บทความที่ ๘ ประจำปี ๒๕๕๗ บทที่ ๑ การเจริญภาวนา

บทที่ ๑
การเจริญภาวนา
จุดเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรม
ที่เป็นก้าวแรกที่จะเข้าสู่ กระแสแห่งนิพพาน ได้นั้น ต้องเริ่มต้นด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง
เป็นภาวะที่ถูกต้อง ไม่ผิดพลาดไปจากแนวคิดว่าด้วย เส้นทางสายกลางแห่งปัญญา
ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
ด้วยการทำลายอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่คอยขัดขวางความเจริญในการเจริญ
อริยธรรม นี้ นั่นคือ สัลเลขธรรม ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ได้แก่ ฌาน กับ ญาณวิปัสสนา [พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่พระอานนท์
ที่เรียกว่า ธุตธรรม ๕
คือ ธรรมดับกิเลส ได้แก่ อัปปิจฉตาความมักน้อย
สันตุฏฐิตาความสันโดษ สัลเลขตาความขัดเกลา ปวิเวกตาความสงัด อิทมัฏฐิกตาความมีสิ่งนี้เป็นประโยชน์] หรือ โยคเกษมธรรม ธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจาก
โยคกิเลส
ทั้ง ๔ จำพวก ได้แก่ กามภพทิฏฐิอวิชชา ซึ่งเป็น กระแสความคิดแห่งตัณหาและทิฏฐิ ความเห็นที่ผิด มิจฉาทิฏฐิ ที่ทำให้กลายเป็นเหยื่อความไม่รู้จริง อวิชชา [โมหะ] ซึ่งขัดแย้งและปฏิปักษ์กับ
อริยมรรคมีองค์ ๘
ได้แก่
ที่สุด ๒ อย่างอันตา ๒ หมายถึง ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง
คือ มัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหา โมกขธรรม ของพระศาสดาในฐานะทรงเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ
ผู้โคตม ในสมัยพุทธกาลนั้น ได้แก่
(๑)
กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข เช่น การบำรุงชีวิตด้วยกามคุณหรือโภคทรัพย์
อย่างมัวเมา เสียสติ ใช้ชีวิตตามแบบปุถุชนทั่วไป เพราะ อวิชชา
(๒)อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง
การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน เช่น
ความเข้าใจผิดในการบำเพ็ญทุกขกิริยาว่าเป็นหนทางในการดับทุกข์
เพราะ อวิชชา
ทิฏฐิ ๒ หมายถึง ความเห็น ความเห็นผิด
เพราะไม่รู้จริงในอริยมรรค ได้แก่
(๑)
สัสสตทิฏฐิ
ความเห็นว่าเที่ยง ความเห็นว่ามีอัตตาและโลกซึ่งเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป
จัดอยู่ใน ภวตัณหาภวทิฏฐิ ความเห็นเนื่องด้วยภพ
(๒)อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ
ความเห็นว่ามีอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป จัดอยู่ใน
วิภวตัณหาวิภวทิฏฐิ ความทะยานอยากในสิ่งไม่มีไม่เป็น
ทิฏฐิ ๓ คือ ความเห็นตามความไม่เป็นจริง
จัดเป็น มิจฉาทิฏฐิ ร้ายแรงอย่างหนึ่ง
ได้แก่
(๑)
อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ เห็นว่าการกระทำไม่มีผล
(๒)อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย
(๓) นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี เห็นว่าไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้
ดังนั้น อุปสรรคอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ ประการ ดังกล่าวนี้
เป็นเรื่องใหญ่ที่คอยปิดกั้น ปัญญาความรอบรู้รู้ทั่วเข้าใจรู้ซึ้ง ให้ทึบมืด
อับแสงสว่าง ไม่พบความเจริญที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน นั่นคือ ไม่เปิดรับความจริงสัจจธรรม มีชีวิตอยู่และตายไปกับความโง่ๆ ชาติแล้วชาติเล่า [ชีวิตสันตติแห่งสังสารจักร]
ไม่สามารถเข้าถึงความตรัสรู้ถึง อริยสัจจ์
๔ ได้ อันเป็นหนทางแห่ง โลกุตตรธรรม ที่เป็นบาทวิถีของอริยบุคคลพึงถือเป็นปฏิปทาอันยิ่งยวด แต่ในทางกลับกัน
ผู้ประกอบด้วย ที่สุด ๒ อย่างทิฏฐิ
๒ทิฏฐิ ๓
ย่อมเป็น ผู้มีโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา ไม่สามารถรู้เท่าทัน อวิชชาตัณหา [มิจฉาทิฏฐิ] ได้ ย่อมเกิด อุปาทานขันธ์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [อุปาทิ] คือ ความยึดมั่นในเบญจขันธ์ [ขันธ์ ๕ = รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ]
ที่เรียกว่า อุปาทาน
๔ ฉะนั้น จุดม่งหมายสำคัญในการเจริญภาวนา คือ กระบวนการทุบขันธ์
๕ หรือ การทำลายสังขาร [สังขตธรรม] ให้ถึงที่สุดตามกำลัง ที่เรียกว่า
วิปัสสนาญาณ ๙วุฏฐานคามินีปฏิปทามหาวิปัสสนา ๑๘ [ขันธวินิมุต] เพื่อให้เข้าถึงอริยมรรคให้ได้ ดังนี้
อุปาทาน ๔ หมายถึง ความยึดมั่น ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส
ความยึดติดอันเนื่องมาแต่ตัณหา ผูกพันเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง
[คาหะความยึดถือ อภินิเวสะความยึดมั่น] นั่นคือ วิปริเยสัคคาหะ คือ การถือโดยวิปลาสคลาดเคลื่อน หรือ ปรามาสะ คือ ความถือผิด มิจฉัตตะสิ่งที่ผิด = ชนผู้หลงทิศ
มี ทิฏฐิวิปผันทิตะ คือ ความผันแปรแห่งทิฏฐิเป็นเครื่องผูก ทิฏฐิสัญโญชน์ [สังโยชน์] ได้แก่
(๑)
กามุปาทาน
ความยึดมั่นใน กามคุณ
๕ ได้แก่ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ = อารมณ์ ๖
ที่น่าใคร่ น่าพอใจ น่าหลงใหล ความอยากเพื่อตนเอง กามตัณหาตัณหาปณิธิ
(๒)ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี นั่นคือ ความเห็นลัทธิหลักคำสอนต่างๆ
(๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต นั่นคือ ถือว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตรหลักความประพฤติข้อปฏิบัติแบบแผนระเบียบวิธีขนบธรรมเนียมประเพณีลัทธิพิธีต่างๆ ถือว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยสักว่าทำสืบๆ กันมา หรือ ปฏิบัติตามๆ
กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่ด้วยความรู้ความเข้าใจตามหลักความสัมพันธ์แห่งเหตุและผลใน
ปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา
(๔) อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตนเกินความจริง นั่นคือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้จะเป็น จะมีจะสูญสลาย
ถูกบีบคั้นทำลาย หรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ
ได้ [อัตตาภินิเวส] ไม่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวง อันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า
เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วนๆ [วิปัลลาสนิมิต] ซึ่งเป็นความอยากติดมั่นในตัวตน ภวตัณหา
เมื่อพิจารณาถึง อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ได้ ย่อมเห็น ความเข้าใจผิดความเห็นผิดความนึกคิดผิด ที่เกิดขึ้นในตนเอง ไม่เป็นไปตามหลักความจริงตาม กฎธรรมชาติ [อาการสภาวะหรือความเป็นไปตามสภาพที่เป็นจริงแห่งธรรมชาติ
เปรียบเหมือนการได้ลุถึง ธรรมจักษุดวงตาเห็นธรรม คือ ความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา
หรือ ธรรมนิยาม ๓] ซึ่งเป็นภาวะจิตใจที่เศร้าหมอง
ย่อมไม่สามารถเข้าถึงความดีความเจริญเท่าที่ควรเป็น แต่กลับยิ่งเกิด
ทิฏฐิ ที่แรงกล้ายิ่งขึ้น ก็ยิ่งเตลิดเข้าป่า
กระเจิดกระเจิงไปอย่างไร้ทิศทาง เช่น ต่างพากันเสกสร้างพิธีกรรมต่างๆ
ขึ้นเซ่นไหว้ บูชา เลื่อมใส โดยคิดว่าจะทำให้บรรดาสิ่งที่เหนือธรรมชาติพึงพอใจ
ด้วยความไม่มีเหตุผลและปัญญา อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนากระบวนการคิด
จึงคิดไม่ออกคิดไม่ได้ ไม่ใช่มุมมองใน โลกทัศน์กระบวนทัศน์วิสัยทัศน์ ที่ถูกต้อง นั่นคือ ความเข้าใจกระแสโลกที่ต้องเป็นไปตามสภาพที่เป็นจริง
ที่ไม่วิปลาสวิปริตผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงตาม กฎธรรมชาติ [ยถา
