิวัฏฏนะ] จาก กิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอก [กุศลอกุศล] ทั้งสอง [คำว่า นิมิต คือ เครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย หรือตั้งขึ้นด้วยอาการของนิมิตแห่งกุศลและอกุศล]
เป็น มรรคญาณ
(๒) ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ย่อมเห็นสัมมาสังกัปปะ เพราะออกจากมิจฉาสังกัปปะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๓) ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา ย่อมเห็นสัมมาวาจา เพราะออกจากมิจฉาวาจา
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ
(๔) ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ย่อมเห็นสัมมากัมมันตะ เพราะออกจากมิจฉากัมมันตะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะ นั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๕) ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ
ย่อมเห็นสัมมาอาชีวะ เพราะออกจากมิจฉาอาชีวะ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๖) ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ ย่อมเห็นสัมมาวายามะ เพราะออกจากมิจฉาวายามะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ
(๗) ญาณชื่อว่าสัมมาสติ ย่อมเห็นสัมมาสติ เพราะออกจากมิจฉาสติ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสติ
นั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๘) ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ ย่อมเห็นสัมมาสมาธิ เพราะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไป และหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส
ข้อสังเกต: ไม่ว่าจะเป็นการเจริญฌานในสมถภาวนา [ฌาน ๔รูปฌาน ๔] หรือการเจริญญาณในวิปัสสนาภาวนา
[มรรค ๔ผล ๔] ก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องเจริญมัคคังคะหรือองค์มรรคทั้ง
๘ ประการ ให้ครบในแต่ละขั้นตอน ซึ่งทั้ง สมถธรรม
และ วิปัสสนาธรรม ต่างก็เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสทั้งหลาย
[วีติกกมกิเลสปริยุฏฐานกิเลสอนุสยกิเลส]
ที่เรียกว่า (๑) สัลเลขธรรม
[ฌานวิปัสสนา] ที่ต้องสอดคล้องไปในทางเดียวกันกับ
(๒) อริยมรรค [ไตรสิกขา = ศีลสมาธิปัญญา] และ (๓) อริยธรรม [อริยศีลอริยสมาธิอริยปัญญาอริยวิมุตติ] ซึ่งทั้งหมดจะเป็น
ปัญญาเห็นธรรม [ปัญญาญาณ] และ ปัญญาตรัสรู้ คือ การบรรลุถึงความตรัสรู้สัมโพธิญาณ
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น
มรรคญาณ ย่อมเกิด ญาณแห่งอริยมรรคมีองค์
๘ [มัคคสมังคี] ดังนี้
(๑) ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ย่อมเห็นสัมมาทิฏฐิ เพราะออกจากมิจฉาทิฏฐิ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากกิเลสขันธ์ทั้งหลาย
คือ อรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน
และวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น
ปัญญาใน การออกไปและหลีกไป [วุฏฐานวิวัฏฏนะ] จากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอก [กุศลอกุศล] ทั้งสอง [คำว่า นิมิต คือ เครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย หรือตั้งขึ้นด้วยอาการของนิมิตแห่งกุศลและอกุศล]
เป็น มรรคญาณ
(๒) ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ย่อมเห็นสัมมาสังกัปปะ เพราะออกจากมิจฉาสังกัปปะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๓) ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา ย่อมเห็นสัมมาวาจา เพราะออกจากมิจฉาวาจา
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ
(๔) ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ย่อมเห็นสัมมากัมมันตะ เพราะออกจากมิจฉากัมมันตะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะ นั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๕) ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ
ย่อมเห็นสัมมาอาชีวะ เพราะออกจากมิจฉาอาชีวะ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๖) ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ ย่อมเห็นสัมมาวายามะ เพราะออกจากมิจฉาวายามะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ
(๗) ญาณชื่อว่าสัมมาสติ ย่อมเห็นสัมมาสติ เพราะออกจากมิจฉาสติ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสติ
นั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๘) ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ
ย่อมเห็นสัมมาสมาธิ
เพราะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส
ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้
๓ ข้อต้น กับทำ ราคะโทสะโมหะ [อกุศลมูล ๓] นั่นคือ ติดโกรธหลง ให้เบาบางลง
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ ย่อมเกิด ญาณแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ [มัคคสมังคี] ดังนี้
(๑) ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ย่อมเห็นสัมมาทิฏฐิ เพราะออกจากมิจฉาทิฏฐิ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากกิเลสขันธ์ทั้งหลาย
คือ อรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน
และวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น
ปัญญาใน การออกไปและหลีกไป [วุฏฐานวิวัฏฏนะ]
จาก กิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอก [กุศลอกุศล] ทั้งสอง [คำว่า นิมิต คือ เครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย หรือตั้งขึ้นด้วยอาการของนิมิตแห่งกุศลและอกุศล]
เป็น มรรคญาณ
(๒) ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ย่อมเห็นสัมมาสังกัปปะ เพราะออกจากมิจฉาสังกัปปะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๓) ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา ย่อมเห็นสัมมาวาจา เพราะออกจากมิจฉาวาจา
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ
(๔) ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ย่อมเห็นสัมมากัมมันตะ เพราะออกจากมิจฉากัมมันตะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะ นั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๕) ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ
ย่อมเห็นสัมมาอาชีวะ เพราะออกจากมิจฉาอาชีวะ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๖) ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ ย่อมเห็นสัมมาวายามะ เพราะออกจากมิจฉาวายามะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ
(๗) ญาณชื่อว่าสัมมาสติ
ย่อมเห็นสัมมาสติ เพราะออกจากมิจฉาสติ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสติ
นั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๘) ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ
ย่อมเห็นสัมมาสมาธิ
เพราะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส
ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะ
ในขณะแห่งอรหัตมรรค ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส
ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
ย่อมเกิด ญาณแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ [มัคคสมังคี] ดังนี้
(๑) ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ย่อมเห็นสัมมาทิฏฐิ เพราะออกจากมิจฉาทิฏฐิ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากกิเลสขันธ์ทั้งหลาย
คือ อรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน
และวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น
ปัญญาใน การออกไปและหลีกไป [วุฏฐานวิวัฏฏนะ] จากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอก [กุศลอกุศล] ทั้งสอง [คำว่า นิมิต คือ เครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย หรือตั้งขึ้นด้วยอาการของนิมิตแห่งกุศลและอกุศล]
เป็น มรรคญาณ
(๒) ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ย่อมเห็นสัมมาสังกัปปะ เพราะออกจากมิจฉาสังกัปปะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๓) ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา ย่อมเห็นสัมมาวาจา เพราะออกจากมิจฉาวาจา
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ
(๔) ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ย่อมเห็นสัมมากัมมันตะ เพราะออกจากมิจฉากัมมันตะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะ นั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๕) ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ
ย่อมเห็นสัมมาอาชีวะ เพราะออกจากมิจฉาอาชีวะ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๖) ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ ย่อมเห็นสัมมาวายามะ เพราะออกจากมิจฉาวายามะ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ
(๗) ญาณชื่อว่าสัมมาสติ ย่อมเห็นสัมมาสติ เพราะออกจากมิจฉาสติ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสติ
นั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ
(๘) ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ
ย่อมเห็นสัมมาสมาธิ เพราะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ
อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย
ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก
[สังโยชน์ ๑๐] เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา
เพราะฉะนั้น
อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผากิเลสสังโยชน์ที่ยังไม่เกิด ด้วย โลกุตตรฌาน ที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น โลกุตตรฌาน ว่าเป็น ฌานบุคคล นั้น
ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะ ทิฏฐิ [มิจฉาทิฏฐิ] ต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดใน
ฌาน และ วิโมกข์ ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้งฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น สมถะและวิปัสสนา ได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ความเห็นว่า
(๑) สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ กับ (๒) นิโรธ เป็นสุข
เพราะเป็น ปัญญา ที่ออกจากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้อง เพื่อบรรลุถึง อมตบทนิพพานบท ผู้ปฏิบัติธรรมผู้ฉลาดในความเป็นต่างกัน
[Heterogeneity] และความเป็นอันเดียวกัน
[Homogeneity] แห่งวิโมกข์เหล่านั้น ย่อมรู้แจ้งถึง
วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง
ฉะนั้น คำว่า ญาณ หมายถึง รู้ธรรมนั้นๆ คำว่า ปัญญา เพราะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ปัญญาในการออกไปและหลีกไป [วุฏฐานวิวัฏฏนะ = ฌานวิโมกข์สมาบัติวิโมกข์ญาณวิโมกข์] จากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็น มรรคญาณ
อริยผล ๔ผลญาณ ๔ (ข้อ ๑๕ ในโสฬสญาณญาณ ๑๖ = ผล ๔) หมายถึง ญาณในอริยผลแห่ง นิโรธ อันเป็นธรรมที่ละเอียดประณีต ซึ่งมีนัยถึง
ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น นั่นคือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลในชั้นนั้นๆ ผล ๔ผลญาณ เป็นองค์ความรู้ระดับ
ภาวนามยปัญญา ที่เกิดขึ้นควบกับ มัคคญาณ ในแต่ละขั้น ทำให้เกิด สามัญญผล คือ ผลของความเป็นสมณะ ผลแห่งการบำเพ็ญ สมณธรรม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละ กิเลสสังโยชน์ ได้ด้วย มรรค ๔อริยมรรค ๔ และเป็น
ธรรมารมณ์
อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อ กิเลสสังโยชน์ สิ้นไปด้วยพลังอำนาจแห่ง มรรค ๔อริยมรรค ๔ นั้นๆ ผู้ที่บรรลุอริยผลทั้ง ๔ เรียกว่า
อริยบุคคล ๔
ได้แก่ (๑) โสดาบันผู้ถึงกระแส คือ ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว (๒) สกทาคามีผู้กลับมาอีกครั้งเดียว คือ ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว
(๓) อนาคามีผู้ไม่เวียนกลับมาอีก คือ ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว
(๔) อรหันต์ผู้ควรผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว คือ ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว (ดูเปรียบเทียบกับ
ฌานวิโมกข์
และ วิโมกข์ ๘ ในบทที่ ๓) ดังรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไปนี้
(๑)
โสดาปัตติผล
คือ ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย
หลังจากได้บรรลุซึ่ง โสดาปัตติมรรค
คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน
เป็นผลของเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส
(๒)สกทาคามิผล คือ ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย หลังจากได้บรรลุซึ่ง
สกทาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นผลของเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น
กับทำ ราคะโทสะโมหะ [อกุศลมูล ๓] นั่นคือ ติดโกรธหลง ให้เบาบางลง
(๓)
อนาคามิผล
คือ ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย หลังจากได้บรรลุซึ่ง
อนาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี
เป็นผลของเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะ
(๔)
อรหัตตผล
คือ ผลคือความเป็นพระอรหันต์ ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย
หลังจากได้บรรลุซึ่ง อรหัตตมรรค
คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นผลของเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง
๑๐ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ปัญญาในการระงับปโยคะ คือ การสิ้นสุดการประกอบอย่างแรงกล้าแห่งกิจในมรรคทั้ง
๔ เรียกว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิ เป็น ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผลจิตนั้น
[ชื่อว่า ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปญฺญา ผเล ญาณํ แปลว่า ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ] ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่งๆ ผลจิตอันเป็นวิบากแห่งมรรคจิตนั้นๆ ย่อมเกิด
ญาณแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ผลของมรรค [ผลสมังคี] อันเป็นผลของเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส ดังนี้
(๑) ญาณชื่อสัมมาทิฏฐิ ย่อมเห็นการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับ ปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น
เป็น ผลของมรรค