ปชานํ = ยถาภูตญาณ]
ที่ต้องกำหนดหมายรู้ตามพิจารณาเนืองๆ สภาวธรรมสรรพสิ่งทั้งหลาย ขณะนี้ว่า มีสภาพที่เป็นจริงแบบนี้ คือ ธรรมสภาวธรรมปรมัตถสัจจะ
นั่นคือ (๑) ธรรม ๒
ได้แก่ (๑) สังขารสังขตะ=สังขตธรรม และ (๒) วิสังขารอสังขตะอสังขตธรรมอมตธาตุนิพพาน และ (๒) ธรรมนิยาม ๓ ดังนี้
สังขตลักษณะ ๓ หมายถึง ลักษณะแห่งสังขตธรรม
คือ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้นตามเจตนาของมนุษย์ =
อุปาทิขันธ์ ๕ [ขันธ์
๕] ที่ประกอบด้วยกิเลสตัณหา ได้แก่
(๑)
อุปฺปาโท ปญฺญายติ ความเกิดขึ้น ปรากฏ
(๒)วโย
ปญฺญายติ ความดับสลาย
ปรากฏ
(๓) ฐิตสฺส
อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ เมื่อตั้งอยู่
ความแปรปรากฏ
อสังขตลักษณะ ๓ หมายถึง ลักษณะแห่งอสังขตธรรม
= ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต ๘๙เจตสิก ๕๒รูป ๒๘ [ขันธ์ ๕] นิพพาน
๒ ที่ปราศจากกิเลสตัณหา ได้แก่
(๑)
น อุปฺปาโท ปญฺญายติ ไม่ปรากฏความเกิด
(๒)น
วโย ปญฺญายติ ไม่ปรากฏความดับสลาย
(๓) น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ เมื่อตั้งอยู่ ไม่ปรากฏความแปร
ธรรมนิยาม ๓ หมายถึง กำหนดแห่งธรรมดา ความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา
ที่เรียกว่า กฎธรรมชาติ
หลักความจริงนี้ แสดงให้เห็นลักษณะ ๓ อย่าง ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ [สามัญลักษณะ
๓ = อนิจจังทุกขังอนัตตา] ของสภาวธรรมทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม
หลักทั้งสามนี้ ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบ
และนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนย เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่เข้าใจถึง นามรูป
[ขันธ์ ๕] โดยไตรลักษณ์
จึงไม่สามารถบรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณได้ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็น
สังขตธรรม หรือ อสังขตธรรม ก็ตาม จะสรุปอยู่ที่ อนัตตตา ทั้งหมด ได้แก่
(๑)
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง
(๒)สพฺเพ
สงฺขารา ทุกฺขา
สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์
(๓) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตน
ฉะนั้น ในการมนสิการเนืองๆ ใน กรรมฐาน ๔๐
อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น คือ การพิจารณานามรูป [ขันธ์
๕ = รูป
= รูป ๒๘ จิต ๘๙ = วิญญาณ กับ เจตสิก ๕๒ = เวทนาสัญญาสังขาร] โดยตามพิจารณาให้เห็น ความเสื่อมสลายไปแห่งสังขารทั้งหลาย หรือ
นามรูปโดยไตรลักษณ์ นั่นคือ รู้เห็นภาวะที่ปราศจากขันธ์
ขันธวินิมุต
[นิพพานวิวฏะ] ให้ได้ ซึ่งดำเนินด้วยข้อประพฤติปฏิบัติอันยิ่งยวด
ที่เรียกว่า วุฏฐานคามินีปฏิปทาวิปัสสนาญาณ ๙ (ข้อ ๔๑๒
ในโสฬสญาณญาณ ๑๖) หมายถึง วิปัสสนาที่ให้ถึง
มรรคมรรค ๔มัคคญาณ วิปัสสนาที่เจริญแก่กล้าถึงจุดสุดยอดทำให้เข้าถึงอริยมรรค นั่นคือ
วุฏฐานะ
หมายถึง เป็นที่ออกไปได้จากสิ่งที่ยึดติดถือมั่น [อุปาทานขันธ์อุปาทิขันธ์ความยึดมั่นถือมั่น = คาหะความยึดถือ อภินิเวสะความยึดมั่น] หรือออกพ้นไปจากสังขารนิมิต
ทั้งกุศลและอกุศล [กิเลสตัณหาโลกธรรม
๘] หรือวิปัสสนาที่เชื่อมต่อให้ถึง อริยมรรค แต่อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นอันเป็นพื้นฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคนั้น
คือ การพัฒนาร่างกายและจิตใจให้เจริญยิ่งขึ้นไป ที่เรียกว่า ภาวนา ๔ ดังนี้
ภาวนา ๔ หมายถึง การเจริญการทำให้เป็นให้มีขึ้นการฝึกอบรมการพัฒนา บุคคลผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาได้ครบทั้ง ๔
ด้าน จะเป็นผู้เข้าถึงคุณบทของบุคคล ซึ่งหมายถึง ภาวิต
๔ คือ ภาวิตกาย
ภาวิตศีลภาวิตจิตภาวิตปัญญา ชื่อว่า ภาวิตัตต์
คือ ผู้ได้เจริญ กายศีลจิตปัญญา ดีแล้ว เป็นข้อประเด็นที่ประกอบด้วย
ฌานวิโมกข์สมาธิสมาบัติมรรคผลอภิญญาปฏิสัมภิทา ฉะนั้น บุคคลที่มีคุณสมบัติชุดนี้ครบถ้วนย่อมเป็น พระอรหันต์ ได้แก่
(๑)
กายภาวนา
การเจริญกายพัฒนากายการฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทาง อินทรีย์ ๕ ทั้งหมดด้วยดี
[ตาหูจมูกลิ้นกาย = อินทรียสังวรสติสังวร]
และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษให้กุศลธรรมงอกงาม
ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
(๒)สีลภาวนา การเจริญศีลพัฒนาความประพฤติการฝึกอบรมศีล [อินทรียสังวรศีล =
ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง
๖ ปาริสุทธิศีล ๔ = ศีลคือความบริสุทธิ์
ศีลเครื่องให้บริสุทธิ์ ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล]
ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัยไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน
(๓) จิตตภาวนา
การเจริญจิตพัฒนาจิตการฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณามีฉันทะขยันหมั่นเพียรอดทนมีสมาธิและสดชื่นเบิกบานเป็นสุขผ่องใส เป็นต้น นั่นคือ สมถภาวนา หมายถึง การเจริญสมถกัมมัฏฐานทำจิตให้แน่วแน่เป็น สมาธิ ด้วยการเจริญ ฌาน
๔ หรือ สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานคือสมถะงานฝึกจิตให้สงบ ปัสสัทธิ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิด ธรรมสมาธิ ๕ คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมถูกต้อง
กำจัดความข้องใจสงสัยเสียได้ เมื่อเกิด ธรรมสมาธิ
๕ นั่นคือ ความมั่นใจสนิทในธรรม ก็จะเกิด จิตตสมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต ได้แก่ (๑) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจร่าเริงสดใส (๒) ปีติ คือ ความอิ่มใจความปลื้มใจ
(๓) ปัสสัทธิ
คือ ความสงบเย็นกายใจความผ่อนคลายรื่นสบาย
(๔) สุข คือ ความรื่นใจไร้ความข้องขัด (๕) สมาธิ คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย (ให้พิจารณาเรื่อง นิมิต
๓ ในบทที่ ๕ เพิ่มเติม)
(๔) ปัญญาภาวนา
การเจริญปัญญาพัฒนาปัญญาการฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ๑ รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ
๑ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ๑ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์
๑ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา ๑ นั่นคือ
วิปัสสนาภาวนา หมายถึง ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง
ด้วยการเจริญ โสฬสญาณญาณ ๑๖ ซึ่งทำให้เกิด
ปัญญาเห็นธรรม
[ปริโยคาหณาความหยั่งโดยรอบ]และ ปัญญาตรัสรู้ [อภิสมัยความตรัสรู้] ได้
หมายถึง ปัญญาวิปัสสนาวิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [ปฏิจจสมุปปันนธรรม] อริยสัจจ์ ๔ ที่ทำให้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์
แต่อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณาถึง คำว่า ภาวนา ๒ [สมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา] อีกนัยหนึ่ง
ซึ่งหมายถึง การเจริญการทำให้เกิดให้มีขึ้นการฝึกอบรมจิตใจ ยังจำแนกออกเป็น ๒ ฝ่าย ได้แก่
(๑) ฝ่ายสมถะ
เรียกว่า สมถภาวนาการเจริญสมาธิ [อธิจิตตสิกขา] คือ การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ
การฝึกสมาธิ ซึ่งหมายถึง ฌานสมาบัติฌาน ๔รูปฌาน ๔ ด้วยการเจริญอริยมรรคมีองค์