(๒) ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ย่อมดำริออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๓) ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา ย่อมกำหนดการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวาจากนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๔) ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ย่อมกำหนดเป็นสมุฏฐานของการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๕) ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ย่อมขาวผ่องของการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๖) ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ ย่อมประคองไว้ให้ออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๗) ญาณชื่อว่าสัมมาสติ ย่อมตั้งมั่นให้ออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาสตินั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสติย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับ ปโยคะที่ออกนั้น
การระงับปโยคะนั้น เป็น ผลของมรรค
(๘) ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ ย่อมไม่ฟุ้งซ่านให้ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้นเป็น
ผลของมรรค
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ปัญญาในการระงับปโยคะ คือ การสิ้นสุดการประกอบอย่างแรงกล้าแห่งกิจในมรรคทั้ง
๔ เรียกว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิ
เป็น ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา
ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผลจิตนั้น [ชื่อว่า
ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปญฺญา ผเล ญาณํ แปลว่า ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ] ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่งๆ ผลจิตอันเป็นวิบากแห่งมรรคจิตนั้นๆ ย่อมเกิด
ญาณแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ผลของมรรค [ผลสมังคี] อัน เป็นผลของเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำ ราคะโทสะโมหะ [อกุศลมูล ๓] นั่นคือ ติดโกรธหลง ให้เบาบางลง ดังนี้
(๑) ญาณชื่อสัมมาทิฏฐิ ย่อมเห็นการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับ ปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น
เป็น ผลของมรรค
(๒) ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ย่อมดำริออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๓) ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา ย่อมกำหนดการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับ ปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น
เป็น ผลของมรรค
(๔) ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ย่อมกำหนดเป็นสมุฏฐานของการออกเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามจากมิจฉากัมมันตะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๕) ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ย่อมขาวผ่องของการออกเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามจากมิจฉาอาชีวะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๖) ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ ย่อมประคองไว้ให้ออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๗) ญาณชื่อว่าสัมมาสติ ย่อมตั้งมั่นให้ออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาสตินั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสติย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับ ปโยคะที่ออกนั้น
การระงับปโยคะนั้น เป็น ผลของมรรค
(๘) ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ ย่อมไม่ฟุ้งซ่านออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากาสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ปัญญาในการระงับปโยคะ คือ การสิ้นสุดการประกอบอย่างแรงกล้าแห่งกิจในมรรคทั้ง
๔ เรียกว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิ เป็น ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผลจิตนั้น
[ชื่อว่า ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปญฺญา ผเล ญาณํ แปลว่า ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ] ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่งๆ ผลจิตอันเป็นวิบากแห่งมรรคจิตนั้นๆ ย่อมเกิด
ญาณแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ผลของมรรค [ผลสมังคี] อันเป็นผลของเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะ ดังนี้
(๑) ญาณชื่อสัมมาทิฏฐิ ย่อมเห็นการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับ ปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น
เป็น ผลของมรรค
(๒) ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ย่อมดำริการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๓) ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา ย่อมกำหนดการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับ ปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น
เป็น ผลของมรรค
(๔) ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ย่อมกำหนดเป็นสมุฏฐานของการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๕) ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ย่อมขาวผ่องของการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๖) ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ ย่อมประคองไว้ให้ออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๗) ญาณชื่อว่าสัมมาสติ ย่อมตั้งมั่นให้ออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาสตินั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสติย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๘) ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ ย่อมไม่ฟุ้งซ่านออกจากกามราคะสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะที่ออกนั้น
เป็น ผลของมรรค
ในขณะแห่งอรหัตมรรค ปัญญาในการระงับปโยคะ คือ
การสิ้นสุดการประกอบอย่างแรงกล้าแห่งกิจในมรรคทั้ง ๔ เรียกว่า
ปโยคปฏิปัสสัทธิ เป็น ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผลจิตนั้น
[ชื่อว่า ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปญฺญา
ผเล ญาณํ แปลว่า ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ]
ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่งๆ ผลจิตอันเป็นวิบากแห่งมรรคจิตนั้นๆ
ย่อมเกิด ญาณแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ผลของมรรค [ผลสมังคี] อันเป็นผลของเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา ดังนี้
(๑) ญาณชื่อสัมมาทิฏฐิ ย่อมเห็นการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับ ปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น
เป็น ผลของมรรค
(๒) ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ย่อมดำริการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๓) ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา ย่อมกำหนดการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับ ปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น
เป็น ผลของมรรค
(๔) ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ย่อมกำหนดเป็นสมุฏฐานของการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๕) ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ย่อมขาวผ่องของการออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๖) ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ ย่อมประคองไว้ให้ออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น
จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก ฉะนั้น สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้น
เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น เป็น
ผลของมรรค
(๗) ญาณชื่อว่าสัมมาสติ ย่อมตั้งมั่นให้ออกจากมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสติย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้น
เป็น ผลของมรรค
(๘) ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ออกจากรูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ ถีนมิทธะ อวิชชา ภวราคานุสัย มานานุสัย อวิชชานุสัย
ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก
ฉะนั้น สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกไปนั้น
การระงับปโยคะที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค ที่เรียกว่า ญาณ
เพราะรู้ธรรมนั้น และ ปัญญา เพราะรู้ว่าชัด เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า
ปัญญาในการระงับปโยคะที่ออกนั้น เป็น ผลญาณ
หมายเหตุ: เมื่อเรียงลำดับการผุดขึ้นของธรรมแห่ง อริยมรรคอริยผล นั้น
จะพบว่า มี อานันตริกสมาธิเกิดขึ้นได้ คือ (๑) มรรคสมาธิ ทำให้เกิด มรรคญาณ ทันที ซึ่งเป็น อนันตรปัจจัย ให้ให้ต่อเนื่องได้ทันทีกับ (๒) ผลสมาธิ ทำให้เกิด ผลญาณ ทันที ความต่อเนื่องนี้ อาจเกิดขึ้นระหว่าง มรรค
๔ กับ ผล
๔ ในแต่ละขั้น จนตรัสรู้สัมโพธิญาณในคราวเดียวกัน ดังเช่น พระตถาคตเจ้าได้บรรลุความตรัสรู้
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาแล้ว อนึ่ง คำว่า อานันตริกสมาธิ หมายถึง สมาธิอันไม่มีระหว่างคือไม่มีอะไรคั่นให้เกิดผลตามมาทันที และ อนันตรปัจจัย หมายถึง ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องไม่มีช่องระหว่าง
เพื่อให้เห็นภาพรวมแห่งขั้นตอน การตรัสรู้อาสวักขยญาณ และ นิพพาน ๒
พร้อมด้วย นิโรธ ๕
พร้อมด้วยการเกิด อานันตริกสมาธิ ในพิจารณาภาพประกอบข้างล่าง เพื่อให้เห็นภาพรวมของระบบโครงสร้างแห่งการเจริญภาวนากรรมฐาน
ดังนี้

ภาพประกอบ ๖: แสดงลำดับนิโรธในการตรัสรู้และปรินิพพานด้วยสมาธิและญาณ
เมื่อเข้าใจชัดเจนกับ อริยมรรคอริยยผล ดังกล่าวข้างต้นดีแล้ว ภาวะในการดับกิเลสย่อมเกิดขึ้นในมโนทวารแห่งความนึกคิดในใจได้ในขณะเจริญวิปัสสนา
ฉะนั้น การพิจารณาเกณฑ์ในการแยกระบุการบรรลุถึง ฌานสมาบัติ กับ วิปัสสนาญาณ ในแต่ละขั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
อย่างเช่น นิโรธ ๕ ดังนี้
นิโรธ ๕ หมายถึง
ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น คำไวพจน์
คือ ปหาน ๕การละกิเลส
วิมุตติ ๕ความหลุดพ้น วิเวก ๕ความสงัดความปลีกออก วิราคะ ๕ความคลายกำหนัดความสำรอกออกได้ โวสสัคคะ ๕ความสละความปล่อย (ดูเปรียบเทียบกับ สมาธิ ๓วิโมกข์ ๓ ในบทที่
๓การเจริญสมถภาวนา) ได้แก่
(๑) วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน
ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น
(๒) ตทังคนิโรธ
ดับด้วยองค์นั้นๆ
คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้
เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
(๓) สมุจเฉทนิโรธ ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด
ด้วย โลกุตตรมรรค ในขณะ แห่งมรรคนั้นชื่อ สมุจเฉทนิโรธ
(๔) ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ
อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้วบรรลุ โลกุตตรผล
กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ
ปฏิปัสสัทธินิโรธ
(๕) นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้วดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป
ภาวะนั้นชื่อ นิสสรณนิโรธ ได้แก่ อมตธาตุ คือ นิพพาน
ในอันดับสุดท้ายของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น
คือ การเจริญ ปัจจเวกขณญาณ (ข้อ ๑๖ ในโสฬสญาณญาณ ๑๖) หมายถึง ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนความถึงพร้อมที่สมบูรณ์
คือ ขั้นตอนสำรวจรู้ในกิจต่อไปนี้ (๑) มรรค ๔ (๒) ผล
๔ (๓) นิพพาน ๒ (๔) กิเลสที่ละแล้ว และ (๕)
กิเลสที่เหลืออยู่ เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่
ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัมมาวิมุตติ (ข้อ ๑๐ ในสัมมัตตะ ๑๐) หลุดพ้นชอบ ดังนี้
ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน
นั่นคือ สำรวจรู้มรรคผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน
เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่
นั่นคือ กิจในปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ในแต่ละ มัคควิถี [มรรค ๔] และ ผลวิถี [ผล ๔] ทั้งหมด ๕ ขั้นตอน ดังนี้
(๑) ให้แจ้งในการลุถึงมัคคจิตอย่างหนึ่ง
(๒) ให้แจ้งในการลุถึงผลจิตอย่างหนึ่ง
(๓) ให้แจ้งในพระนิพพานอย่างหนึ่ง
(๔) ให้แจ้งในกิเลสที่ละแล้วอย่างหนึ่ง
(๕) ให้แจ้งในกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่อย่างหนึ่ง
อนึ่ง การพิจารณากิเลสที่ยังคงเหลือนั้น
เฉพาะผู้ที่บรรลุ มัคคจิต ครั้งที่ ๔ สำเร็จเป็น พระอรหันต์ ก็ไม่ต้องมีการพิจารณา เพราะ พระอรหันต์ ไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลย จึงคงพิจารณาเพียง ๔ ประการ คือ (๑) มรรค ๔ (๒)
ผล ๔ (๓) นิพพาน ๓ และ (๔) กิเลสที่ละแล้ว เท่านั้น
ฉะนั้น รวมจำนวน ปัจจเวกขณวิถี
ที่เกิดภายหลัง มัคควิถี
นั้น ถ้าคิดจำนวนอย่างเต็มก็จะได้ ๑๙ ประการ คือ
มัคควิถี ๔ |
จำนวนลำดับขั้นตอน |
(๑)
ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง โสดาปัตติมัคควิถี
คือ โสดาปัตติผลวิมุตติ |
๕ |
(๒)
ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง สกทาคามิมัคควิถี
คือ สกทาคามิผลวิมุตติ |
๕ |
(๓)
ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง อนาคามิมัคควิถี
คือ อนาคามิผลวิมุตติ |
๕ |
(๔)
ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง อรหัตตมัคควิถี
คือ อรหัตตผลวิมุตติ |
๔ |
รวมทั้งหมด |
๑๙ |
ภาพประกอบ ๗: กิจในปัจจเวกขณญาณ ๑๙
ในกระบวนการที่เกิดขึ้นของ
กิจในปัจจเวกขณญาณ
๑๙ นั้น จะประกอบด้วย สัมปยุตตธรรม ที่เรียกว่า มีความเป็นไปเกิดดับร่วมกันแบบโครงร่างองค์รวม [Holistic
Configuration] ที่มีองค์ประกอบ ๓ อย่าง ได้แก่
(๑) สหวุตติ [Synchronization] หรือ สหชาตธรรม [Omnipresence] คือ ธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกัน (๒) เอกุปปาทะ คือ ทั้งเกิดขึ้นด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว (๓) เอกนิโรธะ คือ ทั้งดับด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียวนั่นคือ
เป็นไปตาม หลักปฏิจจสมุปบาท [ปัจจัยยาการ] คือ มีความเกิดและมีความดับเป็นธรรมดา สภาวธรรมดังกล่าวนี้เกิดขึ้นทั้งฝ่ายรูปธรรม เช่น ลักขณรูป ๔ (ข้อ ฏ ในอุปาทายรูป ๒๔)
ได้แก่ (๑) อุปจยะความก่อตัวหรือเติบขึ้น
(๒) สันตติความสืบต่อ (๓)
ชรตาความทรุดโทรม (๔) อนิจจตาความปรวนแปรแตกสลาย
๑ และนามธรรม เช่น วิญญาณกิจ ๑๔ ได้แก่ (๑) อริยสัจจ์ ๔ (๒) กิจในอริยสัจจ์ ๔ และ (๓) ญาณ
๓ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓
ซึ่งเป็นระบบการตรวจสอบกิจภายในตนเอง [กระบวนการคิด] ของผู้ที่จะตรัสรู้ สัมมาสัมโพธิญาณ ได้ ดังรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปนี้
อริยสัจจ์ ๔ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ ๑ ความจริงของพระอริยะ ๑ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
๑ เรียกสามัญว่า ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค ได้แก่
(๑)
ทุกข์ คือ ความทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง
ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง ได้แก่ ชาติ
ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์
๕ เป็นทุกข์
(๒)ทุกขสมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด
ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา
(๓)
ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา
สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกย้อม ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง
เป็นอิสระ คือ นิพพาน
(๔)
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
มรรค ๔มัคคญาณ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์
๘ นี้ สรุปลงใน ไตรสิกขา
คือ ศีลสมาธิปัญญา
กิจในอริยสัจจ์ ๔ หมายถึง หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจจ์
๔ แต่ละอย่าง [ปโยคะ]
จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจจ์หรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่
(๑)
ปริญญา คือ การกำหนดรู้ เป็น กิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง
ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา
(๒)ปหานะ คือ การละ เป็น กิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ
กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่ การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา
(๓)
สัจฉิกิริยา คือ การทำให้แจ้ง เป็น กิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ
นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่
การเข้าถึงภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ
(๔)
ภาวนา คือ การเจริญ เป็น กิจในมรรค [มรรค ๔] ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ
คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย
ได้แก่ การลงมือแก้ไขปัญหา
ญาณ ๓ หมายถึง
ความหยั่งรู้ ปรีชาหยั่งรู้ ปัญญาหยั่งรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับ
อริยสัจจ์ ๔
และ กิจในอริยสัจจ์ ๔ เรียกว่า ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ ได้แก่
(๑)
สัจจญาณ คือ หยั่งรู้สัจจะ นั่นคือ ความหยั่งรู้ อริยสัจจ์
๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
(๒)กิจจญาณ คือ หยั่งรู้กิจ นั่นคือ ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำใน
อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ควรเจริญให้มาก
(๓)
กตญาณ คือ หยั่งรู้การอันทำแล้ว นั่นคือ ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำใน อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำเสร็จแล้ว
ในการพิจารณาทบทวนกิจต่างๆ
ใน ภูมิแห่งโลกุตตรธรรม ได้แก่ (๑) อริยสัจจ์ ๔ (๒) กิจในอริยสัจจ์ ๔ และ (๓) ญาณ
๓ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓
นั้น เป็น การตรวจสอบความถูกต้องภายในตนเอง [SelfFalsifications] ว่า ปฏิบัติมาถูกทางจริงหรือไม่ ก่อนที่จะปฏิญาณตนว่า
ได้บรรลุถึง ความตรัสรู้สัมโพธิญาณ ซึ่งเป็นขั้นตอนการยืนยันทางภาคทฤษฎี อันเป็น ขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ [Scientific
Methods] อย่างมีเหตุผลและประกอบด้วยปัญญาทั้ง ๓
อย่าง ได้แก่ จินตามยปัญญาสุตมยปัญญาภาวนามยปัญญา ขั้นตอนดังกล่าวนี้ เป็นการพิสูจน์ถึง ความเป็นสากลแห่งทฤษฎี [Theoretical Universality] นั่นคือ บุคคลใดจะมาประพฤติปฏิบัติตามแนวทางนี้
ย่อมเห็นผลแห่งการปฏิบัติออกมาเช่นเดียวกัน ซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ
ข้อปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ [Best Practice] ในประเด็นนี้ ให้พิจารณาถึงเรื่อง
ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นค้นหาจัดหมวดหมูลักษณะร่วมแห่งสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็น
ลักษณะสากล [Universality] ที่เรียกว่า สามัญลักษณะ ๓ [The Common Characteristics] ได้แก่ (๑) อนิจจตาความไม่เที่ยง (๒) ทุกขตาความทุกข์ (๓) อนัตตตา ความไม่ใช่ตัวตน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ให้พิจารณาเห็น
ลักษณะเฉพาะตนปัจจัตตลักษณะ [Uniqueness] ด้วยเช่นกัน ฉะนั้น ให้ทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับ
ญาณ ๓ หมายถึง ปรีชาหยั่งรู้ ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์
๓อาการ ๑๒ ในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ได้แก่
(๑) สัจจญาณ หมายถึง ปัญญาหยั่งรู้สัจจะ
คือ ความหยั่งรู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์
คือ ทุกขอริยสัจจ์ ๑ นี้ทุกขสมุทัย คือ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ ๑ นี้ทุกขนิโรธ คือ ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ ๑ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ ๑ ได้บรรลุถึง ความรู้แจ้งเห็นจริงความตรัสรู้ ได้สมบูรณ์แล้ว ตามลำดับ
(๒)กิจจญาณ หมายถึง ปัญญาหยั่งรู้กิจ คือ
ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง ที่เรียกว่า
กิจในอริยสัจจ์ ๔ หมายถึง หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจจ์
๔ แต่ละอย่าง ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจจ์
๔ แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่า รู้อริยสัจจ์อันเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว
โดยมีลำดับดังนี้ (๑) ปริญญา คือ การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์
ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง
ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา (๒) ปหานะ คือ การละ เป็นกิจในสมุทัย
ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ
สมุทัยควรละ [เปรียบเทียบกับ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท
นิโรธวารของฝ่ายดับเหตุแห่งทุกข์]
คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่ การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา
(๓) สัจฉิกิริยา คือ การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ
สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ
เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่ การเข้าถึงภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ
(๔) ภาวนา คือ การเจริญ เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา
อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ
ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่
การลงมือแก้ไขปัญหา อนึ่ง ในการแสดงอริยสัจจ์ ก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจจ์
ก็ดี จะต้องให้อริยสัจจ์แต่ละข้อ สัมพันธ์ตรงกันกับกิจแต่ละอย่าง
จึงจะเป็นการแสดงและเป็นการปฏิบัติโดยชอบ ทั้งนี้วางเป็นหัวข้อได้
ดังนี้
(๑)
ทุกข์ เป็นขั้นแถลงปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้ขอบเขต
นั่นคือ ปริญญา คือ
การกำหนดรู้
(๒)
สมุทัย เป็นขั้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมดสิ้นไป
นั่นคือ ปหานะ คือ
การละ
(๓)
นิโรธ เป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหา อันเป็นจุดหมายที่ต้องการ
ให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึง ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จ
นั่นคือ สัจฉิกิริยา คือ การทำให้แจ้ง
[ปฏิเวธะ = รู้แจ้งแทงตลอด]
(๔)
มรรค เป็นขั้นกำหนดวิธีการ ขั้นตอน และรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา
นั่นคือ ภาวนา คือ การเจริญ
(๓)
กตญาณ หมายถึง ปัญญาหยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจจ์
๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำเสร็จแล้ว
เมื่อสิ้นสุด
ญาณ ๓ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์
๓อาการ ๑๒ ครบขั้นตอนอย่างสมบูรณ์ดีแล้ว
ผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึง คำว่า นิพพาน กับญาณอันดับสุดท้ายแห่งพุทธกิจนี้ นั่นคือ อาสวักขยญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
ชื่อว่า ความตรัสรู้ [เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงได้บรรลุใน ยามสุดท้ายแห่งราตรีวันตรัสรู้] ย่อมเกิดขึ้นจริง
ที่เรียกว่า สัจจภาวะแห่งนิพพาน
ดังนี้
นิพพาน ๒
หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด
เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ ให้พิจารณาต่อจาก
นิโรธ ๕ ได้แก่
(๑)
สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ นั่นคือ
กิเลสปรินิพพาน
เป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ [รูปเสียงกลิ่นรสกายสัมผัส] ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทาง อินทรีย์ ๕ [ตาหูจมูกลิ้นกาย: กามคุณ ๕] รับรู้สุขทุกข์อยู่
[สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้
และ เวทนา คือ การเสวยอารมณ์] นั่นคือ พระเสขะ เรียกว่า สอุปาทิเสสบุคคล
(๒)อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ
ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ [สัญญาเวทนา] นั่นคือ ขันธปรินิพพาน เป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว นั่นคือ พระอเสขะ เรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคล
ในอีกประการหนึ่ง มีข้อพึงระวังในการเจริญวิปัสสนา
นั่นคือ วิปัสสนูปกิเลส
๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา
สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมองข้องขัด สภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาในขั้นที่เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน
[ตรุณวิปัสสนา] แต่กลายเป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา
โดยทำให้ผู้ปฏิบัติจำนวนมากเข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงชะงักหยุดเสีย
ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปใน วิปัสสนาญาณ ซึ่งหมายถึง
ความล้มเหลว อนึ่ง ธรรมทั้งหมดนี้ [เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม] โดยตัวมันเอง
มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน
จึงเกิดโทษเนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเอง [ปรามาสะ ความถือผิดที่คลาดเคลื่อน
หรือ ทิฏฐิวิปผันทิตะ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ] ว่าเป็นการบรรลุมรรคผลเสร็จสิ้นแล้ว
ที่เรียกว่า ธัมมุทธัจจะธรรมุธัจจ์ หมายถึง ความฟุ้งซ่านด้วยสำคัญผิดในธรรม [อสัมโพธะไม่รู้ตามเป็นจริง] คือ ความฟุ้งซ่านเนื่องจากเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้วสำคัญผิดว่าตนบรรลุธรรม [อัญญาณความไม่รู้ = อโยนิโสมนสิการ] นั่นคือ มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ จิตก็เลยคลาดเขวออกไป เพราะความฟุ้งซ่านนั้น
ไม่เกิดปัญญาที่จะเห็นไตรลักษณ์ได้จริง ภาษาชาวบ้านเรียกว่า
ตบะแตก [พาลยะความโง่เขลา] คือ เริ่มเสียสติไม่สามารถสำรวมควบคุมความนึกคิดในใจของตนได้
วิปลาสผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง [อนภิสมัยความไม่ตรัสรู้] หรือเรียกว่า ความหลงโมหะ [สัมโมหะหลงใหล ปโมหะความลุ่มหลง] นั่นเอง แทนที่จะเป็นคุณภาพจิตที่ประกอบด้วย
(๑) อวิกเขปะ ความไม่ฟุ้งซ่าน (๒) อวิสาหาร ความไม่ส่ายไป (๓) อิวิสาหฏมานสตา ภาวะจิตที่ไม่ส่ายไป (๔) สมาธิพละ ความไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลาย
[อนุโพธะ
ตรัสรู้โดยสมควร]
สำหรับ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐
ได้แก่
(๑)
โอภาส แสงสว่าง
(๒)ปีติ ความอิ่มใจปลาบปลื้มเต็มไปทั้งตัว
(๓) ญาณ ความรู้ที่คมชัด
(๔) ปัสสัทธิ
ความสงบเย็นกายใจ
(๕) สุข ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง
(๖)
อธิโมกข์
ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง
(๗) ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
(๘) อุปัฏฐาน
สติชัด
(๙)
อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลางที่ลงตัวสนิท
(๑๐)
นิกันติ ความติดใจพอใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อ วิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น (๑) ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย จะฟุ้งซ่านเขวไปและเกิดกิเลสอื่นๆ
ตามมาด้วย (๒) ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง ก็ฟุ้งซ่านเขวไป
แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่นๆ แต่จะสำคัญผิด (๓) ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า
ถึงจะฟุ้งซ่านเขวไป แต่จะละความสำคัญผิดได้ และเจริญวิปัสสนาต่อไป
และ (๔) ส่วนผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก จะไม่ฟุ้งซ่านเขวไปเลย
แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป ฉะนั้น วิธีปฏิบัติในเรื่องนี้ คือ
เมื่อเข้าถึง วิปัสสนูปกิเลส ที่เกิดขึ้น พึงรู้เท่าทันด้วย
ปัญญา ตามเป็นจริงว่า สภาวะนี้ [ดังเช่น โอภาสปีติปัสสัทธิญาณ] เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มันเป็นของไม่เที่ยง
เกิดมีขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็จะต้องดับสิ้นไป
เป็นต้น เมื่อรู้เท่าทัน ก็ไม่หวั่นไหวไม่ฟุ้งไปตามมัน คือ กำหนดได้ว่ามันไม่ใช่
มรรค ไม่ใช่ทาง แต่วิปัสสนาที่พ้นจาก วิปัสสนูปกิเลส เหล่านี้ ซึ่งดำเนินไปตามวิถีนั้นเป็น
มรรค เป็นทางที่ถูกต้อง นี่คือเป็น ญาณ ที่รู้แยกได้ว่าใช่ มรรค และมิใช่ มรรค นับเป็นข้อที่
๕ ใน วิสุทธิ ๗
หมายถึง ความหมดจด ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์
ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมาย คือ
นิพพาน ฉะนั้น ข้อที่ ๕ ใน วิสุทธิ ๗ เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
นั่นเอง ข้อพึงระวัง นั่นคือ การศึกษาเรียนรู้เพียงอย่างเดียว
แล้วไม่ลงมือปฏิบัติจริง ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดทั้งสิ้น เพราะยังไม่เห็นสัจจธรรมอย่างแท้จริง
เป็นเพียงผลแห่งการใช้เหตุผลนอก ภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ในอีกนัยหนึ่ง การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ยังทำให้เกิด
อธิคมธรรม หลายอย่าง ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ถ้ามี