๘ ตามข้อปฏิบัติที่ว่า อาตาปีสัมปชาโนสติมา คือ มีวิริยะมีสัมปชัญญะมีสติ ได้แก่ (๑) สัมมาวายามะสัมมัปปธาน ๔ (๒) สัมมาสติสติปัฏฐาน ๔ (๓) สัมมาสมาธิฌาน ๔ และ (๒) ฝ่ายวิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาภาวนาการเจริญปัญญา [อธิปัญญาสิกขา] คือ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง
ด้วยการเจริญ โสฬสญาณญาณ
๑๖ ซึ่งหมายถึง การเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในข้อที่ว่า (๑) สัมมาทิฏฐิวิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ กับ (๒) สัมมาสังกัปปะเนกขัมมสังกัปปะอัพยาปาทสังกัปปะอวิหิงสาสังกัปปะ หรือ กุศลวิตก
๓ หมายถึง ความตริตรึกที่เป็นกุศลความนึกคิดที่ดีงาม ได้แก่ (๑) เนกขัมมวิตก คือ ความตรึกปลอดจากกาม
(๒) อพยาบาทวิตก
คือ ความตรึกปลอดจากพยาบาท (๓) อวิหิงสาวิตก คือ ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า
(๑) สมถะ
คือ ทำจิตให้เป็น สมาธิเอกัคคตา ให้สงบราบรื่นผ่องใสสะอาดบริสุทธิ์เบิกบาน เพราะเกิด สติอุปัฏฐาน คือ สติคมชัด และ อุเบกขาตัตตรมัชฌัตตตา ดังคำว่า อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี [แปลว่า มีจิตเป็นอุเบกขา อยู่เป็นสุข] กับ (๒) วิปัสสนา คือ ทำจิตให้เกิดการวางเฉยใน สหชาตธรรม ทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน เพราะเกิด สัมปชัญญะ นั่นคือ ปัญญาความรอบรู้ความรู้ชัดคมญาณ ย่อมลุถึง
อธิโมกข์
คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง นั่นคือ การเกิดธรรมแห่งการเจริญภาวนา
ที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องไม่ฟุ้งซ่าน
[อุทธัจจะ] ให้มีสมาธิ หรือไม่หลงใหลในธรรมเหล่านี้ เพราะสิ่งนี้เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้เข้าถึงอริยมรรคเท่านั้น
ได้แก่ (๑) โอภาส
คือ แสงสว่างไสว (๒) ปีติ คือ ความอิ่มใจปลาบปลื้มเต็มไปทั้งตัว
(๓) ญาณ
คือ ความรู้ที่คมชัด (๔) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจ (๕) สุข คือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัว
ที่ประณีตอย่างยิ่ง (๖) อธิโมกข์
คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง
(๗) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี
(๘) อุปัฏฐาน
คือ สติชัดสติแก่กล้า (๙) อุเบกขา คือ ความวางจิตเป็นกลางที่ลงตัวสนิท
(๑๐) นิกันติ
คือ ความติดใจพอใจ ด้วยเหตุนี้ ในการเจริญภาวนานั้น จะต้องเผชิญกับอุปสรรคหรือมารตลอดเวลา
การที่จะชนะจิตใจตนเองได้ จะต้องชนะด้วยจิตที่ปราศจากนิวรณ์
มี สมาธิ
จิตตั้งมั่นแน่วแน่ และ ปัญญาวิปัสสนา
ความรอบรู้รู้เข้าใจลึกซึ่ง พร้อมด้วยความรู้คมชัดแห่งญาณในวิปัสสนา
และนอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงหลักธรรมอีกหมวดหนึ่ง
คือ อาหาร ๔ ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมต้องพิจารณาเนืองๆ
ให้เห็นธรรมอีกมุมหนึ่งอันเป็น สัจจธรรมแห่งชีวิต ให้ได้ ที่ทำให้เกิด ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ อันเป็นจิตที่ถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหาทำให้เกิด
กองทุกข์แห่งชีวิตไม่สิ้นสุด [สงสารทุกข์] ดังนี้
อาหาร ๔ หมายถึง เครื่องค้ำจุนชีวิตสภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรม
และนามธรรมทั้งหลายสิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ
ซึ่งทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้
ได้แก่
(๑)
กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ได้แก่
อาหารสามัญที่กลืนกินดูดซึมเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เมื่อกำหนดรู้กวฬิงการาหารได้แล้ว
ก็เป็นอันกำหนดรู้ ตัณหาราคะ [ความกำหนัดติดใจ] ที่เกิดจาก
กามคุณ ๕เบญจกามคุณ
[รูปเสียงกลิ่นรสกายสัมผัส] ได้ด้วย
(๒)ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่งอายตนะภายในอายตนะภายนอกและวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา พร้อมทั้งเจตสิกทั้งหลายที่จะเกิดตามมา
เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้วก็เป็นอันกำหนดรู้ เวทนา
๓ [การเสวยอารมณ์ = สุขเวทนาความรู้สึกสุข ๑ ทุกขเวทนาความรู้สึกทุกข์ ๑ อทุกขมสุขเวทนาความรู้สึกเฉยๆ ๑] ได้ด้วย
(๓) มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา
ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำพูดคิด ซึ่งเรียกว่า กรรม เป็นตัวชักนำมาซึ่ง ภพ คือ ให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้
ตัณหา ๓ [ความทะยานอยากความร่านรนความปรารถนาความอยากเสพอยากเอาเพื่อตัวความแส่หา = กามตัณหาความทะยานอยากในกาม
๑ ภวตัณหาความทะยานอยากในภพให้คงอยู่ตลอดไปอยากเป็นนั่นไม่เป็นนี่ เช่น ให้เป็นหนุ่มหล่อสาวสวยตลอด ๑ วิภวตัณหาความทะยานอยากในวิภพอยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ เช่น
ไม่อยากตาย ๑] ได้ด้วย
(๔) วิญญาณาหาร
อาหารคือวิญญาณ ได้แก่
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้ว
ก็เป็นอันกำหนดรู้ นามรูปขันธ์ ๕ [ความยึดติดมั่นในขันธ์ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์]
หรือภาวะที่สัมปยุตต์กันด้วยปัจจัยต่างๆ เป็นขันธ์ ๕ ได้ด้วย
ดังนั้น ในความเป็นจริง การเจริญภาวนาก็คือการตามกำหนดรู้เข้าใจถึง
สัจจธรรมปรมัตถสัจจะ แห่งชีวิตในเรื่อง อาหาร ๔ ที่เกิดขึ้นในทุกขณะ นั่นคือ อินทรียสังวร โดยแยกเป็น รูปรูปขันธ์ [รูป] คือ กวฬิงการาหาร ส่วน นามนามขันธ์ [เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ] ได้แก่ ผัสสาหารมโนสัญเจตนาหารวิญญาณาหาร เพื่อให้เกิด กุศลเจตนา [สัญเจตนา ๖ = อินทรีย์ ๖สฬายตนะ ได้แก่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ซึ่งต้องวางเฉยเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้ง
๖ ที่ผ่านเข้ามา คือ อุเบกขาเวทนาอทุกขมสุขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆจะสุขก็ไม่ใช่ทุกข์ก็ไม่ใช่ คำว่า อารมณ์ ๖พาหิรายตนะ ได้แก่ รูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะสิ่งที่ถูกต้องกาย
ธรรมารมณ์สิ่งที่ใจนึกคิด]
ก่อนที่จะก้าวไปสู่การเจริญ สมาธิ และ วิปัสสนา
ต่อไป ให้พิจารณาอย่างละเอียดถึงสาเหตุทำไมจึงต้องกำหนดรู้ให้เข้าใจและสำรวมระวัง
อาหาร ๔
นั่นคือ อินทรียสังวรสติสังวร หมายถึง
สำรวจระวังไม่ให้กิเลสตัณหาเข้าครองงำจิตใจที่จะผ่านเข้ามาทางทวาร
อินทรีย์ ๖ ซึ่งในความหมายเชิงลึกย่อมแสดงถึง
สติปัฏฐาน ๔
(ดู บทที่ ๓) ที่ต้องพิจารณาถึงสภาวธรรม [กรรมฐาน]
ใน ๔ ประการ ด้วยการเจริญ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
(๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
(๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
และ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยพิจารณาในข้อสรุปที่ว่า กายนี้เวทนานี้จิตนี้ธรรมนี้ สักว่าเป็นเพียง
กายเวทนาจิตธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา [นั่นคือ อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ = ญาณวิโมกข์
หรือ อนัตตสัญญาอนตฺตสญฺญา คือ กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง] ให้พิจารณาอารมณ์เหล่านั้นเป็นเพียง สุญญตาความว่าง จะนำมายึดเป็นสรณะที่พึ่งแห่งชีวิตไม่ได้มันเป็นสภาวะที่ไม่มีจริงและย่อมหาแก่นสารไม่ได้ ฉะนั้น การตามกระแสโลก [ภวจักรสังสารจักร] ย่อมเป็นของต่ำทราม [กามราคะทุศีลมิจฉาชีพ] ๑ เป็นของชาวบ้าน
๑ เป็นของชนชั้นปุถุชน ๑ ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า
๑ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ คือ ความเสื่อมภาวะที่ไม่เจริญ
จึงต้องกำหนด สติสัมปชัญญะ ให้ระลึกได้และรู้อย่างเท่าทัน คือ ทมะ [การฝึกฝนการข่มใจฝึกนิสัยปรับตัวรู้จักควบคุมจิตใจฝึกหัดดัดนิสัยแก้ไขข้อบกพร่องปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา] นั่นคือทำ
โยนิโสมนสิการ คือ คิดอย่างถูกวิธีอย่างฉลาด
ด้วยอุบายที่แยกคายในใจ และมีปฏิภาณไหวพริบ แต่อย่างไรก็ตาม
กิจต่างๆ ที่แต่ละคนต้องกระทำ รวมทั้งการเจริญภาวนานั้น ย่อมเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคไม่มากก็น้อย
คือ ความไม่ราบรื่นไม่เกิดความสุขในการมีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตต้องหมุนเวียนไปตามเกณฑ์
ภวจักรสังสารจักร คือ วงเวียนชีวิต [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] นั่นคือ สุดรอบ [ปริโยสาน] แห่งชีวิต
ย่อมหนีความตายไม่พ้น
ทุกชีวิตไม่มีข้อยกเว้น พระพุทธองค์จึงตรัสสอนไม่ให้ประมาทในการดำเนินชีวิตอันแสนสั้นนี้
ให้รู้จักกำหนดเป้าหมายชีวิตอย่างมีคุณค่าทุกวินาทีของลมหายใจ
การกำหนดรู้ มรณัสสติ คือ นึกถึงความตายที่จะต้องเกิดขึ้นกับตนเอง
นั่นคือ อัปปมาทะ หมายถึง ความไม่ประมาท เมื่อชีวิตได้ปฏิสนธิขึ้นในโลกนี้ ย่อมหมายถึง ความเป็นไปตามกระแส กฎแห่งกรรม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ [วัฏฏะ ๓ = กิเลสกรรมวิบาก คือ วัฏฏสังสาร] ซึ่งเป็นนิยามแห่งชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา นั่นคือ ความไม่ราบรื่นความขัดข้องอุปสรรคปัญหา ซึ่งเป็น ผู้มีโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปยาสเป็นธรรมดา [วิบากแห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒] ทางธรรมเรียก อุปสรรคสิ่งกีดขวาง [กิเลสทั้งหลายสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ไม่เบิกบานใจ = อวิชชา
และ ตัณหา]
พวกนี้ว่า มาร ๕ ซึ่งสามารถทำลายโอกาสที่จะบรรลุ โลกุตตรธรรม ได้ หรือปิดโอกาสไม่ให้ประสบความสำเร็จในการเจริญภาวนา
[สมถะสมถภาวนา กับ วิปัสสนาวิปัสสนาภาวนา] ซึ่งคนส่วนใหญ่มองข้ามไป หลงมัวเมา
มทะ
ในกระแสโลกธรรมทั้ง ๘ ดังนั้น คุณภาพจิตใจจึงพรั่งพร้อมด้วย อกุศลกรรมบถ
๑๐ หมายถึง ทางแห่งอกุศลกรรมทางทำความชั่วกรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อมความทุกข์หรือทุคติ นั่นคือ ทุจริต
๓ ได้แก่ กายทุจริต ๓วจีทุจริต
๔ และ มโนทุจริต ๓ เป็นระดับจิตที่ไม่ประกอบด้วย อริยทรัพย์
๗ หมายถึง ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐที่คุ้มครองตน
สิ่งนี้เป็นของดีทำเอาให้ได้ ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ ความเชื่อที่มีเหตุผลมั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ (๒) ศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อยประพฤติถูกต้องดีงาม (๓) หิริ คือ ความละอายใจต่อการทำความชั่ว
(๔) โอตตัปปะ
คือ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว (๕) พาหุสัจจะ
คือ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก (๖) จาคะ
คือ ความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (๗) ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล
ดีชั่วถูกผิดคุณโทษประโยชน์ มิใช่ประโยชน์รู้คิดรู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ ยิ่งกว่านั้น อริยทรัพย์ ๗ ยังทำให้ชาวบ้านปุถุชน ได้กลายเป็น
สัตบุรุษ [ผู้ทรง สัปปุริสธรรม ๗ หมายถึง ธรรมแห่งคนดี ได้แก่ คือ ๑. ธัมมัญญุตาความรู้จักธรรม ๒. อัตถัญญุตาความรู้จักอรรถรู้ความมุ่งหมาย ๓. อัตตัญญุตาความรู้จักตน
๔. มัตตัญญุตาความรู้จักประมาณ ๕.
กาลัญญุตาความรู้จักกาล ๖. ปริสัญญุตาความรู้จักบริษัทรู้จักชุมชน ๗. ปุคคลัญญุตาปุคคลปโรปรัญญุตาความรู้จักบุคคล] หรือ สปฺปุรโสอุดมบุรุษ คือ บุรุษผู้สูงที่สุด หรือ อริยบุคคล [พระอรหันตขีณาสพ]
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตที่ประกอบด้วย หิริโอตตัปปะ ย่อมเป็นบุคคลไม่ประกอบกรรมชั่วอย่างแน่นอน
ให้พิจารณาเรื่อง มาร ๕ ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ผู้ปฏิบัติต้องเผชิญด้วยกันทุกคน
ที่ต้องใช้ สมาธิ
และ ปัญญา ซึ่งหมายถึง (๑) ฌาน กับ (๒) วิปัสสนา ที่เรียกว่า สัลเลขธรรมธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส คำว่า กิเลส ซึ่งหมายถึง มาร ๕ นั่นเอง ดังนี้
มาร ๕ หมายถึง สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐสิ่งที่ล้างผลาญคุณความดีตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุผลสำเร็จอันดีงาม ได้แก่
(๑)
กิเลสมาร
มารคือกิเลส กิเลสเป็นมารเพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี
ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งหมายถึง อวิชชาตัณหา
(๒)ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง
มีความขัดแย้งกันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระในการบริหาร
ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะ ชราพยาธิมรณะ เป็นต้น ล้วนรอนโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่
หรือบำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนาอย่างแรง อาจถึงกับพลาดโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง
นั่นคือ พิจารณาตาม อนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ กำหนดรู้คล้อยตามให้เห็นเหตุแห่งทุกข์
[ฉะนั้น กวฬิงการาหาร จัดเป็น ขันธมาร เพราะหล่อเลี้ยงให้เกิด ขันธ์ ๕ [รูปขันธ์] จึงให้เจริญรรมฐานใน อาหาเรปฏิกูลสัญญา คือ กำหนดพิจารณากรรมฐานถึงความเป็นปฏิกูลในอาหาร]
(๓) อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารอภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม
เจตนาหรือ สัญเจตนา ๖ นำชักให้เกิดกรรมภพหรืออุปัตติภพ ชาติชรา พร้อมด้วยอกุศลวิบาก ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปยาส ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจาก
ชีวิตสันตติในสงสารทุกข์ [ชีวิตอยู่ในกระแสแห่ง กิเลสกรรมวิบาก = วัฏฏะ ๓]
คือ อกุศลมูล
๓ ได้แก่ โลภะ [ราคะ] โทสะโมหะ เพราะ อวิชชาตัณหา จึงคิดได้แบบนี้
(๔) เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่งชื่อว่า
พญาวสวัตดีมาร
เพราะเป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้
มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญเสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดีที่ยิ่งใหญ่ได้
คือ การมี มิตรเทียม
หรือ คติวิบัติ กาลวิบัติ
[ซวย]
(๕) มัจจุมาร มารคือความตายความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาสที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดีทั้งหลาย คือ ไม่เข้าใจเรื่อง
มรณัสสติ จึงเกิดความประมาท แล้วตายในโอกาสไม่เหมาะควรที่จะบรรลุธรรม คิดไม่ทันความตาย
เพราะ มัวเมาหลงใหล
โมหะ
นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมยังต้องเผชิญกับการให้ผลของกรรมแห่งอกุศลวิบาก
นั่นคือ วิบัติ
๔ ดังนี้
วิบัติ ๔หมายถึง ข้อเสียจุดอ่อนความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผลส่วนประกอบบกพร่อง