ปัญญา ตริตรองไม่ถึงธรรมเหล่านั้น
ย่อมหลงในสิ่งที่เรียกว่า ฤทธิ์เดช เพราะเกิดขึ้นในขณะเจริญ ปัจจยปริคคหญาณปัจจัยปริคคหญาณนามรูปปัจจัยปริคคหญาณกังขาวิตรณญาณธัมมัฏฐิติญาณ (ข้อ ๒ ในโสฬสญาณญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป หรือสภาวะที่มีปรีชาหยั่งรู้ด้วยปัญญาแห่งญาณ
คือ ญาณทัสสนะ ซึ่งตรงกับ กังขาวิตรณวิสุทธิ (ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗) คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้
คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ ข้อนี้ตรงกับ
ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ จัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ ปัญญาทั้งหมดสัมปยุตต์กันจนกลายเป็นปัญญาพิจารณาเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง
ยถาภูตญาณทัสสนะ
[ยถา ปชานํ ข้อ ๑๕ ในมหาวิปัสสนา ๑๘] และสามารถบรรลุถึง อธิคมธรรม [อภิญญาธรรมความรู้ชั้นสูง] นั่นคือ จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง [อาโลโก] หมายถึง จักขุของพระพุทธเจ้าความรู้ที่คมชัดความรอบรู้ความรู้แจ้งแสงสว่างแห่งปัญญา หรือมีปรีชาสามารถปฏิเวธ [รู้แจ้งแทงตลอด] เข้าถึง ปัญญาเห็นธรรม ทั้งหลาย ที่เรียกว่า ธรรมจักร หมายถึง จักรคือธรรมวงล้อธรรมอาณาจักรธรรม [ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์] หรืออีกนัยหนึ่ง ธรรมจักษุ หมายถึง ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
นั่นคือ ปรีชาหยั่งรู้ได้ถึงที่ตั้งมั่นแน่แท้แห่งธรรมทั้งหลายตามที่เป็นจริง
ธรรมฐิติ คำว่า ธรรมจักษุ โดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ ท่านโกณฑัญญะ เมื่อสดับ ธรรมจักร แล้วได้บรรลุถึง ดวงตาเห็นธรรม ในขณะนั้น ได้แก่ โสดาปัตติมรรคโสดาปัตติมัคคญาณ คือ ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน
สรุปง่ายๆ คือ มีความเข้าใจถูกต้องตามที่เป็นจริง จนบรรลุถึงข้อสรุปแห่ง
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม [อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม] แต่ยังไม่ก้าวไปถึง การเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์
อนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงการวิปัสสนาใน
ปัจจยปริคคหญาณ [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] ให้แตกฉานยิ่งขึ้น
เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างปัญญาญาณ นั่นคือ ธรรมจักษุธรรมจักขุดวงตาเห็นธรรมปัญญาเห็นธรรม จนได้ข้อสรุปเชิงทฤษฎีที่ว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ข้อสรุปดังกล่าวนี้ สามารถอธิบายสภาวธรรมอันเป็น ปรมัตถสัจจะ ได้จริง คือ การเห็นสัจจธรรมอันเป็นข้อเท็จจริงตาม กฎธรรมชาติ ดังนี้
(๑)
วงเวียนชีวิตภวจักรสังสารจักร = การเวียนว่ายตายเกิดแห่งชีวิตสันตติ
(๒)กฎแห่งกรรมกัมมผลสัทธา = โอกาสในการเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ของตน
(๓) กฎแห่งกรรมของสัตว์กัมมัสสกตาสัทธา = การเห็นสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตสันตติตามกรรมของตน
นอกจากนี้ ก็ควรทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึง ปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา [อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท] ซึ่งแยกออกเป็น ๒ ลักษณะ
ได้แก่ (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ อธิบายสาเหตุแห่งทุกข์ให้เห็นสภาพแห่งทุกข์
ซึ่งเริ่มจาก อวิชชา ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ปฏิบัติธรรมจะเห็นสภาพแห่งทุกข์มาก่อนอย่างละเอียด
ในการเจริญ นามรูปปริจเฉทญาณ [ดังรายละเอียดในภาคผนวก
เบญจขันธ์]
และ (๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท คือ อธิบายถึงการดับเหตุแห่งทุกข์
ซึ่งมีเหตุมาจาก อวิชชา รวมทั้ง ปฏิจจสมุปปันนธรรม [อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม] ฉะนั้น กระบวนการคิดอย่างถูกวิธีในวิปัสสนาภูมินี้ คือ โยนิโสมนสิการ เมื่อมีความแม่นยำถูกต้องดีแล้ว
ค่อยพิจารณาสภาวธรรมด้วย ปัจจัย ๒๔มหาปัฏฐาน
ซึ่งเป็นขั้นตอนกระบวนการคิดขั้นสูงที่ประเสริฐ ที่เรียกว่า ปัญญาอริยะ [ซึ่งไม่ใช่
ปัญญาต่ำทราม ปัญญาชาวบ้าน ปัญญาปุถุชน ปัญญาที่ไร้ค่า
ที่เรียกว่า ปัญญาอนริยะ] ซึ่งสามารถอธิบายสภาวธรรมทั้งหลายได้ตามที่เป็นจริง
ด้วย ยถาภูตญาณธรรมฐิติญาณสัมมาทัสสนะ คือ เห็นสาเหตุการเกิดดับแห่งธรรมทั้งหลายอย่างถูกต้อง
หรือ กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย
ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ นั่นคือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง
๓ นั่นคือ ย่อมเห็น ผลแห่งอกุศลวิบาก ที่ตามมา คือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เช่นกันหมด
ให้นำหลักธรรมแต่ละข้อมาพิจารณาไตร่ตรอง สภาวธรรม ทั้งหลายตามหลักปฏิจจสมุปบาท {ในขั้นตอนนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมอาจใช้เวลานานแตกต่างกัน
เพื่อให้เกิดความแตกฉานในธรรม ดังเช่น พระมหาบุรุษทรงเลือกที่บำเพ็ญเพียร
คือ อุรุเวลา [Uruvela] ตำบลในแคว้นมคธ [Magadha] ที่ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา
[Neranjara River] ได้ประทับอยู่ ณ ที่นี้นานถึง
๖ ปี ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินใน มัชฌิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์
ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลนี้} ดังนี้
¤ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
(๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท [ฝ่ายสมุทัยวาร]
กำหนดรู้สาเหตุ [สมุทัยสัจจ์กรรมปัจจัย เมื่อเกิด อวิชชา ตามลำดับ]:
(๑) อดีต ๒ = อวิชชาสังขาร
(๒) ปัจจุบัน ๘ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ
(๓) อนาคต ๒ = ชาติชรามรณะ
กำหนดรู้ผลวิบาก [นิสสันท์วิปากปัจจัย จึงเกิดทุกข์]:
โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส
= อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
(๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท [ฝ่ายนิโรธวาร]
กำหนดดับสาเหตุ [นิโรธสัจจ์กรรมปัจจัย เมื่อสำรอกดับ
อวิชชา ตามลำดับ]:
(๑) อดีต ๒ = อวิชชาสังขาร
(๒) ปัจจุบัน ๘ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ
(๓) อนาคต ๒ = ชาติชรามรณะ
กำหนดรู้ผลวิบาก [นิสสันท์วิปากปัจจัย จึงดับทุกข์]:
โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส
= อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
¤ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ [องค์ประกอบภายในภวจักรหรือสังสารจักร]
(๑) อัทธา ๓ คือ กาล ๓ ได้แก่
๑) อดีต = อวิชชาสังขาร
๒) ปัจจุบัน = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ
๓) อนาคต = ชาติชรามรณะ {โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส}
(๒) สังเขป ๔สังคหะ ๔ คือ ช่วง
หมวด หรือ กลุ่ม ๔ ได้แก่
๑) อดีตเหตุ = อวิชชาสังขาร
๒) ปัจจุบันผล = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา
๓) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหาอุปาทานภพ
๔) อนาคตผล = ชาติชรามรณะ {โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส}
(๓) สนธิ ๓ คือ ขั้วต่อ ระหว่างสังเขปหรือช่วงทั้ง
๔ ได้แก่
๑) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล
๒) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ
๓) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล
(๔) วัฏฏะ ๓ คือ องค์ประกอบที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของภวจักร
หรือ สังสารจักร ได้แก่
๑) กิเลสวัฏฏ์ = วงจรกิเลส
ประกอบด้วย อวิชชาตัณหาอุปาทาน
๒) กรรมวัฏฏ์ = วงจรกรรม ประกอบด้วย สังขารกรรมภพ
๓) วิปากวัฏฏ์ = วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพภพ ชาติชรามรณะ
{โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส}
(๕) อาการ ๒๐ คือ องค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ
จำแนกตามส่วนเหตุ และส่วนผล ได้แก่
๑) อดีตเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ
๒) ปัจจุบันผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา
๓) ปัจจุบันเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ
๔) อนาคตผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะ ผัสสะเวทนา
(๖) มูล ๓ คือ กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง
ได้แก่
๑) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึง เวทนา
ในช่วงปัจจุบัน
๒) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึง
ชรามรณะ ในช่วงอนาคต
จากหลักธรรมทั้งหมดใน
ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ กับ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ [รวมทั้ง กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตาปัญญา
อันเป็นองค์ประกอบสำคัญใน ภวจักรสังสารจักร] นั้น จัดเป็นองค์ความรู้ในวิปัสสนา คือ ทักษะกระบวนการคิดในวิปัสสนา ซึ่งหมายถึง (๑) การพิจารณาสภาวธรรม (๒) การพิจารณากรรมฐาน หรือ (๓) การมนสิการกรรมฐาน ที่เกิดขึ้นในการเจริญ โสฬสญาณญาณ ๑๖ ซึ่งทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอด
[ปฏิเวธะ] ใน สาเหตุแห่งทุกข์ [สมุทัยอริยสัจจ์] ที่เรียกว่า
ปัจจยปริคคหญาณ
(ข้อ ๒ ในโสฬสญาณญาณ ๑๖) จนทำให้เกิด ทิพพจักขุญาณจุตูปปาตญาณ
(ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) ได้ หมายถึง ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย
อันเป็นไปตามกรรม ๑ ปัญญาเห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย
๑ อนึ่ง สำหรับการฝึกวิปัสสนากรรมฐานในขั้นนี้ เป็นจุดสำคัญที่สามารถพิจารณาด้วยเหตุผลด้วยการศึกษาอย่างจริงจังนอกภูมิแห่งวิปัสสนาได้
คือ ท่องจดจำให้ได้อย่างเข้าใจถูกต้อง [จนเกิดเป็นนิมิตได้ยิ่งดี]
ก่อนที่จะเข้าไปเจริญวิปัสสนาอย่างแท้จริงใน วิปัสสนาภูมิ แต่ต้องทำความเข้าใจกับเรื่อง ขันธ์ ๕ ทั้งระบบโครงสร้างให้ดีก่อน (ดูภาคผนวกเบญจขันธ์) ซึ่งหมายถึง นามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในโสฬสญาณญาณ ๑๖) ซึ่งเป็น วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ที่ประกอบด้วย (๑) ขันธ์ ๕นามรูป (๒) อายตนะ ๑๒ (๓)
ธาตุ ๑๘ (๔) อินทรีย์ ๒๒ ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องอยู่ในฐานะแห่ง
ผู้จำแนกแจกธรรม [ผู้คิดวิเคราะห์แยกแยะจัดเฟ้นสืบหาวิจัย = โยนิโสมนสิการ]
ได้จริง ฉะนั้น การเจริญปัญญาภาวนาอย่างแท้จริงนั้น
ประกอบด้วย (๑) องค์ความรู้ในศัพท์บัญญัติแห่งพุทธศาสนา (๒) ความเป็นผู้คงแก่เรียน
อันมี พหูสูตมีองค์ ๕ โดยพื้นฐาน และ (๓) ความรู้แท้แทงตลอดใน
ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ปัญญาแตกฉาน ทั้งหมดนี้ เกิดจากความเลื่อมใสความศรัทธาความปลงใจเชื่ออย่างมีเหตุผลความพึงพอใจแห่งฉันทะความหมั่นประกอบด้วยความเพียร เป็นสำคัญแห่งความถึงพร้อมการพัฒนาตน นั่นคือ อัตตสัมปทา ที่ว่าผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้ว = ภาวิตัตต์ [อย่ามาทำเล่นๆ]
สำหรับเกณฑ์ข้อธรรมใน
ปัจจัย
๒๔ นั้น เป็นขั้นตอนการพิจารณาสภาวธรรมในความสัมพันธ์เชิงปัจจัยที่ครบทุกองศาทุกแง่มุมมอง
โดยพิจารณาด้วยเหตุผลตามที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เป็นฝ่าย
รูปธรรม หรือฝ่าย
นามธรรม ก็ตาม จัดเป็นธรรมที่อยู่ใน อภิธรรม ที่เรียกว่า ปัฏฐานมหาปัฏฐานมหาปกรณ์ ที่อธิบาย ปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องจากการอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร ข้อชื่อว่า
ปัฏฐาน
เพราะมีการดำเนินอันเป็นไปด้วยอำนาจความเกี่ยวข้องกัน เพราะได้นัยอันมีความพิสดารในธรรมทั้งหลาย
มีกุศลธรรม มีอกุศลธรรม มีอัพยากตธรรม ซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทมีเหตุปัจจัย
เป็นต้น แห่งพระสัพพัญญุตญาณ อันมีการดำเนินไปไม่ขัดกัน
ซึ่งเป็นการจำแนกแจกธรรมที่มีความประณีตละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น
มากกว่าการพิจารณาสภาวธรรมตามแบบ ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ คือ เห็นทั้งโครงสร้างและระบบแห่งสัจจธรรมทั้งหมด [ธรรมจักรอาณาจักรแห่งธรรม หรือ ธรรมฐิติ] ประเด็นนี้ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมค่อยพัฒนาปัญญาญาณเท่าที่ตนเองมีโอกาส ให้พิจารณารายละเอียดองค์ธรรมย่อยใน
ปัจจัย ๒๔ ดังนี้
ปัจจัย ๒๔
[อยู่ในบทสวดพระอภิธรรม ข้อนี้มีประโยชน์สำหรับนักวิจัยในการอภิปรายผลการ
วิจัย เพราะเป็นการแยกความสัมพันธ์ออกเป็น ๒๔ ประการ และเป็น มหาปัฏฐาน แห่งพุทธปัญญา] หมายถึง ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง
เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไข
ให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง
และย่อมเห็นผลแห่งอกุศลวิบากที่ตามมา คือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เช่นกัน
ได้แก่
(๑) เหตุปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นเหตุ
(๒) อารัมมณปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์
(๓) อธิปติปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นเจ้าใหญ่
(๔) อนันตรปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องไม่มีช่องระหว่าง
(๕) สมนันตรปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที
(๖) สหชาตปัจจัย ปัจจัยโดยเกิดร่วมกัน
(๗) อัญญมัญญปัจจัย ปัจจัยโดยอาศัยซึ่งกันและกัน
(๘) นิสสยปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย
(๙) อุปนิสสยปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นเครื่องหนุนหรือกระตุ้นเร้า
(๑๐) ปุเรชาตปัจจัย ปัจจัยโดยเกิดก่อน
(๑๑) ปัจฉาชาตปัจจัย ปัจจัยโดยเกิดทีหลัง
(๑๒) อาเสวนปัจจัย ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน
(๑๓) กรรมปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง
(๑๔) วิปากปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นวิบาก
(๑๕) อาหารปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
(๑๖) อินทรียปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นเจ้าการ
(๑๗) ฌานปัจจัย ปัจจัยโดยภาวะจิตที่เป็นฌาน
(๑๘) มรรคปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นมรรค
(๑๙) สัมปยุตตปัจจัย ปัจจัยโดยประกอบกัน
(๒๐) วิปปยุตตปัจจัย ปัจจัยโดยแยกต่างหากกัน
(๒๑) อัตถิปัจจัย ปัจจัยโดยต้องมีอยู่
(๒๒) นัตถิปัจจัย ปัจจัยโดยต้องไม่มีอยู่
(๒๓) วิคตปัจจัย ปัจจัยโดยต้องปราศไป
(๒๔) อวิคตปัจจัย ปัจจัยโดยต้องไม่ปราศไป