เปิดช่องให้กรรมชั่ว ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการตัดสินใจเลือกทำเลือกวิถีดำเนินชีวิต
เชื่อใน กฎแห่งกรรม
ได้แก่
(๑)
คติวิบัติ
คือ คติเสีย เกิดในกำเนิดต่ำทรามไร้ความเจริญ
แหล่งที่เป็นอนารยธรรม ความชั่วเจริญรุ่งเรือง =
อภิสังขารมาร ควรหาแหล่งที่เหมาะสมกับตนใหม่ ที่ไม่ใช่
โคจรวิบัติอโคจร
๖ คือ ความเสียหายในการไปมาหาสู่ของภิกษุ ได้แก่ หญิงแพศยาหญิงหม้ายสาวเทื้อ [สาวแก่ทึนทึก] ภิกษุณีบัณเฑาะก์ [กะเทย] และร้านสุราบ่อนการพนัน
(๒)อุปธิวิบัติ คือ รูปกายเสีย ร่างกายวิกลวิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคมาก
= ขันธมาร
ควรใส่ใจรักษาสุขภาพร่างกายให้มากตามสมควร
(๓) กาลวิบัติ
คือ กาลเสีย เกิดอยู่ในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ
บ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม
มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่ว บีบคั้นคนดี =
เทวปุตตมาร ควรอดกลั้นหมั่นประกอบความดีรอจังหวะที่จะอำนวยโอกาสดีให้ใหม่
ควรใช้ปัญญาให้เป็น สัตบุรุษย่อมไม่ทิ้งธรรมเมื่อตกทุกข์ได้ยาก
(๔) ปโยควิบัติ คือ กิจการเสีย ฝักใฝ่ในทางที่ผิดประกอบกิจการงานที่ผิด
หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว เมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด
ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจด ใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบความดีต่อเนื่องมา
แต่กลับทำความชั่วหักล้างเสียในระหว่าง =
กิเลสมาร ควรเจริญสมาธิให้จิตใจเบิกบานปราศจากนิวรณ์
แต่อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณาเพิ่มเติมถึง วิบัติ ๔ อีกหมวดหนึ่ง อันเกิดจากปัจจัยองค์ประกอบภายในของตนเอง กลายเป็นผู้เลือกใฝ่ในอกุศลธรรม
ใฝ่ธรรมชั่วด้วยนิสัย [กิเลสมารอภิสังขารมาร = อนุสัย
๗ คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ได้แก่ กามราคะปฏิฆะทิฏฐิวิจิกิจฉามานะภวราคะอวิชชา] เพราะความประมาทความหลงใหลเสียสติไม่ประกอบด้วย
อินทรียสังวรสติสังวร ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการตัดสินใจเลือกทำเลือกวิถีดำเนินชีวิต เชื่อใน
กฎแห่งกรรม
เช่นเดียวกัน
วิบัติ ๔ หมายถึง ความผิดพลาดความเคลื่อนคลาด ความเสียหายความบกพร่องความใช้การไม่ได้ ประกอบด้วย อัญญาณจริยา [อวิชชา] คือ ประพฤติด้วยความไม่รู้หรือประพฤติเพราะความไม่รู้หรือประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้หรือประพฤติซึ่งความไม่รู้
(ดูบทที่ ๔อวิชชามีลักษณะ
๒๕) ได้แก่
(๑) ศีลวิบัติ วิบัติแห่งศีลเสียศีล สำหรับพระภิกษุ คือ ต้องอาบัติปาราชิก หรือ สังฆาทิเสส
(๒) อาจารวิบัติ วิบัติแห่งอาจาระเสียความประพฤติจรรยามรรยาทไม่ดี สำหรับพระภิกษุคือ
ต้องลหุกาบัติ แต่ถุลลัจจัย ถึง ทุพภาสิต
(๓) ทิฏฐิวิบัติ วิบัติแห่งทิฏฐิความเห็นคลาดเคลื่อนผิดธรรมผิดวินัย
(๔) อาชีววิบัติ วิบัติแห่งอาชีวะประกอบมิจฉาชีพหาเลี้ยงชีพในทางที่ผิด
สำหรับธรรมที่แก้ไขอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมเป็นผู้ตัดสินใจเลือกกระทำ
คือ สมบัติ
๔ ดังนี้
สมบัติ ๔ หมายถึง ข้อดีความเพียบพร้อมความครบถ้วนความสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งอำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี และไม่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล
ส่วนประกอบอำนวย ช่วยเสริมกรรมดี ผู้ปฏิบัติธรรมต้องพิจารณาจังหวะและโอกาสที่เลือกดำเนินการ ได้แก่
(๑) คติสมบัติ คือ สมบัติแห่งคติ ถึงพร้อมด้วยคติ คติให้ ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนิดอันอำนวย
หรือที่เกิดอันเจริญ ในช่วงสั้นหมายถึง ที่อยู่
ที่ไป ทางดำเนินดี หรือทำถูกเรื่อง ถูกที่ คือ กรณีนั้น
สภาพแวดล้อมนั้น สถานการณ์นั้น ถิ่นที่นั้น ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น
เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดี หรือการเจริญงอกงามของความดี ทำให้ความดีปรากฏผลโดยง่าย
ในช่วงสั้นหมายถึง ทำอะไรก็ได้รับการสนับสนุน
(๒) อุปธิสมบัติ คือ สมบัติแห่งร่างกาย ถึงพร้อมด้วยรูปกาย รูปกายให้ ในช่วงยาวหมายถึง มีกายสง่า
สวยงาม บุคลิกภาพดี ในช่วงสั้นหมายถึง ร่างกายแข็งแรง
มีสุขภาพดี
(๓) กาลสมบัติ คือ สมบัติแห่งกาล ถึงพร้อมด้วยกาล กาลให้ ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกมีความเจริญ
หรือบ้านเมืองสงบสุข มีการปกครองที่ดี คนในสังคมอยู่ในศีลธรรมสามัคคีกัน
ยกย่องคนดี ไม่ส่งเสริมคนชั่ว ในช่วงสั้นหมายถึง
ทำถูกกาลถูกเวลา
(๔) ปโยคสมบัติ คือ สมบัติแห่งการประกอบ ถึงพร้อมด้วยการประกอบความเพียร กิจการให้ ในช่วงยาวมายถึง
ฝักใฝ่ในทางที่ถูก นำความเพียรไปใช้ขวนขวายประกอบการที่ถูกต้องดีงาม
มีปกติประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ทำแต่ความดีงามอยู่แล้ว ในช่วงสั้นหมายถึง
เมื่อทำกรรมดี ก็ทำให้ถึงขนาด ทำจริงจัง ให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
ใช้วิธีการที่เหมาะกับเรื่อง หรือทำความดีต่อเนื่องมาเป็นพื้นแล้ว
กรรมดีที่ทำเสริมเข้าอีก จึงเห็นผลได้ง่าย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การจะบรรลุความสำเร็จในการเจริญภาวนาทุกด้านนั้น
เป็นเรื่องท้าทายความตั้งใจหรือเจตนาของบุคคลโดยเฉพาะ [มีขวัญกำลังใจศรัทธาและฉันทะแก่กล้าเพียงใด] เพราะในแต่ละขั้นตอนต้องเผชิญกับอุปสรรคทั้งสิ้น ไม่ราบรื่น แต่ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทันท่วงทีต่อเหตุการณ์
ไม่เสียจังหวะหรือโอกาส คือ อุปายโกศล [ความฉลาดในอุบาย รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
เปรียบเทียบกับ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณปรีชาแจ้งในความคิดทันการมีไหวพริบซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่
เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ
เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์] นั่นคือ โกศล ๓ ซึ่งเป็นผลานิสงส์ที่ตามมาภายหลังจากการเจริญภาวนา (ดูเปรียบเทียบ ปฏิสัมภิทา ๔ ในบทที่ ๕) ดังนี้
โกศล ๓ หมายถึง ความฉลาดความเชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ญาณจริยา
คือ การประพฤติด้วยญาณประพฤติเพราะญาณประพฤติในอารมณ์ที่รู้แล้วหรือประพฤติซึ่งความรู้
ได้แก่
(๑) อายโกศล คือ
ความฉลาดในความเจริญ รอบรู้ทางเจริญ
และเหตุของความเจริญ
(๒) อปายโกศล
คือ ความฉลาดในความเสื่อม รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม
(๓) อุปายโกศล
คือ ความฉลาดในอุบาย รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะเจริญภาวนา อริยมรรค [อริยมรรคมีองค์ ๘] หรือ อริยธรรม [อริยศสีลอริยสมาธิอริยปัญญาอริยวิมุตติ] ในบ้านหรือนอกบ้านนั้น ก็ต้องเผชิญปัญหาแตกต่างกันไปตาม ยถากรรม ของตน คือ ทำกรรมไว้อย่างใด ย่อมได้อย่างนั้น
หรือก็ขึ้นอยู่กับว่าจะหาที่ วิเวกสงบสงัดในใจ ได้อย่างไร
เพราะ ทุกอย่างอยู่ที่ใจ
คือ มีใจเป็นประธาน ถ้าใจไม่สู้จริง ทุกอย่างก็ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า
ยิ่งอายุมากยิ่งขึ้นโอกาสประสบความสำเร็จยิ่งลดน้อยถอยลงไป เพราะ
ความเจ็บป่วย
[ชราพยาธิมรณะ = ขันธมาร] จะทำอะไรก็ไม่สะดวก หาเวลาว่างให้กับชีวิตตนเองก็ยากแสนยากยิ่งขึ้น
แต่ทุกอย่างอยู่ที่การตัดสินใจจะเลือกทำกุศลกรรมขัดเกลากิเลสหรือไม่เลือกทำเท่านั้นเอง.
รู้อยู่ที่ใจดูอยู่ที่ใจเห็นอยู่ที่ใจ
เพ่งอยู่ที่ใจกำหนดอยู่ที่ใจ
ให้เห็นความแจ้งความสว่างความสงบขึ้นในใจ
ภาวนาธรรม:
หลวงปู่ทา จารุธัมโม
ปัจฉิมบท บทที่ ๑ ว่าด้วยการเจริญภาวนา
เมื่อจัดระดับองค์ความรู้ในบทที่ ๑ คือ การเจริญภาวนา ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรมแก่นสำคัญ ได้แก่ (๑) มัชฌิมาปฏิปทา (๒) อริยมรรคมีองค์
๘ (๓) อริยสัจจ์ ๔ (๔) ภาวนา ๔ และ (๕) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ให้พิจารณาตามหัวข้อตัวหนา
ตัวเอนหนา ตัวเอนปกติ

ภาพประกอบ ๒:
ภาพองค์รวมเชิงโครงสร้างและระบบแห่งพุทธธรรมด้านการเจริญภาวนา
ผู้ปฏิบัติธรรมได้เข้าถึงเนื้อหาสาระหลัก
๕ ระดับ ได้แก่ (๑) มัชฌิมาปฏิปทา (๒) อริยมรรคมีองค์ ๘ (๓) อริยสัจจ์
๔ (๔) ภาวนา ๔ คือ กายภาวนาสีลภาวนาจิตตภาวนาปัญญาภาวนา และ (๕) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ โดยมีสัมปยุตตธรรมประกอบด้วย (๑) ธุตธรรม
๕ (๒) ที่สุด ๒ อย่างอันตา ๒ (๓) ทิฏฐิ
๒ (๔) ทิฏฐิ ๓ (๕) อุปาทาน ๔ (๖) ธรรม ๓ (๗) สังขตลักษณะ ๓ (๘)
อสังขตลักษณะ ๓ (๙) ธรรมนิยาม ๓ (๑๐) ภาวนา ๔ (๑๑) กุศลวิตก
๓ (๑๒) วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ (๑๓) อาหาร ๔ (๑๔) สติปัฏฐาน ๔
(๑๕) ทุจริต ๓ (๑๖) อริยทรัพย์ ๗ (๑๗) อัปปมาทะ (๑๘) วัฏฏะ ๓ (๑๙)
มาร ๕ (๒๐) อนุสัย ๗ (๒๑) วิบัติ ๔ (๒๒) อโคจร ๖ (๒๓) สมบัติ ๔
และ (๒๔) โกศล ๓
ฉะนั้น
ในบรรดาสัมปยุตตธรรม [สหชาตธรรม] ทั้งหมด ทำให้เห็นสาเหตุภูมิหลังของการเจริญภาวนาในพระพุทธศาสนา ที่เริ่มจากการปฏิเสธแนวคิดข้อประพฤติปฏิบัติ
ที่สุด ๒ อย่างอันตา
๒ [ได้แก่ (๑) กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข กับ (๒) อัตตกิลมถานุโยค
คือ การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง โดยสำคัญผิดว่าธรรมทั้ง
๒ อย่างนี้ คือ ข้อประพฤติปฏิบัติที่ทำให้เป็นสุข]
พร้อมด้วย ทิฏฐิ ๒ทิฏฐิ ๓ [ถือความคลาดเคลื่อนแห่งตน = อวิชชา] และ อุปาทาน ๔ [คาหะความถือมั่น อภินิเวสะความยึดมั่น คือ อุปาทานขันธ์
อันเป็นกิเลส เช่น โอฆะ ๔โยคะ ๔อาสวะ
๔อนุสัย ๗สังโยชน์
๗สังโยชน์ ๑๐นิวรณ์ ๕อุปกิเลส
๑๖] อันเป็นความคิดที่ขัดแย้งกับแนวคิด มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งหมายถึง อริยมรรคมีองค์ ๘
แต่อย่างไรก็ตาม
สำหรับหลักธรรม อุปาทาน
๔ กับ อาหาร
๔ [อารมณ์แห่งอินทรีย์ ๖] นั้น
ถือเป็นสมุฏฐานสำคัญยิ่งหรือสาเหตุหลัก [อัตถุปปัตติ คือ เหตุให้มีเรื่องขึ้น เหตุให้เกิดเรื่อง]
ที่ทำให้เกิด อุปาทานขันธ์
ที่ทำให้เกิด ทุกขตาสภาพแห่งทุกข์ ที่เรียกเป็นทางการว่า
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [นามรูปปริจเฉทญาณ ข้อ ๑ ในโสฬสญาณญาณ ๑๖] อันเป็นด่านแรกในการวิปัสสนาสภาวธรรมหรือมนสิการกรรมฐาน
ที่ต้องพิจารณา ปัญญาญาณวิปัสสนาญาณ เหล่านี้ ให้ถ่องแท้ชัดเจน ซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาค้นคว้ามากที่สุดเป็นพิเศษ
คือ ปัญญาเห็นสภาพแห่งทุกข์ [นามรูปตามสภาพเบญจขันธ์ขันธ์ ๕ ดูเพิ่มเติมในภาคผนวกเบญจขันธ์] ก่อนเห็น สาเหตุแห่งทุกข์ [ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ อนุโลมปฏิจจสมุปบาท]
ขั้นต่อไป ในทางตรงกันข้ามกันนั้น มัชฌิมาปฏิปทาอริยมรรคมีองค์ ๘ มุ่งเน้นให้พิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริงด้วยหลักธรรมที่เป็น
กฎธรรมชาติ [Natural Law] ด้วย วิปัสสนาญาณ ที่จำแนกตาม
อริยธรรม ๔
คือ อริยศีลอริยสมาธิอริยปัญญาอริยวิมุตติ ที่ประกอบด้วย ฌานวิโมกข์สมาธิสมาบัติมรรคผลอภิญญาปฏิสัมภิทา คำว่า
กฎธรรมชาติ ได้แก่ (๑) สังขตลักษณะ
๓ (๒) อสังขตลักษณะ ๓ และ (๓) ธรรมนิยาม ๓ ซึ่งเป็น
ปัญญาทัสสนะ [ปัญญาเห็นธรรมตามที่เป็นจริงด้วยญาณเป็นภาวนามยปัญญา
= ญาณทัสสนะ
คือ การเห็นด้วยญาณในวิปัสสนา] ในการบำเพ็ญเพียรภาวนาด้วย ภาวนา ๔ ที่ประกอบด้วย (๑) กายภาวนา (๒) สีลภาวนา (๓) จิตตภาวนา
(๔) ปัญญาภาวนา ตามลำดับ.