หมายเหตุ: โดยทั่วไป คำว่า อวิชชา นั้น มักหมายถึง อวิชชา ๔อวิชชา ๘ คือ ความไม่รู้แจ้ง
ความไม่รู้จริง [อวิชชา ๔ คือ ๔ ข้อแรก] ได้แก่ (๑) ไม่รู้ในทุกข์ (๒) ไม่รู้ในทุกขสมุทัย (๓) ไม่รู้ในทุกขนิโรธ
(๔) ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๕) ไม่รู้ในส่วนอดีต
(๖) ไม่รู้ในส่วนอนาคต (๗) ไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
(๘) ไม่รู้ในธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตา
แต่อย่างไรก็ตาม ให้ผู้ปฏิบัติธรรม พิจารณาลักษณะองค์ประกอบอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของอวิชชาอีกมุมหนึ่ง
ดังนี้
อวิชชามีลักษณะ ๒๕ ประการ [องค์แห่งอวิชชา] ได้แก่
(๑) อัญญาณ ความไม่หยั่งรู้ด้วยญาณ [ญาณปรีชาหยั่งรู้]
(๒) อทัสสนะ ความไม่เห็นด้วยญาณทัสสนะ [ทัสสนะความเห็น]
(๓) อนภิสมัย ความไม่ตรัสรู้ [อภิสมัยความตรัสรู้]
(๔) อนนุโพธะ ความไม่ตรัสรู้ตาม [อนุโพธะความตรัสรู้ตาม]
(๕) อสัมโพธะ ความไม่ตรัสรู้พร้อม [สัมโพธะความตรัสรู้พร้อม]
(๖) อัปปฏิเวธะ การไม่แทงตลอด [ปฏิเวธะการแทงตลอด]
(๗) อสังคาหณา ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง [สังคาหณาความถือเอาถูกต้อง]
(๘) อปริโยคาหณา ความไม่หยั่งโดยรอบคอบ [ปริโยคาหณาความหยั่งโดยรอบคอบ]
(๙) อสมเปกขนา ความไม่พินิจ [สมเปกขนาความพินิจ]
(๑๐) อปัจจเวกขณา ความไม่พิจารณา [ปัจจเวกขณาความพิจารณาทบทวน]
(๑๑) อัปปัจจักขกรรม ความไม่รู้ในกรรมของตน [กัมมผลสัทธากฎแห่งกรรม]
(๑๒) ทุมมิชฌะ ความทรามปัญญา [สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ อธิปัญญาปัญญาอันยิ่ง]
(๑๓) พาลยะ ความโง่เขลา [วิสารทะฉลาดชำนาญ ปฏิภาณความคิดทันการ]
(๑๔) อสัมปชัญญะ ความไม่รู้ทั่วพร้อม [สัมปชัญญะความรู้ทั่วพร้อม]
(๑๕) โมหะ ความหลง [ปัญญา ความรอบรู้ความรู้ชัด]
(๑๖) ปโมหะ ความลุ่มหลง [อวิกเขปะความไม่ฟุ้งซ่าน เอกัคคตาจิตตสมาธิ]
(๑๗) สัมโมหะ ความหลงใหล [อสัมโมหสัมปชัญญะรู้ชัดว่าไม่หลง]
(๑๘) อวิชชา รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ [วิชชาความรู้แจ้ง อภิญญาความรู้ยิ่งยวด]
(๑๙) อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชาให้จมลงในวัฏฏะ [วิวฏะความพ้นจากวัฏฏะ]
(๒๐) อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชาให้ประกอบไว้ในวัฏฏะ [วิราคะความไม่ติดพันเป็นอิสระ]
(๒๑) อวิชชานุสัย อนุสัยคืออวิชชาด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ [นิโรธความดับกิเลสและทุกข์]
(๒๒) อวิชชาปริยุฏฐาน การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา [อุปสมะความสงบ สมถะการสงบระงับจิต]
(๒๓) อวิชชาลังคี กลอนเหล็กหรือลิ่มคืออวิชชา [วิสังโยคความหมดเครื่องผูกรัด]
(๒๔) โทสะ ความคิดประทุษร้าย [อพยาบาทความไม่ขัดเคืองมีเมตตา]
(๒๕) โลภะ ความอยากได้ [อปจยะความไม่พอกพูนกิเลส]
อย่างไรก็ตาม ในขั้นนี้จะกล่าวถึง อธิคมธรรม เพียงบางส่วน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะเจริญโสฬสญาณญาณ ๑๖ [เช่น ปัจจยปริคคหญาณ ทำให้เกิด อภิญญาธรรม
คือ จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ
ได้ หรือ ปัญญาญาณ อื่นๆ เช่นกัน] ได้แก่ วิชชา ๓ [ญาณ ๓] อภิญญา ๖วิชชา ๘ และ จักขุ ๕ ดังนี้
วิชชา ๓ญาณ ๓ หมายถึง ความรู้แจ้ง
ความรู้วิเศษ ได้แก่
(๑)
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ ระลึกชาติได้
(๒)จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ
คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม
เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย
(๓) อาสวักขยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
ความตรัสรู้โลกุตตรญาณ
เกิดต่อจาก ปัจจเวกขณญาณ [โลกุตตรญาณ]
ข้อควรระวัง: การเกิด ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา
แห่ง วิชชา ๓ญาณ
๓ นี้ ย่อมเกิดขึ้นในขณะเจริญโสฬสญาณญาณ ๑๖ ใน ๓ ข้อแรก
ได้แก่ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ
และ (๓) สัมมสนญาณ {มักเกิดความฟุ้งซ่านคิดว่าเป็น
อาสวักขยญาณ
ซึ่งเป็นปัญญาญาณสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทรงบรรลุในราตรีคืนตรัสรู้} ฉะนั้น ต้องพึงระวัง อธิคมธรรมสมณธรรม เหล่านี้ อย่าไปนึกคิดอยากได้
{เพราะเป็นเหตุให้ฟุ้งซ่านร้อนใจเสียสติเป็นบ้า} เพราะจะกลายเป็น กิเลสตัณหา ที่คอยจะขัดขวางความก้าวหน้าในวิปัสสนาได้ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจาก วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ นั่นเอง แต่ ธรรมวิเศษ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติธรรมที่ประพฤติปฏิบัติถูกต้องตามเส้นทางแห่งอริยมรรค
ไม่เป็นหมัน เพราะอย่างไรๆ ก็ตาม ต้องมีโอกาสปฏิเวธเข้าถึง คุณวิเศษ [อภิญญาธรรม] ดังกล่าวนี้ได้อย่างแน่นอน ถ้าไม่ประพฤติหยำเปเลอะเทอะ จนต้องอาบัติปาราชิก
ผิดพระธรรมวินัยอย่ารุนแรง อย่างไรก็ตาม โสฬสญาณญาณ ๑๖ รวมทั้ง
วิชชา ๓ [ญาณ ๓]
อภิญญา ๖ วิชชา ๘หรือจักขุ ๕ คือ เครื่องมือวิเศษที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ในการแสวงหาความรู้ได้อย่างไม่จำกัด
ไม่ใช่เป็นเรื่องการแสดงอิทธิฤทธิ์เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การดับกิเลสทั้งหลายและปวงทุกข์ด้วยจิตที่ปราศจากนิวรณ์ ซึ่งเป็นเรื่อง
สัมมัตตะ ๑๐ คือ สภาวะที่ถูกต้อง ไม่ใช่ มิจฉัตตะ ๑๐ คือ สภาวะที่ผิด เพราะมีกิเลสตัณหา
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
อภิญญา ๖ หมายถึง ความรู้ยิ่งยวด ปัญญายิ่งยวด ได้แก่
(๑) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น ล่องหน ดำดิน
เดินน้ำ เป็นต้น
(๒)ทิพพโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา
(๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ รู้ใจคนอื่น
(๔) ปุพเพนิวาสานุสสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ทั้งอดีตและอนาคต
(๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ นั่นคือ ดูอะไรเห็นได้หมด
(๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป = โลกุตตรอภิญญา
วิชชา ๘ หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ
ได้แก่
(๑)
วิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา ญาณที่เป็นวิปัสสนา นั่นคือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์
มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน
(๒)มโนมยิทธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ
ฤทธิ์ทางใจ นั่นคือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้หรือแปลงร่างใหม่ได้
[โลกตะวันตกกำลังสนใจนำมาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้สมัยใหม่]
(๓) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ นิรมิตกายหลายคน ล่องหน
ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น[โลกตะวันตกกำลังสนใจนำมาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้สมัยใหม่]
(๔) ทิพพโสต หูทิพย์ ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา
(๕) เจโตปริยญาณ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ ญาณที่ให้ทายใจรู้ใจความนึกคิดคนอื่นได้
(๖)
ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้ ปัญญารู้ทั้งอดีตและอนาคต
(๗) ทิพพจักขุ
ตาทิพย์ จักษุทิพย์ [จุตูปปาตญาณ] คือ ดูอะไรเห็นได้หมด
(๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ =
โลกุตตรญาณ
จักขุ ๕ หมายถึง พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้แก่
(๑)
มังสจักขุ
ตาเนื้อ คือ ทรงมีพระเนตรอันงาม มีอำนาจ เห็นแจ่มใส ไว และเห็นไกล
(๒)ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือ
ทรงมีพระญาณอันเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นไปต่างๆ กัน ด้วยอำนาจกรรม
(๓) ปัญญาจักขุ
ตาปัญญา คือ ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณยิ่งใหญ่
เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้อริยสัจจธรรม เป็นต้น
(๔) พุทธจักขุ
ตาพระพุทธเจ้า คือ ทรงประกอบด้วยอินทริยปโรปริยัตตญาณ และอาสยานุสยญาณ เป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์
แล้วทรงสั่งสอนแนะนำให้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ ยังพุทธกิจให้บริบูรณ์
(๕) สมันตจักขุ
ตาเห็นรอบ คือ ทรงประกอบด้วย พระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ
หมายเหตุ: ปัญญาญาณเฉพาะพระตถาคต ที่เรียกว่า อสาธารณญาณ ๖ คือ ไม่สาธารณ์แก่พระสาว ก ได้แก่ (๑) อินทริยปโรปริยัตตญาณ คือ ปัญญาเป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยแห่งเวไนยสัตว์
(๒) อาสยานุสยญาณ
คือ ปัญญาเป็นเหตุให้ทรงทราบอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์
(๓) ยมกปาฏิหาริยญาณ คือ ปัญญาแสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ
(๔) มหากรุณาสมาปัตติญาณ
คือ ปัญญาแสดงพระคุณอันยิ่งใหญ่แก่เวไนยสัตว์ (๕)
สมันตจักขุสัพพัญญุตญาณ คือ ปัญญาอันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ (๖) ปัญญารอบรู้ทศพลญาณจักขุญาณอนาวรณญาณ
คือ ปัญญาหยั่งรู้ตลอดทะลุปรุโปร่งไม่มีอะไรกั้นได้
(ดู ปัญญาญาณ ๗๓ ใน พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค
๑ หน้าที่ 18 File 68) อนึ่ง เมื่อผู้ปฏิบัติเริ่มเข้าถึง
ญาณ คือ ปัญญาที่คมชัด ที่เกิดขึ้นในขั้นกำหนดมัคคสัจจ์ นั่นคือ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๕) คือ ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง
ด้วยพิจารณากลาป [กะหลาบ
= กลาปวิปัสสนากลาปสัมมสนะนยวิปัสสนาสมุทายมนสิการ
คือ พิจารณาธรรมเป็นหมวดหมู่] จนมองเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย ที่เรียกว่า
อุทยัพพยานุปัสสนา ซึ่งเป็น ตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ ญาณญาณในวิปัสสนา ที่เกิดขึ้น
๔ อย่าง ได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ ๑ปัจจยปริคคหญาณ
๑สัมมสนญาณ ๑อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
๑ จัดเป็น ๑ ใน วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ได้ ซึ่งมีผลทำให้จิตฟุ้งซ่าน เป็น มิจฉาทิฏฐิ เข้าใจผิดหรือสำคัญตนเองว่าได้บรรลุมรรคผลแล้ว แต่ให้เจริญ อุเบกขาเอกัคคตา ในขณะเดียวกัน คือ วางอารมณ์เป็นกลางใน วิปัสสนูปกิเลส
๑๐ ทั้งหลาย และเลือกใช้เป็นเครื่องมือในวิปัสสนาต่อไป
ซึ่งจะทำให้ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ [ข้อ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙ = กระบวนการทุบขันธ์
๕ วุฏฐานคามินีปฏิปทา
คือ การออกจากสังขารธรรมเพื่อเข้าสู่อริยมรรคให้ได้เป็นที่สุด
= ขันธวินิมุต คือ สภาวะปราศจากขันธ์
หรือ วิวัฏฏะ คือ ภาวะพ้นวัฏฏะ ซึ่งหมายถึง นิพพาน ] กลายเป็น วิปัสสนาญาณ ที่มีกำลังแข็งกล้าด้วยสมาธิและปัญญา
[ฌานวิปัสสนา = สัลเลขธรรม คือ ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส] คือ พลววิปัสสนา แล้วเข้าถึง โลกุตตรธรรม [ภูมิแห่งอริยบุคคล]
ด้วย โคตรภูญาณ คือ มัคคญาณ ๔ และ ผลญาณ ๔
และ นิพพาน ๒
ด้วย ปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณทบทวนกิจในวิปัสสนา
ในอีกนัยหนึ่ง การบรรลุปฏิเวธ [รู้แจ้งแทงตลอด] เข้าถึง
อธิคมธรรมอุตตริมนุสสธรรม หมายถึง ธรรมขั้นบรรลุผลแห่งการปฏิบัติ ๑ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ ๑ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ๑ธรรมล้ำมนุษย์ ๑ ได้แก่ ฌานวิโมกข์สมาบัติมรรคผล หรือเรียกว่า ธรรมวิเศษคุณวิเศษคุณพิเศษ นี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสชี้แนะให้นำธรรมเหล่านี้มาใช้ในการดับทุกข์มากกว่าการนำมาใช้ในการแสดงฤทธิ์ที่เหนืออำนาจธรรมชาติ
เพราะไม่ได้ช่วยในการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและปวงทุกข์ มีผู้ปฏิบัติธรรมจำนวนมากที่เกิดความฟุ้งซ่านในธรรมเหล่านี้
ไม่เข้าใจวิธีนึกคิดพื้นฐานง่ายๆ คือ เห็นแล้วก็เฉยไว้ {ให้นึกคือว่า มันไม่มีอะไรให้วางเฉยไม่ยึดติด คือ อุเบกขา เพราะมีปัญญารอบรู้สภาวธรรมนั้นตามที่เป็นจริง
คือ ให้พิจารณาถึง อนัตตตาสุญญตาความว่างเปล่า นั่นเอง นั่นคือ การรู้เห็นอย่างเท่าทันกิเลสตัณหาทั้งหลาย}
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ให้พิจารณาถึงขั้นตอน
การตรัสรู้สัมโพธิญาณ ที่แยก ธรรม [สภาวะสิ่งปรากฏการณ์] ออกเป็น ๒ ลักษณะ
ได้แก่ (๑) อุปาทินนธรรม คือ ธรรมที่ถูกยึด ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตต์หรือสหรคตด้วย ตัณหา และ ทิฏฐิ เข้ายึดครอง หรือ อุปาทิ [ขันธ์ ๕เบญจขันธ์] คือ สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น หรือ
อุปาทาน
คือ กิเลสเป็นเหตุถือมั่น ความยึดติดถือมั่น ได้แก่ นามขันธ์
๔ ที่เป็น วิบาก และรูปที่เกิดแต่ กรรม ทั้งหมด ซึ่งตรงกับ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ นั่นคือ ดับกิเลส ยังมี ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ เหลืออยู่ ที่เรียกว่า กิเลสปรินิพพาน อันเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทาง
อินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่ และ (๒) อนุปาทินนธรรม คือ ธรรมที่ไม่ถูกยึด ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตต์หรือสหรคตด้วยกิเลส
คือ ตัณหา และ ทิฏฐิ ไม่เข้ายึดครอง
ได้แก่ นามขันธ์
๔ รูปที่มิใช่เกิดแต่ กรรม และ โลกุตตรธรรม ทั้งหมด
ซึ่งตรงกับ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ นั่นคือ ดับกิเลส ไม่มี ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ [อุปาทานขันธ์] เหลืออยู่ ที่เรียกว่า ขันธปรินิพพาน [การดับขันธปรินิพพาน] อันเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว
อย่างไรก็ตาม ข้อพึงสำรวมระวัง คือ การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องการสะสมบารมีที่ค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาที่เป็นแบบก้าวกระโดด ซึ่งอาศัยพลังอำนาจทาง
(๑) สมาธิฌาน [อารัมมณูปนิชฌานการเพ่งอารมณ์จากการเจริญ
กรรมฐาน ๔๐
ได้แก่ ฌานสมาบัติ = สมาธิ ๓]
และ (๒) ปัญญาญาณ [ลักขณูปนิชฌานการเพ่งลักษณะแห่งไตรลักษณ์ ได้แก่
วิปัสสนามรรคผลนิพพาน = วิปัสสนาญาณวิโมกข์ ๓] ที่เข้าสัมปยุตต์กันในขั้นตอน กระบวนการทุบขันธ์ ๕ [วิปัสสนาญาณ ๙มหาวิปัสสนา ๑๘วุฏฐานคามินีปฏิปทา] เพื่อให้เข้าถึง อริยมรรคมัคคญาณ หรือการเข้าสภาวะที่ปราศจากขันธ์
ขันธวินิมุตอนุปาทิเสสนิพพาน [ดับขันธปรินิพพาน] ฉะนั้น (๑)
ความหมั่นเพียร วิริยะ กับ (๒) ความอดทน ขันติ และ (๓) ความรอบรู้ที่คมชัด ปัญญา จึงเป็นปัจจัยสนับสนุน อุปนิสสยปัจจัย กระตุ้นให้เข้าถึงความสำเร็จ [อิทธิฤทธิ์] ในการปฏิบัติธรรม
อย่างไรก็ตาม ในการเจริญโสฬสญาณญาณ ๑๖ นั้น