การบำเพ็ญเพียร [วิริยสังวรวิริยารัมภะ]
เพื่อให้เกิดความเข้าใจความเป็นมาเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนให้ดียิ่งขึ้น
จึงจำแนกแนวทางการปฏิบัติออกเป็น ๒ ช่วงระยะ ได้แก่ (๑) การบำเพ็ญเพียรตบะ หมายถึง สมัยก่อน เจ้าชายสิทธัตถะ ผู้โคตม เสด็จออกผนวช คือ ยังเป็นฆราวาสผู้ครองเรือน กับ (๒) การบำเพ็ญเพียรภาวนา หมายถึง สมัย เจ้าชายสิทธัตถะ ผู้โคตม เสด็จออกผนวช เพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัยธรรม
ธรรมแห่ง โมกขธรรม
เป็นเวลานานถึง ๖ ปี นั่นคือ พระธรรมในระดับ บรมธรรม ที่เรียกว่า พระนิพพาน ดังนี้
(๑) การบำเพ็ญเพียรตบะ [Penance Development]
ความหมายของ คำว่า
ตบะ [Austerities]
หมายถึง (๑) การบำเพ็ญทุกรกริยาเพื่อไถ่บาปเผากิเลสราคะของ
ดาบสพราหมณดาบส คือ
มเหสีฤษีใหญ่ ผู้บำเพ็ญตบะ ผู้เผากิเลส คำว่า พราหมณดาบส หมายถึง ดาบสที่มีชาติตระกูลเป็น พราหมณ์ ออกมาบำเพ็ญพรตถือเพศเป็น ดาบส มีบันทึกในอรรถกถาว่า ครั้งอดีตสมัยพระเจ้าโอกกากราช ในดินแดนแถบทักขิณาบถ
อันเป็น ทักษิณชนบท มีเหล่าบรรดา พราหมณดาบส อยู่มากมาย นอกจากนี้ ยังรวมถึง พราหมณคหบดี หมายถึง พราหมณ์และคหบดี คือ ประดาพราหมณ์ และชนผู้เป็นเจ้าบ้านครองเรือนทั้งหลายอื่น
ที่นอกจากกษัตริย์และพราหมณ์นั้น เฉพาะอย่างยิ่งคือพวก แพศย์
[พ่อค้าวาณิชย์] (๒) ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส (๓) การบำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส
(๔) พิธีข่มกิเลสโดยการทรมานตัวของนักบวชบางพวกในสมัยพุทธกาล สำหรับกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองนั้น คำว่า ตบะ หมายถึง
(๕) ความทรงเดชเผากิเลสตัณหา นั่นคือ ขัตติยธรรม คือ หลักธรรมสำหรับกษัตริย์ ธรรมของพระจ้าแผ่นดิน นอกเหนือจากนี้ ยังมีคำคู่กับ
ตบะ นั่นคือ
ขันติ หมายถึง ความอดกลั้น ความอดทนเข้มแข็งไม่ท้อถอย
เป็น ตบะอย่างยิ่ง หรือตามนัยพุทธศาสนา นั่นคือ ขันติธรรม หมายถึง ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ
ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส จัดเป็น ธรรมทำให้งาม ๒ คือ (๑) ขันติ ความอดทน (๒) โสรัจจะ ความเสงี่ยมความมีอัธยาศัยประณีต [จรณะ]
ความมีอัธยาศัยงามรักความประณีตหมดจดและสงบเรียบร้อย
ให้พิจารณาเพิ่มเติมกับแนวคิดในพราหมณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
ดังนี้
พราหมณลัทธิลัทธิพราหมณ์พราหมณสมัยพราหมณวาท
คือ หลักการ หรือข้อยึดถือของพวกพราหมณ์ ที่กำหนดว่า พราหมณ์เป็นวรรณะที่ประเสริฐ
เลิศ สูงสุด อันให้วัดหรือตัดสินความเลิศประเสริฐนั้น โดย ชาติ คือ กำเนิด โดยโคตร คือ
สายตระกูล ซึ่งผูกพันกับ อาวาหะวิวาหะ คือ การแต่งงาน ที่อ้างออกมาว่า ท่านคู่ควรกับเรา หรือท่านไม่คู่ควรกับเรา
ต่างกับพระพุทธศาสนาซึ่งให้วัดหรือตัดสินคนด้วย กรรม คือ การกระทำ ความประพฤติ
โดยถือว่าสิ่งที่ทำให้เลิศให้ประเสริฐ คือ วิชชาจรณะ [วิชชาและจรณะ พราหมณ์บอกว่า เขาก็ถือ วิชชา และ จรณะ ด้วย แต่ วิชชา ของเขาหมายถึง
ไตรเพท และ
จรณะที่เขาถืออยู่เพียงศีล]
ฉะนั้น
แนวทางการปฏิบัติของพราหมณ์ คือ การบำเพ็ญวัตรพรต ตามความเชื่อในลัทธิของตนที่กำหนดขึ้นไว้
วิถีชีวิตของพราหมณ์ทั้งหลายจึงเกี่ยวข้องกับคำว่า อาศรม
๔ ดังนิยามต่อไปนี้
อาศรม ๔ หมายถึง สถานที่อยู่ของนักพรต คือ
ตามลัทธิของพราหมณ์ ในยุคที่กลายเป็นฮินดูแล้ว ได้วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวฮินดูวรรณะสูง
โดยเฉพาะ วรรณะพราหมณ์ [เวลามาขอบวชในพระพุทธศาสนา
เรียกว่า สมณพราหมณ์]
โดยแบ่งเป็นขั้นหรือช่วงระยะ ๔ ขั้น หรือ ๔ ช่วง
เรียกว่า อาศรม ๔ กำหนดว่าชาวฮินดู วรรณะพราหมณ์ ทุกคนจะต้องครองชีวิตให้ครบทั้ง ๔ อาศรม ตามลำดับ [แต่ในทางปฏิบัติ
น้อยคนนักได้ปฏิบัติเช่นนั้น โดยเฉพาะปัจจุบันไม่ได้ถือกันแล้ว
เพราะถือเป็นเรื่องที่หลุดโลก] ได้แก่
๑. พรหมจารี เป็นนักเรียนศึกษาพระเวท ถือพรหมจรรย์
คือ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ผู้ประพฤติธรรมมีเว้นจากเมถุน
เป็นต้น
๒. คฤหัสถ์ เป็นผู้ครองเรือน มีภรรยาและมีบุตร
๓. วานปรัสถ์วนปรัสถะ ออกอยู่ป่าเมื่อเห็นบุตรของบุตร
หมายถึง ผู้อยู่ป่า เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า
ผู้ที่ครองเรือน มีครอบครัวเป็นหลักฐาน ครั้นลูกหลานเติบโตก็จัดแจงให้มีครอบครัว
ตนเองชราลง ก็เข้าป่าจำศีลถือพรตบำเพ็ญตบะต่อไป
๔. สันยาสี [เขียนเต็มเป็นสันนยาสี] เป็นผู้สละโลก หรือผู้สละโลกแล้วตามธรรมเนียมของศาสนาฮินดู คือ มีผ้านุ่งผืนเดียวถือภาชนะขออาหารและหม้อน้ำเป็นสมบัติ
จาริกภิกขาจารเรื่อยไปไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาวโลก [ปราชญ์บางท่านว่า
พราหมณ์ได้ความคิดจากพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงจัดวางระบบของตนขึ้น
เช่น สันยาสี ตรงกับ ภิกษุ แต่หาเหมือนกันจริงไม่ อนึ่ง ถ้าภิกษุประพฤติเป็น สันยาสี แทน ก็มีชีวิตในสังสารวัฏฏ์ต่อไป บาปอีกด้วย
แถมยังได้ชื่อว่า เดียรถีย์
หรือ วัตถุวิบัติ]
อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนิกชนผู้อ่อนธรรมทั้งหลาย
ส่วนใหญ่ยังฟั่นเฟือน สับสนอลหม่าน ดังคราวกรุงศรีแตก ความคิดยังไม่อล่องฉ่อง
งามผุดผ่องน่าชมใน อริยธรรมอริยมรรค [รู้ไม่จริง]
จึงประพฤติธรรมหนักไปทาง ลัทธิพราหมณ์ มากกว่า แทนที่จะเป็น มัชฌิมาปฏิปทา อย่างแท้จริง เดินทางผิด แถมยังโดนแนวคิด พญานาค [ลัทธิเทพเจ้า] รวมทั้ง การไหว้เจ้าทรงผี กระหนำซ้ำสองเข้าไปอีกด้วย
จึงเป็น ชนผู้หลงทิศ [คล้ายพวก บุผาชนเสรีชน Hippie
ชนหนุ่มสาววัยรุ่น ช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ ช่วงจะเข้าสงครามเวียดนาม
สังคมคนอเมริกันเริ่มฝืนกฎประเพณีธรรมเนียมทางสังคมของพวกอนุรักษนิยม ผู้ทำตนแตกแยกจากธรรมเนียมระเบียบทางสังคม แล้วหันไปใส่ใจในเรื่องประหลาดมหัศจรรย์หรือลึกลับ
Mysticism ยาทำให้เกิดอาการหลอนทางประสาท
Paranoids เช่น เมากัญชาหรือยาเสพติดชนิดต่างๆ
Psychedelic Drugs ดำเนินชีวิตเน้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มชนอิสระ
สหคาม Communal Living
สรุป ไม่ได้ดีอะไรเลย] ให้พิจารณาธรรมรอบข้างในเรื่องนี้ให้ดี
บางทีเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในบ้านตนเอง เพราะคนเหล่านี้ ไม่ศึกษาค้นคว้าหาความจริง
พาหุสัจจะ
คือ ความเป็นผู้คงแก่เรียน จึงเป็นชน ผู้ได้แค่นี้ คือ รู้ไม่จริง [อวิชชา] ฉะนั้น สภาพสังคมในสมัย ลัทธิพราหมณ์ จึงเน้นแนว ที่สุด ๒ อย่างอันตา ๒ ดังนี้
ที่สุด ๒ อย่างอันตา ๒ หมายถึง ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง
คือ ไม่ใช่ทางสายกลางแห่ง มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งเป็นปัญญาแห่งความรู้แจ้งแทงตลอดใน
อริยสัจจ์ ๔
ที่ทำให้สิ้นอาสวะและกองทุกข์ ไม่ใช่ความเอียงสุดหรือการถือผิดเป็นใหญ่
ที่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ
ได้แก่
(๑)
กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข เช่น การบำรุงชีวิตด้วย กามคุณ หรือ โภคทรัพย์ อย่างมัวเมา เสียสติ ใช้ชีวิตตามแบบปุถุชนทั่วไป เพราะ อวิชชา
(๒)อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง
การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน เช่น ความเข้าใจผิดในการบำเพ็ญทุกขกิริยาว่าเป็นหนทางในการดับทุกข์
เพราะ อวิชชา อนึ่ง
อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การประกอบตนให้ลำบากเปล่า
คือ ความพยายามเพื่อบรรลุผลที่หมายด้วยวิธีทรมานตนเอง เช่น
การบำเพ็ญตบะต่างๆ ที่นิยมกันในหมู่นักบวชอินเดียจำนวนมาก ผลแห่งการบำเพ็ญเพียรนั้น
กลายเป็น ฤทธิ์ ไม่ใช่ ปัญญา อย่างแท้จริง แต่เป็นความหลงใหลแห่งกิเลสตัณหาเช่นเดิมเมื่อออกฌาน
(๒)
การบำเพ็ญเพียรภาวนา [Mental Development]
หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะ
ผู้โคตม ได้เสด็จออกผนวช เพื่อความสงบระงับจาก กามคุณ และได้ถือปฏิบัติใน
ที่สุด ๒ อย่าง
คือ อัตตกิลมถานุโยค ชนิดทำให้ถึงสุดรอบแห่งชีวิต
คือ การทำทุกรกิริยา โดยเข้าไปศึกษาในสำนักลัทธิต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ทางสายกลางแห่งปัญญา ที่เรียกว่า
มัชฌิมาปฏิปทา
ดังนี้
ด้วยเหตุนี้ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่พระองค์ยังไม่เคยเสพลัทธินั้นๆ ซึ่งเป็นที่นิยมนับถือว่าเป็น
บุญอย่างยิ่ง และเป็นเหตุสำเร็จแห่งสิ่งที่ประสงค์นั้นๆ
อันคณาจารย์สิ่งสอนกันอยู่ในครั้งนั้น, ก็จำเป็นที่จะต้องทรงทดลองดูว่า
ลัทธิเหล่านี้จะเป็นอุบายเครื่องสำเร็จความประสงค์ได้หรือไม่ จึงได้เสด็จไปอยู่ใน สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร
และ อุททกดาบส รามบุตร
ซึ่งมหาชน นับถือว่าเป็นคณาจารย์ใหญ่โดยลำดับ, ขอศึกษา ลัทธิสมัย
[ลัทธิพราหมณ์] ของท่านๆ ก็สั่งสอนตามลัทธิของตนจนสิ้นแล้ว
สรรเสริญพระมหาบุรุษว่ามีความรู้เสมอด้วยตน และชวนให้อยู่ช่วยกันสั่งสอนหมู่ศิษย์ต่อไป.