ให้พิจารณาเปรียบเทียบขั้นตอนการดับกิเลสอีกทางหนึ่งซึ่งตรงกับ
วิสุทธิ ๗ ดังนี้
วิสุทธิ ๗ หมายถึง ความหมดจด ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์
ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน
ได้แก่
(๑)
สีลวิสุทธิ
ความหมดจดแห่งศีล คือ
รักษาศีลตามภูมิขั้นของตนให้บริสุทธิ์ และให้เป็นไปเพื่อสมาธิ
วิสุทธิมัคค์ว่าได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔
(๒)จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา วิสุทธิมัคค์ว่า
ได้แก่ สมาบัติ ๘ พร้อมทั้งอุปจาร
(๓) ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริงเป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้
เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจจ์
[อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์]
(๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] ข้อนี้ตรงกับ ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ และจัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์
(๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง
คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป
จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย [ไตรลักษณ์สามัญลักษณะ ได้แก่ อนิจจังทุกขัง อนัตตา] อันเรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา เป็นตรุณวิปัสสนา คือวิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมี วิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น กำหนดได้ว่าอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแลเป็นทางถูกต้อง
เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถีคือ วิปัสสนาญาณ นั้นต่อไป ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจจ์
(๖)
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน คือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น
เป็นต้นไป จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ต่อแต่นี้ก็จะเกิด
โคตรภูญาณ
คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่ง ความเป็นปุถุชน กับ ความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้
ก็คือ วิปัสสนาญาณ ๙
[กระบวนการทุบขันธ์ ๕]
(๗) ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ใน อริยมรรค ๔มรรคญาณ [ปัญญาอริยะโลกุตตรปัญญา] อันเกิดถัดจาก โคตรภูญาณ เป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้วผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจาก
มรรคญาณ นั้นๆ ความเป็นอริยบุคคล ย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา
หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น มีจุดประสงค์ให้บรรลุถึง
ความเป็นพุทธะจิตคือพุทธะ ได้แก่ (๑) ผู้รู้ คือ ผู้มีปัญญาญาณ (๒) ผู้ตื่น คือ ผู้ครองตนด้วยศีลวัตรที่บริสุทธิ์ ไม่แสวงหาสิ่งที่อกุศลที่ทำให้ตนเดือดร้อน
วิปฏิสาร นั่นคือ อริยปริเยสนา การแสวงหาที่ประเสริฐไม่อยู่ในอำนาจแห่งกองทุกข์ (๓) ผู้เบิกบาน คือ ผู้มีจิตที่ปราศจากนิวรณ์
นั่นคือ จิตประภัสสร
[จิตตาสภาพดั้งเดิม] คุณบทแห่งบุคคลทั้ง ๓ ประการนี้
จึงเป็นการหมั่นประกอบคุณความดี กุสลธัมมานุโยค การปฏิบัติธรรมในทุกขณะนั้น จึงเป็นการยกระดับจิตใจและปัญญาให้สูงขึ้น เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องถึง
[สัมมาทิฏฐิ] การดับกิเลสทั้งหลาย ซึ่งเป็นสมุฏฐานแห่งทุกข์ ด้วย สมาธิ และ ปัญญา อันมีรากฐานมาจาก ศีล ที่บริสุทธิ์ นั่นคือ มีปัญญาที่เข้าใจถึงการประพฤติปฏิบัติด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘มัชฌิมาปฏิทา อันเป็นข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและปวงทุกข์
เมื่อเข้าถึง ภาวะแห่งผู้จำแนกแจกธรรม ดีแล้ว การเจริญภาวนาย่อมถึงขั้น ธรรมสามัคคีญาณสัมปยุตต์ [องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่างๆ
พร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกัน สหชาตธรรม ให้สำเร็จผลในการบรรลุมรรคผล] จิตย่อมแล่นไปสู่ ฌานุเปกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ [อุเบกขาเอกัคคตา] เพราะมีปัญญารอบรู้ที่คมชัด [สติสัมปชัญญะ] ผลที่ตามมา บุคคลนั้นย่อมสามารถบรรลุถึง ความตรัสรู้สัมโพธิญาณ ได้ ซึ่งเป็น อธิปัญญา ที่เป็น ปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ อย่างแท้จริง และเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบด้วย (๑) มัชฌิมาปฏิปทา (๒) อริยมรรคมีองค์ ๘ (๓) อริยสัจจ์ ๔ ปัญญาดังกล่าวนี้ ย่อมส่งผลถึง
ปัญญา ๓ ได้แก่
(๑) จินตามยปัญญา (๒) สุตมยปัญญา
(๓) ภาวนามยปัญญา อันมีอิทธิพลต่อชีวิตอย่างแน่นอน
คือ ย่อมกลายเป็นบุคคลที่ตัดขาดจากการเวียนว่ายตายเกิดในกระแสแห่งโลกธรรมได้
ที่เรียกว่า ภวจักรสังสารจักร [สังสารทุกข์] ซึ่งหมายถึง ผู้รู้แจ้งโลก [โลกวิทู] ย่อมเป็นบุคคลอยู่ในภพภูมิแห่ง ผู้ปราศจากโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา
หรือที่เรียกว่า อริยสาวกอริยสาวิกา แห่งพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นอย่างแท้จริง ประการสุดท้าย
เมื่อเกิด วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ที่เป็น ภาวนามยปัญญา [ปัญญาอริยะปัญญาอริยบุคคล
= อัจฉริยะที่ดับทุกข์แห่งชีวิตได้จริง]
อย่าลืมนำกระบวนการพิจารณาสภาวธรรมไปดัดแปลงประยุกต์ในเชิงสร้างสรรค์
[โยนิโสมนสิการ] กับ จินตามยปัญญาสุตมยปัญญา [ปัญญาอนริยะปัญญาสามัญปัญญาปุถุชน = อัจฉริยะไม่สามารถดับทุกข์แห่งชีวิตได้
เพราะไม่ได้พัฒนากระบวนการคิดด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นคือ
ศีลสมาธิปัญญา อันเป็นเส้นทางสายกลางแห่งปัญญาอันประเสริฐ] คือ ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานทักษะการคิดขั้นสูง (ทิศนา แขมมณี และคณะ: ๒๕๔๙) ซึ่งเป็นองค์ความรู้ทางโลกที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาโดยตรง
ซึ่งมุ่งเน้นการแสวงหาความรู้ที่เป็นวิธีวิทยาศาสตร์ด้วย ระเบียบวิธีการวิจัย [Research Methodology
= เทียบเคียงได้กับปัญญาวิปัสสนา ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ อันเป็น ภาวนามยปัญญา แตกต่างกันที่ว่าประกอบด้วย
อริยมรรคมีองค์ ๘ อนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น
พระบิดาแห่การวิจัยและพัฒนา [The Father of Research and Development] บุคคลแรกในโลก
นั่นคือ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย] รวมทั้งทรงเป็น
พระบิดาแห่งการจัดการความรู้สมัยใหม่ [The Father of Modern Knowledge Management]
แต่ก็น่าเสียดายที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ยังไม่ซึ้งกันเลยในข้อนี้
และปัญญาทั้ง ๓ ดังกล่าวข้างต้นนั้น ย่อมกลายเป็นโลกียทรัพย์และอริยทรัพย์
คือ ต้นทุนทางปัญญา
[Intellectual Capital] ของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัด
คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ในยุคศตวรรษที่ ๒๑
นี้ [โลกยุคโลกาภิวัตน์The Ages
of Globalizations คือ มนุษย์สามารถสื่อสารถ่ายทอดวัฒนธรรมอย่างไร้พรหมแดน อยู่เหนือข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่]
นั่นคือ ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา แต่ในทางพุทธศาสนาพิจารณา คุณค่าความเป็นมนุษย์ โดยใช้เกณฑ์ที่ วิชชา [ความรู้แจ้ง = วิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ] กับ จรณะ [จรณะ ๑๕ = สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗ฌาน
๔] ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องมีแต่เพิ่มคุณภาพทางปัญญาของบุคคล
และการปฏิบัติธรรมก็ทำได้ทุกขณะจิต ถ้ามีความตั้งใจจะทำ เพราะเราทั้งหลายมีชีวิตอยู่ในกระแสแห่งโลกธรรมทั้ง
๘ อยู่แล้ว ที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ จิตใจของเราต้องสงบเย็นเป็นสุขสะอาดผุดผ่องสดใสเบิกบานใจปราศจากนิวรณ์ [บริสุทธิ์เป็นสมาธิและอุเบกขา = อารมณ์พระอรหันต์] และไพบูลย์ด้วย
อภิญญาธรรม [ปัญญาญาณรู้แจ้ง] กับ เมตตาธรรม [เมตตากรุณา] ที่มั่นคงเป็นสรณะที่พึ่งแห่งจิตวิญญาณใน มัชฌิมาปฏิปทาอริยมรรคมีองค์ ๘ [ญายธรรม คือ ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือ ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง
ได้แก่ นิพพาน] อันเป็นธรรมแห่งสัตบุรุษ
ที่เรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ ดังนี้
สัปปุริสธรรม ๗ หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี
ธรรมของผู้ดี ได้แก่
(๑) ธัมมัญญุตา ความรู้จักธรรม
(๒) อัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ ประโยชน์ ความมุ่งหมาย
(๓) อัตตัญญุตา ความรู้จักตน
(๔) มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ
(๕) กาลัญญุตา ความรู้จักกาล
(๖) ปริสัญญุตา ความรู้จักบริษัทชุมชน
(๗) ปุคคลัญญุตาปุคคลปโรปรัญญุตา ความรู้จักบุคคล
และรวมทั้งความเป็นผู้แกล้วกล้า ผู้อาจหาญไม่ครั่นคร้าม
หรือไม่กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงามแห่งภาวะที่เจริญ ที่เรียกว่า
เวสารัชชกรณธรรม ๕ หมายถึง ธรรมทำความกล้าหาญ คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า ทำให้อยู่ในภาวะผู้นำได้
นั่นคือ ความเป็นผู้รู้ นักวิชาการ และ พรั่งพร้อมด้วยศีลธรรมกับจริยธรรม
นี้คือ สัตบุรุษแห่งศตวรรษใหม่ ข้อนี้ให้ใคร่ครวญให้มากในฐานที่เป็นพุทธมามกะที่แท้จริง
ดังนี้
เวสารัชชกรณธรรม
๕ หมายถึง ธรรมทำความกล้าหาญ
คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า ทำให้อยู่ในภาวะผู้นำได้
ได้แก่
(๑)
ศรัทธา ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจเลื่อมใสในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ หรือ ปสาทะ คือ ความแจ่มใสโปร่งโล่งเบิกบาน ปราศจากความอึดอัดขัดข้องขุ่นมัว
โดยเกิดความรู้สึกชื่นชมนิยมนับถือในพระรัตนตรัย
= สัทธานุสารี [ผู้แล่นไปตามศรัทธา
ผู้มีสัทธินทรีย์แก่กล้า คือ สัทธา ๔ ได้แก่ กัมมสัทธาวิปากสัทธากัมมัสสกตาสัทธาตถาคตโพธิสัทธา]
(๒)ศีล ความประพฤติถูกต้องดีงาม
ไม่ผิดระเบียบวินัย ไม่ผิดศีลธรรม = สัตบุรุษ [สนฺโต ได้แก่ บัณฑิต
คือ สัตบุรุษ ผู้เป็นอริยะ นั่นคือ ผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ
มีการสดับมาก มีความเพียร มีสติ มีปัญญา] หรือ
สปฺปุรโส หมายถึง อุดมบุรุษคือบุรุษผู้สูงที่สุด นั่นคือ สฺปฺปุริเสน สปฺปุริสตโร คือ ผู้ประกอบพร้อมด้วยความเป็นผู้มีศีลดีที่ตนแองกระทำแล้ว
(๓) พาหุสัจจะ
ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก = พหูสูต
[พหูสูตผู้ทรงธรรม ฉลาดในปัจจยาการ แกล้วกล้าในจตุราริยสัจ
มีปัญญาละเอียด แสดงธรรมได้วิจิตร ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
นั่นคือ พหูสูตมีองค์ ๕ ได้แก่ ๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก ๒. ธตา ทรงจำไว้ได้
๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก ๔. มนสานุเปกฺขิตา
เจนใจ ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี]
(๔) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร นั่นคือ การที่ได้เริ่มลงมือทำความเพียรพยายามในกิจการนั้นๆ
อยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง เช่น เมื่อทำความเพียรอยู่ คือ ย่อมเสพ ย่อมเจริญ เมื่อทำความเพียรบ่อยๆ คือ
ทำให้มาก เมื่อทำตั้งแต่ต้นนั้นเลย คือ ย่อมปรารภ เมื่อทำบ่อยๆ คือ ปรารภด้วยดี เมื่อซ่องเสพด้วยสามารถแห่งภาวนา
คือ ย่อมเสพ
เมื่อให้เจริญอยู่ ย่อมเจริญ
เมื่อทำสิ่งนั้นในกิจทั้งปวงให้มาก คือ ย่อมกระทำให้มาก หรือ สัมมัปปธาน ๔ปธาน
๔ คือ ความเพียรใหญ่ ได้แก่ สังวรปธานปหานปธานภาวนาปธานอนุรักขนาปธาน = โยคาวจรขีณาสพ [พระเสขะ
คือ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล]
(๕) ปัญญา ความรอบรู้ เข้าใจชัดในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์
เป็นต้น รู้คิด รู้วินิจฉัย และรู้ที่จะจัดการ = ปฏิสัมภิทัปปัตตะ [ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
๔ คือ ปัญญาแตกฉาน ได้แก่ ๑. อัตถปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในอรรถ
๒. ธัมมปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในธรรม
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในภาษา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ]
{ดูเปรียบเทียบกับ (๑) อริยทรัพย์ ๗ คือ ๑. ศรัทธาความเชื่อที่มีเหตุผลมั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ ๒. ศีลการรักษากายวาจาให้เรียบร้อยประพฤติถูกต้องดีงาม ๓. หิริความละอายใจต่อการทำความชั่ว
๔. โอตตัปปะความเกรงกลัวต่อความชั่ว
๕. พาหุสัจจะความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ๖. จาคะความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ๗. ปัญญาความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล
และ (๒) สัปปุริสธรรม ๗ ดังกล่าวข้างต้น และความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา คือ (๓) พหูสูตมีองค์ ๕ [พาหุสัจจะ] หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่าเป็นพหูสูต คือ ผู้ได้เรียนรู้มากหรือคงแก่เรียน
ได้แก่ ๑. พหุสฺสุตา ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก ๒. ธตา จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ ๓. วจสา ปริจิตา
คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่องจัดเจน ๔. มนสานุเปกฺขิตา
เพ่งขึ้นใจ คือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ
นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัด ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา
ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือแทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ มีความเข้าใจลึกซึ้งมองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา
ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล}
ก็และแล้ว คนทั้งหลายส่วนใหญ่ในสังคมที่ยังไม่พิการหรือล้มป่วย
ก็ยังไม่ยอมประกาศตนเป็น พุทธมามกะ คือ ผู้ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน
อย่างจริงจังอีก บางคนไม่ยอมแสดงปัญญาแห่งพุทธะได้
เพราะไม่รู้จริง อวิชชา [โมหะ] เป็นที่อับอายในสาธารณะ
ฉะนั้น อย่าแสดงตนว่าเป็นเพียงพุทธศาสนิกชนผู้ไม่เข้าใจในพระธรรมอะไรเลยดีกว่า
สิ่งนั้นเป็นการเริ่มต้นก็โกหกตัวเองเสียแล้ว ท่านทั้งหลายยังมีเวลาไม่มากนักที่จะใฝ่รู้ในพระธรรมวินัยนี้
เดี๋ยวพวกชาวบ้านก็พากันหามเข้าป่าช้า ถ้าโชคดีก่อนตาย ก็ได้เห็นหน้าญาติๆ
ที่รัก ฉะนั้น อย่าประมาท ให้มารู้จักและเข้าใจคำว่า เห็นตายก่อนตายเห็นนิพพานก่อนนิพพาน ดีกว่า.
ปัจฉิมบท บทที่ ๔ ว่าด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา
เมื่อจัดระดับองค์ความรู้ในบทที่ ๔ คือ การเจริญวิปัสสนาภาวนา ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรมแก่นสำคัญ ได้แก่ (๑) มัชฌิมาปฏิปทา (๒) อริยมรรคมีองค์
๘ (๓) อริยสัจจ์ ๔ (๔) ภาวนา ๔ (๕) ไตรสิกขา (๖) ภาวนา ๒ (๗) วิสุทธิ
๗ (๘) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ให้พิจารณาตามหัวข้อตัวหนา ตัวเอนหนา
ตัวเอนปกติ

ภาพประกอบ ๘:
ภาพองค์รวมเชิงโครงสร้างและระบบแห่งพุทธธรรมด้านวิปัสสนาภาวนา
ผู้ปฏิบัติธรรมได้เข้าถึงหลักธรรมสำคัญครบ
๘ ระดับ อย่างครบถ้วนระบบการเจริญภาวนากรรมฐาน ได้แก่ (๑) มัชฌิมาปฏิปทา
(๒) อริยมรรคมีองค์ ๘ (๓) อริยสัจจ์ ๔ (๔) ภาวนา ๔ (๕) ไตรสิกขา
(๖) ภาวนา ๒ (๗) วิสุทธิ ๗ และ (๘) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ พร้อมด้วยสัมปยุตตธรรมอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรม การเจริญวิปัสสนาภาวนา (วิปัสสนาธรรม) ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรมย่อย
ได้แก่ (๑) สัญเจตนา ๖ (๒) อายตนะภายใน ๖อินทรีย์ ๖ (๓) อายตนะภายนอก ๖อารมณ์ ๖ (๔) ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานทักษะการคิดขั้นสูง
(๕) ธุตธรรม ๕ (๖) โสฬสญาณญาณ ๑๖ (๗) อนุวิปัสสนา
๗ปัญญา ๑๐ (๘) มหาวิปัสสนา ๑๘ (๙) อริยมรรค
๔มัคคญาณ ๔ (๑๐) สังโยชน์ ๑๐ (๑๑) ผลญาณ
๔ (๑๒) อริยบุคคล ๔ (๑๓) สมสีสี ๔ (๑๔) นิโรธ ๕ (๑๕) ปัจจเวกขณญาณกิจในปัจจเวกขณญาณ
๑๙ (๑๖) อริยสัจจ์ ๔ (๑๗) กิจในอริยสัจจ์ ๔ (๑๘) ญาณ ๓ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์
๓อาการ ๑๒ (๑๙) นิพพาน ๒ (๒๐) วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ (๒๑) ปฏิจจสมุปบาทปฏิจจสมุปปันนธรรม (๒๒) ปัจจัย ๒๔ (๒๓) อวิชชา ๔ (๒๔) อวิชชา ๘ (๒๕) อวิชชามีลักษณะ
๒๕ (๒๖) วิชชา ๓ญาณ ๓ (๒๗) อภิญญา ๖ (๒๘)
วิชชา ๘ (๒๙) จักขุ ๕ (๓๐) วิสุทธิ ๗ (๓๑) สัปปุริสธรรม ๗ (๓๒)
เวสารัชชกรณธรรม ๕ และ (๓๓) พหูสูตมีองค์ ๕ รวมทั้ง
เบญจขันธ์ [ขันธ์ ๕ = องค์ความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับนามรูป
หรือ รูปธรรมกับนามธรรม ที่กลายเป็น อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] ในภาคผนวก ซึ่งเป็นรายละเอียดที่ต้องพิจารณาอย่างลึกซึ้งอย่างจริงจัง
เพราะเป็นฐานให้เข้าใจถึง อริยสัจจ์
๔ อีกทางหนึ่ง
ในประการสำคัญ ให้พิจารณาถึงการที่ธรรมทั้งหลายที่มาประชุมรวมกันจนทำให้เกิด
ปัญญาเห็นธรรม และ ปัญญาตรัสรู้ ได้นั้น
ย่อมเป็นธรรมคู่ที่เกิดรวมกัน คือ ปัสสัทธิยุคฬาทิ คือ องค์ธรรมอันเป็นคู่ๆ ที่มีลักษณะเป็นคู่แห่งความสงบคู่กัน นั่นคือ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง
(๑) สมถธรรม ได้แก่ สมาธิฌานรูปฌาน
๔ กับ (๒) วิปัสสนาธรรม ได้แก่ วิปัสสนาญาณโสฬสญาณญาณ ๑๖ ซึ่งต้องสัมปยุตต์กับ วิสุทธิ ๗ จนสามารถตรัสรู้ถึง อริยสัจจ์ ๔ ได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีคิดแบบ
โยนิโสมนสิการ
ที่สัมพันธ์กับ (๑) ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานทักษะการคิดขั้นสูง กับ (๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ที่เกิดขึ้นใน โสฬสญาณญาณ ๑๖ ซึ่งสามารถอธิบาย
สภาวะที่ปราศจากกิเลสทั้งหลายและปวงทุกข์ [นิพพาน หรือ วิวฏะวิวัฏฏะ คือ สภาวะปราศจากวัฏฏะ] ที่เรียกว่า นิโรธ ๕
แต่ประการสำคัญ การพิจารณา (๑) นามรูปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็นเรื่อง สภาวธรรมแห่งเบญจขันธ์ ทั้งระบบ ซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นพิเศษจนกว่าจะเข้าใจได้แจ่มชัด และ (๒)
ปัจจยปริคคหญาณ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ปฏิจจสมุบาทปฏิจจสมุปปันนธรรม โดยตรง ที่ผู้ปฏิบัติธรรมจักต้องจดจำข้อหลักธรรมย่อยทั้งหมดให้ได้ ซึ่งเป็น
กระบวนการคิดอย่างถูกวิธี ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ โดยย่อ การเจริญภาวนาจะประกอบด้วย ฌานวิโมกข์สมาธิสมาบัติมรรคผลอภิญญาปฏิสัมภิทา อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมต้องพิจารณาเห็นขั้นตอน
การตรัสรู้อริยธรรม [อริยศีลอริยสมาธิอริยปัญญาอริยวิมุตติ] นี้ ที่เรียกว่า อาสวักขยญาณ [ปัญญาตรัสรู้] จนพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันยิ่งใน สัจจภาวะแห่งนิพพาน ให้ได้.
กระบวนการพัฒนาความคิดในพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงแสดงนัยแห่งกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นใน วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ได้แก่
(๑)
โยนิโสมนสิการ คือ ความฉลาดแยบคายด้วยอุบายกลยุทธ์วิธี [โกศล
๓ คือ ความฉลาดใน อบายอุบายอุปาย] ในการแก้ไขปัญหาด้วยการไตร่ตรองหาเหตุผลที่ครอบคลุมขอบเขตปัญหาทุกมิติความสัมพันธ์ในเชิงปัจจัยแห่งปฏิจจสมุปบาท
ประกอบด้วยองค์ความรู้อันเป็นความเฉลียวฉลาดชำนาญการ [ปฏิสัมภิทา
๔ คือ ปัญญาแตกฉานในความหมาย ข้อธรรม
ภาษา และปฏิภาณ] ใน อริยสัจจ์ ๔ [ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค] และ ญาณ ๓ หมายถึง ความหยั่งรู้ ปรีชาหยั่งรู้
ได้แก่ (๑) อตีตังสญาณ
คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต รู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้
(๒) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต รู้อนาคต
หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ (๓) ปัจจุปปันนังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน กำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่
= อริยสัจจ์ ๔ ญาณ ๓ [กาล ๓] ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ซึ่งตรงกันข้ามกับ อวิชชา ๔อวิชชา ๘
(๒)อนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ การคิดคล้อยตามจากเหตุไปหาผล
เช่น อวิชชา เป็นเหตุแห่งผลวิบากที่อกุศล คือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส = ปัจจยปริคคหญาณ
[ทุกขสมุทยญาณ]
คำว่า อนุโลม
หมายถึง การลงความเห็นข้อสรุปเป็นกฎพื้นฐานทั่วไป เป็นขั้นตอนการใช้เหตุผลโดยอาศัยการเทียบเคียง
[Analogy] และการเรียบเทียบ [Comparison]
หรือเป็นการหาเหตุผลเชิงวิเคราะห์แบบนิรนัย [Deduction]
คือ วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนรวมไปหาส่วยย่อย
(๓) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท คือ การคิดย้อนกลับว่าจะดับแห่งทุกข์ได้อย่างไร นั่นคือ ดับที่ต้นเหตุ คือ อวิชชา แล้วจะทำให้ผลวิบากแห่งอกุศล ย่อมดับไปด้วย
คือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส = ทุกขนิโรธญาณ คำว่า ปฏิโลม หมายถึง การลงความเห็นข้อสรุปเป็นกฎพื้นฐานทั่วไป
เป็นขั้นตอนการใช้เหตุผลโดยการคิดทวนย้อนกลับและอาศัยการเทียบเคียง
[Analogy] และการเรียบเทียบ [Comparison]
หรือเป็นการหาเหตุผลเชิงสังเคราะห์แบบอุปนัย [Induction] คือ วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วยย่อยไปหาส่วนรวม
(๔) อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ คือ ญาณทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรคทั้ง ๘ ประการ ซึ่งเป็นความรู้แจ้งเห็นจริง
[ปฏิเวธะ] ในการเจริญอริยมรรคมีองค์
๘ ถ้าไม่เข้าใจในเรื่อง การปฏิบัติธรรมย่อมล้มเหลว เพราะเป็นหัวใจสำคัญแห่งบาทวิถีตามหลัก
มัชฌิมาปฏิปทา กับ วิสุทธิ ๗ = อริยมรรคมีองค์
๘
(๕) ฌานวิโมกข์ญาณวิโมกข์ คือ ความหลุดพ้นทั้งฝ่าย เจโตวิมุตติ [สมาธิ ๓] กับฝ่าย ปัญญาวิมุตติ [วิโมกข์
๓] ตามข้อหลุดพ้นโดยไตรลักษณ์ ที่เรียกว่า
สามัญลักษณะ: อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา นั่นคือ
วิปัสสนา ที่การลงข้อสรุปทั่วไปอันเป็น ลักษณะสากล [Universality] แห่งกฎธรรมชาติ ได้แก่ สุญญตะอนิมิตตะอัปปณิหิตะ แล้วดำเนินการด้วย มรรค คือ อริยสัจจ์
๔ และกิจอันเป็น การระงับปโยคะในอริยสัจจ์
๔ ที่ประกอบด้วย กิจในอริยสัจจ์
๔ = สังวรปหานสัจจิกิริยาภาวนา กับ ญาณ ๓ = สัจจญาณกิจจญาณกตญาณ เพื่อให้เห็น ผล ในลักษณะอันเป็น สัจจภาวะของนิพพานสันติบทนิพพานบทอมตธาตุ
ในขณะเดียวกัน ก็เห็นรู้แจ้งในเรื่อง ลักษณะเฉพาะตน [Uniqueness] คือ ปัจจัตตลักษณะ ซึ่งเป็นขั้นตอนกระบวนวิธีคิดใน อนุโลมปฏิจจสมุปบาท และ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท อีกขั้นหนึ่ง = สัมมสนญาณ วิปัสสนาญาณ ๙
ซึ่งทั้งหมดทุกข้อรวมกันจะกลายเป็นขั้นตอนในการหาเหตุผลและการใช้เหตุผลประกอบขั้นตอนการตัดสินใจ
โดยมีสมุฏฐานคือ การใช้ปัญญาสามัญกับปัญญาญาณประกอบกัน แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดทางพุทธศาสนาถือองค์ความรู้ที่เกิดจากการเจริญภาวนา
คือ ภาวนามยปัญญา เป็น อธิปัญญา ที่สูงกว่า จินตามยปัญญา กับ สุตมยปัญญา ที่เป็นขั้นตอนต่างๆ ใน วิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ [Methods of Acquiring Knowledge: ธรรมนัด โถบำรุง.
ใน Baanjomyut.Com: 2557] หมายถึง
ความรู้ต่างๆของมนุษย์ประกอบด้วยข้อเท็จจริงและทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจ
สามารถที่จะอธิบาย ควบคุมหรือพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
การแสวงหาความรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยสติปัญญาและการฝึกฝนทักษะต่างๆ
คือ ความสืบเนื่องในตน โดย โยนิโสมนสิการ ซึ่งกลายเป็นองค์ความรู้สืบต่อใน ภาวนามยปัญญา ต่อไป วิธีเสาะแสวงหาความรู้ของมนุษย์ จำแนกได้ ดังนี้
(๑) การสอบถามจากผู้รู้ [Authority] เช่นในสมัยโบราณ เมื่อเกิดน้ำท่วมหรือโรคระบาด
ผู้คนก็จะ ถามผู้ที่เกิดก่อนว่าจะทำอย่างไร ซึ่งในสมัยนั้นผู้ที่เกิดก่อนก็จะแนะนำให้ทำพิธีสวดมนต์อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
ปัจจุบันก็มีการแสวงหาความรู้ที่ใช้วิธีการสอบถามจากผู้รู้ เช่น
ผู้พิพากษาในศาลเวลาตัดสินคดีเกี่ยวกับการปลอมแปลงลายมือยังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านลายมือให้ช่วยตรวจสอบให้
ข้อควรระมัดระวังในการเสาะแสวงหาความรู้โดยการสอบถามจากผู้รู้คือต้องมั่นใจว่าผู้รู้นั้นเป็นผู้รู้ในเรื่องที่จะสอบถามอย่างแท้จริง
(๒) การศึกษาจากขนบธรรมเนียมประเพณี [Tradition] วิธีการเสาะแสวงหาความรู้ของมนุษย์อีก
วิธีหนึ่งที่ใกล้เคียงกันกับการสอบถามจากผู้รู้ก็คือการศึกษาจากขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมต่างๆ
เช่น ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายประจำชาติต่างๆ ซึ่งผู้ใช้วิธีการแสวงหาความรู้แบบนี้ต้องตระหนักว่า
สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตจนเป็นขนบธรรมเนียมนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงตรงเสมอไป
ถ้าศึกษาเหตุการณ์ต่างๆทางด้านประวัติศาสตร์ จะพบว่ามีข้อปฏิบัติหรือทฤษฎีต่างๆ
ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น ซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันมาหลายปี
และพบข้อเท็จจริงในภายหลังถึงความผิดพลาดข้อปฏิบัติหรือทฤษฎีเหล่านั้นก็ต้องยกเลิกไป
ดังนั้น ผู้ที่จะใช้วิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยการศึกษาจากขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น
ควรจะได้นำมาประเมินอย่างรอบคอบเสียก่อน ที่จะยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
มิฉะนั้น จะกลายเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบด้วยข้อผิดพลาด
(๓) การใช้ประสบการณ์ [Experience] วิธีการเสาะแสวงหาความรู้ที่มนุษย์การใช้กันอยู่บ่อยๆ
คือ การใช้ประสบการณ์ตรงของตนเอง
เมื่อเผชิญปัญหามนุษย์พยายามที่จะค้นคว้าหาคำตอบในการแก้ปัญหาโดยใช้ประสบการณ์ตรงของตนเองที่เคยประสบมา
เช่น เด็กมักจะมีคำถามมาถามครู บิดามารดา ญาติผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า
[ปราชญ์ผู้รู้] บุคลเหล่านั้นมักจะใช้ประสบการณ์ตรงของตนเองในการตอบคำถามหรือแก้ปัญหาให้กับเด็ก
การใช้ประสบการณ์ตรงนั้นเป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้ได้ข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องได้
(๔) วิธีการอนุมาน [Deductive Method] การเสาะแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการอนุมานนี้เป็น
กระบวนการคิดค้นจากเรื่องทั่วๆไป ไปสู่เรื่องเฉพาะเจาะจง หรือคิดจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อย
จากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ วิธีการอนุมานนี้ประกอบด้วย ข้อเท็จจริงใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่แล้วในตัวมันเอง ข้อเท็จจริงย่อย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับกรณีของข้อเท็จจริงย่อย
และ ข้อสรุป [Conclusion] ถ้าข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อยเป็นจริง
ข้อสรุปก็จะต้องเป็นจริง เช่น ข้อนำเสนอ คือ สัตว์ทุกชนิดต้องตาย
แมวเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ข้อสรุป คือ
แมวต้องตาย
(๕) วิธีการอุปมาน [Inductive Method] จะเริ่มจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่
วิธีการอุปมานนี้อาจ จะจัดแยกเป็น ๒ ชนิด [การพรรณนาความจริงตามข้อมูลเชิงอุปนัย = Objective Descriptivism ที่เรียกว่า กระบวนการค้นหาความจริง = Discovery Procedures] ได้แก่ (๑) วิธีการอุปมานแบบสมบูรณ์
[Perfect Inductive Method] เป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อยๆ
จากทุกหน่วยของกลุ่มประชากร [การหาค่าพารามิเตอร์]
จึงสรุปไปสู่ส่วนใหญ่ เช่น ต้องการทราบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดนี้นับถือศาสนาอะไร
ก็ต้องมาถามจากผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนี้ว่า ทุกคนนับถือศาสนาอะไร
แล้วจึงนำมาสรุปรวมว่า ผู้ที่อาศัยในจังหวัดนี้ นับถือศาสนาอะไรบ้าง
และ (๒) วิธีการอุปมานแบบไม่สมบูรณ์ [Imperfect
Inductive Method] เป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อยๆ
จากบางส่วนของกลุ่มประชากรแล้วสรุปรวมไปสู่ส่วนใหญ่ [การสุ่มตัวอย่าง]
ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงย่อยๆ
จากทุกๆ หน่วยของกลุ่มประชากร จึงใช้วิธีรวบรวมข้อเท็จจริงย่อยๆ
จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากร
(๖) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ [Scientific Method] เป็นวิธีการแสวงหาความรู้โดยใช้หลักการของ
วิธีการอุปมาน
และ วิธีการอนุมาน มาผสมผสานกัน [วิธีตามขั้นตอนการวิจัย = ระเบียบวิธีการวิจัย Research
Methodology] โดยมีขั้นตอนการเสาะแสวงหาความรู้โดยเริ่มจากการที่มนุษย์เริ่มเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อยจากประสบการณ์ตรง
ความรู้เก่าๆ และการสังเกต เป็นต้น จนกระทั่งรวบรวมแนวความคิดเป็นแนวความรู้ต่างๆ
ที่สมมติขึ้นมา ซึ่งเป็น วิธีการอุปมาน และหลังจากนั้นก็ใช้ วิธีการอนุมาน ในการแสวงหาความรู้ทั่วไป โดยเริ่มจาก สมมติฐาน ซึ่งเป็นส่วนรวม แล้วศึกษาไปถึงส่วนย่อยๆ เพื่อที่จะศึกษาถึงการหาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวม
เพื่อให้ได้ ข้อสรุป ของความรู้ต่างๆ ฉะนั้น ในปัจจุบัน
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
เป็นวิธีการแสะแสวงหาความรู้ที่ดีในการแก้ ปัญหาต่างๆ ไม่เพียงแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เท่านั้น
แต่ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางสังคมได้ด้วย แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญญาทางชีวิตได้อย่างสมบูรณ์
ซึ่งต้องอาศัยปัญญาทางพุทธศาสนามากกว่า
ฉะนั้น วิธีการทางวิทยาศาสตร์ [Scientific
Method] จึงเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ของมวลมนุษยชาติ
ที่ถือว่าดีที่สุดในสมัยปัจจุบัน แต่ต้องอาศัยนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณ
ซึ่งหมายถึง วิธีการอนุมาน [Deductive Method] ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ให้เห็นหมวดหมู่ของข้อมูล และ วิธีการอุปมาน [Inductive Method] ซึ่งเป็นการสังเคราะห์ลงความเห็นเป็น กฎ [Rules] ที่อธิบายปรากฏการณ์หนึ่งๆ ที่เกิดขึ้น ตามข้อสมมติฐานที่ตั้งขึ้น
ซึ่งหมายถึง โยนิโสมนสิการ ที่เรียกว่า จินตามยปัญญา ที่เกิดจากการรวบรวมชุดข้อมูลของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง ที่จำกัดขอบเขตในการศึกษาค้นคว้าในแต่ละครั้ง
อันรวบถึงการค้นคว้าสืบหาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ มาประกอบการวิจัยในครั้งนั้นๆ
ที่มาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งหมายถึง สุตมยปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีวิจัยที่อาศัยปัญญาความรู้จากผู้รู้ในการพยากรณ์ปรากฏการณ์ของปัญหา
ที่เรียกว่า เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ
EDFR [Ethnographic Delphi Futures Research] ซึ่ง
จุมพล พูลภัทรชีวิน [Ph.D.] ประจำภาควิชาสารัตถศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.
๒๕๒๒ โดยเป็นการผสมผสานระหว่าง เทคนิคการวิจัยอนาคตเชิงมานุษยวิทยาแบบ EFR [Ethnographic Futures
Research] และ เทคนิคเดลฟาย [Delphi Technique] เข้าด้วยกัน สรุปง่ายๆ คือ การรวบรวมความคิดของผู้เป็นกัลยาณมิตรเข้าด้วยกัน
แล้วสรุปข้อประเด็นสำคัญออกมา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ลักษณะของงานวิจัยอนาคตแบบ
EDFR มีดังนี้
(๑) เป็นวิจัยที่เป็นพหุมิติ หลายเรื่องหลายปัญหาเกี่ยวข้องกัน
ปัญหาจะกระทบกันหมด นโยบายจำเป็นต้องมีลักษณะเป็นหลายมิติ [MultiDimensions]
ฉะนั้น เมื่อเอ่ยถึงการวัด ก็จะเกิดความหนักใจ เพราะมีหลายตัวแปรหลายปัญหา
(๒) เป็นการวิจัยที่มุ่งการพิจารณาข้อสรุปที่ใช้หลักเหตุผลที่สอดคล้องกับข้อมูล
คือ มีลักษณะเป็น วิธีการอุปมาน
[Inductive Method] และการสังเกตเชิงประจักษ์ [Empirical
Observation] เพราะการกำหนดนโยบายต้องมีที่มา
และมีข้อมูลประจักษ์สนับสนุนเชิงปริมาณ [Objectivism]
(๓) เน้นความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ทำแล้วต้องดูผู้ใช้ที่สำคัญ
จึงจะไม่มีปัญหาว่าไม่ตอบสนองผู้ใช้
(๔) เน้นตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงได้ เพราะนโยบายทุกอย่างต้องมีการจัดกระทำ
[Manipulation] หากจัดกระทำไม่ได้
ก็ไม่สามารถทำอย่างอื่นต่อไปได้
(๕) การวิจัยพวกนี้ต้องยอมรับคุณค่าและอำนาจในการตัดสินใจของผู้วิจัย
เราจะไปบีบบังคับให้ตัดสินใจไม่ได้ หน้าที่ผู้วิจัยคือให้เขาได้รับข้อมูลผู้บริหาร
เขาจะตัดสินใจอย่างไรก็ได้ คุณค่าของผู้วิจัยอยู่ที่ความชัดเจนของจุดยืนที่เราสนใจ
และต้องยอมรับอคติที่ผู้วิจัยมีด้วย
ฉะนั้น นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ปราชญ์ หรือ
ผู้รู้ชำนาญการทางโลกนั้น ส่วนใหญ่แล้วไม่สามารถเข้าถึง คุณวิเศษแห่งพุทธะ ได้ เพราะไม่สามารถทำจิตใจให้หมดจดบริสุทธิ์จากอำนาจกิเลสตัณหาได้ [วิสุทธิ ๗] การได้ความรู้ไปย่อมนำไปต่อยอดทำมาหากิจเช่นปุถุชนทั่วไป
คือ ยิ่งไปเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า ที่เรียกว่า เบียดเบียนผู้อื่น จิตย่อมประกอบด้วยความไม่ละอายต่อบาป
ความไม่เกรงกลัวต่อบาป (หิริโอตตัปปะ) แถมร้ายซ้ำจิตปราศจากเมตตาธรรม
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ปุถุชนทั่วไปที่ไม่ได้ถือปฏิบัติธรรมจริงจัง
สภาวะจิตพื้นฐานมักไม่มี เนกขัมมะอพยาบาทอวิหิงสา = มิจฉาทิฏฐิ อยากทำอะไรก็ทำตามอำเภอใจ ไม่ได้คิดถึงใจเขาใจเรามากเท่าไหร่ เจตนาในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้บรรลุถึง
คุณวิเศษ นั้น จึงเป็นเรื่องที่ยังไม่บริสุทธิ์ ยังเป็น ธรรมดำ ไม่ใช่ ธรรมขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มักเป็นคุณานิสงส์จากการเจริญ ฌานสมาบัติ มากกว่า คือ อำนาจพลังแห่งสมาธิ ไม่ปัญญา แต่ถ้าบรรลุได้ในธรรมคุณดังกล่าวนั้น ก็เป็นเพียง ห้วงเวลาในช่วงที่จิตเป็น
มิจฉาวิริยะมิจฉาสติมิจฉาสมาธิ
อันจะทำให้เกิด มิจฉาญาณมิจฉาวิมุตติ พร้อมด้วย มิจฉาทิฏฐิมิจฉาสังกัปปะ ซึ่งเป็นเรื่องกลับวกเวียนในสังสารจักร ไม่ใช่เรื่องความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
คือ ประกอบด้วย มิจฉาวาจามิจฉากัมมันตะมิจฉาอาชีวะ นั่นเอง ดังเช่น นักธุรกิจเข้าวัดปฏิบัติธรรมเพื่อให้ธุรกิจมีกำไรมากยิ่งขึ้น
แล้วจะเอารัดเอาเปรียบคู่แข่งการค้าได้อย่างไร ประเด็นนี้ต้องหมั่นมนสิการใน
กัมมัสสกตา [กฎแห่งกรรมของสัตว์]
จิตจะได้ละออกจาก นิวรณธรรม [นิวรณ์ ๕] หรือ จิตตอุปกิเลส [อุปกิเลส
๑๖] ซึ่งกำจัดได้ด้วยการเจริญฌานสมาธิ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากศีลที่บริสุทธิ์
นักธุรกิจทรงศีล จึงเป็นภาวะจิตที่ทำได้ยาก รวมทั้งนักวิชาการทรงศีลก็เป็นได้ยากเช่นกัน
ก็ให้มนสิการใน สัมมาอาชีวะ
เป็นหลักเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติ ฉะนั้น เจ้าชายสิทธัตถะ
ผู้โคตม จึงทรงดำริเสด็จออกผนวช
[เนกขัมมปรมัตถบารมี = การปลีกวิเวกออกจากกามคุณเพื่อหาความสงบ]
เพื่อไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลก คนทุกคนใช่ว่าจะตัดสินใจหนักแน่นได้เช่นพระองค์
ถึงทำได้บางคนก็ยังทำได้ไม่ถึงที่สุดก็มี ฉะนั้น ภาวนามยปัญญา
ที่เกิดขึ้นในการเจริญภาวนา จึงเป็นเรื่องการบำเพ็ญบารมีเฉพาะตน
ยากที่ผู้อื่นจะเข้าใจได้ ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการนักวิทยาศาสตร์ผู้ชำนาญการผู้รู้ทางโลก จึงมักปฏิเสธองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นการเจริญภาวนา เนื่องจาก ปราศจากปรีชาความรู้ที่สามารถข้าม
พรหมแดนแห่งองค์ความรู้
ระหว่าง โลกียธรรม
กับ โลกุตตรธรรม เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจประเด็น สมาธิภาวนา ๔ คือ วิธีฝึกสมาธิแบบต่างๆ จำแนกตามวัตถุประสงค์
ได้แก่ (๑) เพื่อเข้าถึงความสุขในปัจจุบัน
ธรรมสุขวิหารธรรม [ความสุขในปัจจุบัน] ไม่ใช่ความร่ำรวยด้วยโภคทรัพย์
หรือมัวเมาในกามคุณ (๒) เพื่อเข้าถึงญาณทัสสนะ [วิปัสสนาญาณ] (๓) เพื่อเข้าถึงสติและสัมปชัญญะ
[อัปปมาทะ] และ (๔) เพื่อเข้าถึงอาสวักขยะแห่งความสิ้นอาสวะ [นิพพานวิวฏะอภิสมัย]
อย่างไรก็ตาม การครองชีวิตในฆราวาสนั้น ก็ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ฆราวาสธรรมดีกว่า
ไม่ใช่ทำตนเป็นบรรพชิต เดี๋ยวจะกลายเป็น สมณกุตก์ คนที่ทำอย่างสมณะ หรือ ตาเถน คือ นักบวชที่เป็นอลัชชี โกนศีรษะไว้จุก ใช้ผ้ากาสาวพัสตร์ ผืนหนึ่งนุ่ง
อีกผืนหนึ่งพาดบ่า อาศัยตามวัดอยู่กินอาหารเหลือจากพระ กล่าวโดยสรุป
ในการแสวงหาความรู้ในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าเป็น ผู้ต่อยอดความรู้และปัญญา ใน ๒ สาระต่อไปนี้
(๑) ปัญญาทางโลก คือ จินตามยปัญญาสุตมยปัญญา กับ (๒) ฌานสมาบัติ [ความรู้ฤษีดาบส] เพื่อต่อยอดปัญญาให้เกิด
ภาวนามยปัญญา เพราะฉะนั้น ทักษะการต่อยอดปัญญา ให้สูงขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในเจริญภาวนา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นทำขึ้นใหม่ในเรื่องเดียวกัน.
|