พระองค์ได้ทรงทำทดลองในลัทธินั้นทุกอย่างแล้ว เห็นว่าไม่ใช่ทาง
พระสัมมาสัมโพธิญาณ [มัชฌิมาปฏิปทา] จึงเสด็จออกจากสำนักดาบสทั้ง
๒ นั้น จาริกไปใน มคธชนบท บรรลุถึง ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา [เมื่อแรกตรัสรู้ ๑ ครั้ง], ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ราบรื่น แนวป่าเขียวสด เป็นที่เบิกบานใจ มีแม่น้ำไหลผ่าน
มีน้ำใสสะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ โคจรคาม [หมู่บ้านที่ภิกษุไปเที่ยวบิณฑบาตประจำ] คือ หมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกขาจารก็ตั้ง อยู่ใกล้โดยรอบ, ทรงพระดำริเห็นว่าประเทศขอบเขตนั้น
ควรเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตร ผู้มีความต้องการด้วยความเพียรได้
[อันเน้นที่ความเรียบง่าย เป็นที่เหมาะแก่การหลีกเร้น
มี สัปปายะ เอื้อต่อการเจริญไตรสิกขา] จึงเสด็จประทับอยู่
ณ ที่นั้น. ดังนั้น พระมหาบุรุษทรง บำเพ็ญทุกรกิริยา
[ตามแนวทาง ที่สุด ๒ อย่าง นั่นคือ อัตตกิลมถานุโยค] หมายถึง ทรมานพระกายให้ลำบากเป็นกิจยากที่จะกระทำได้.
วาระที่ ๑ คือ ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุ [เพดานปาก] ด้วยพระชิวหาไว้ให้แน่น จนพระเสโท [เหงื่อ] ไหลออกจากพระกัจฉะ [รักแร้], ในเวลานั้น ได้เสวย ทุกขเวทนา อันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง จับบุรุษมีกำลังน้อยไว้ที่ศีรษะหรือที่คอบีบให้แน่นฉะนั้น,
แม้พระกายกระวนกระวายไม่สงบระงับอย่างนี้ ทุกขเวทนา นั้น ก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย, พระองค์มีพระสติตั้งมั่น
[อุปัฏฐาน] ไม่ฟั่นเฟือน [อวิเขกปะ] ปรารภความเพียร [วิริยารัมภะ] ไม่ท้อถอย [ขันติ]. (๑) ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนั้นไม่ใช่ทางตรัสรู้
จึงทรงเปลี่ยนอย่างอื่น.
วาระที่ ๒ คือ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ [ลมหายใจเข้าออก] เมื่อลมไม่ได้เดินสะดวกโดยช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์
ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่องพระกรรณทั้งสอง ให้ปวดพระเศียร เสียดพระอุทร
ร้อนในพระกายเป็นกำลัง, แม้ได้เสวย ทุกขเวทนา กล้าถึงเพียงนี้ ทุกขเวทนา นั้นไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย
แต่มีพระสติตั้งมั่น [อุปัฏฐาน] ไม่ฟั่นเฟือน
[อวิเขกปะไม่ฟุ้งซ่าน
อสัมโมหะไม่หลง] ปรารภความเพียร [วิริยารัมภะทำความเพียรมุ่งมั่น] ไม่ย่อหย่อน [เวสารัชชะกล้าหาญ] . (๒) ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนี้ไม่ใช่ทางตรัสรู้
จึงเปลี่ยนอย่างอื่นอีก.
วาระที่ ๓ คือ ทรงอดพระอาหาร ผ่อนเสวยแต่วันละน้อยๆ บ้าง
เสวยพระอาหารละเอียดบ้าง, จนพระกายเหี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้าหมอง
พระอัฐิปรากฏทั้งพระกาย, เมื่อทรงลูบพระกาย เส้นพระโลมามีรากอันเน่าหลุดร่วงจากขุมพระโลมา,
พระกำลังน้อยถอยลง จะเสด็จไปข้างไหนก็ชวนล้ม, จนชนทั้งหลายได้เห็นแล้วกล่าวทักว่า
พระสมณโคดม ดำไป, บางพวกกล่าวว่า ไม่ดำ เป็นแต่คล้ำไป, บางพวกกล่าวว่า ไม่เป็นอย่างนั้น เป็นแต่พร้อยไป. ภายหลังทรงลง
สันนิษฐาน [ข้อสรุปทั่วไป]
ว่า (๓) การทำทุกรกิริยาไม่ใช่ทางตรัสรู้แน่แล้ว และ ได้ทรงเลิกเสียด้วยประการทั้งปวง กลับเสวยพระอาหารโดยปกติ
ไม่ทรงอดต่อไปอีก.
พระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกาย แสดงเหตุทรงปรารภ
บำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วเลิกเสียดังนี้ว่า ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ [คือ การโยนิโสมนสิการจนได้ข้อสรุปทั่วไปทางทฤษฎีอย่างมีเหตุผล
คิดได้ใหม่] ที่พระมหาบุรุษไม่เคยทรงสดับ
มาปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระองค์ว่า :
(๑) สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งมีกายไม่ได้หลีกออกจากกาม
[กามราคะ = กามสุขัลลิกานุโยค]
และมีความพอใจรักใคร่ในกาม ยังละให้สงบระงับไม่ได้ดี, สมณพราหมณ์เหล่านั้น
แม้ได้เสวย ทุกขเวทนา
[อัตตกิลมถานุโยค] อันกล้าแสบเผ็ด ที่เกิดเพราะความเพียรก็ดี
ไม่ได้เสวยก็ดี โดยสรุป คือ ก็ไม่ควรจะตรัสรู้, เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยางบุคคลแช่ไว้ในน้ำ,
บุรุษมีความต้องการด้วยไฟ มาถือเอาไม้สำหรับสีไฟมาสีเข้า ด้วยหวังจะให้เกิดไฟ,
บุรุษนั้นไม่อาจให้ไฟเกิดขึ้นได้ ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า เพราะไม้นั้นยังสดมียางอยู่
ทั้งยังแช่ไว้ในน้ำ.
(๒) สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้มีกายหลีกออกจากกามแล้ว
แต่ยังมีความพอใจรักใคร่ในกาม ยังละให้สงบระงับไม่ได้ดี, สมณพราหมณ์เหล่านั้น
แม้ได้เสวย ทุกขเวทนา
เช่นนั้น อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี โดยสรุป คือ
ก็ไม่ควรจะตรัสรู้, เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง
แม้ห่างไกลจากน้ำ บุคคลตั้งไว้บนบก, บุรุษก็ไม่อาจสีให้เกิดไฟได้
ถ้าสีเข้า ต้องเหน็ดเหนื่อยลำลากเปล่า เพราะไม้นั้นแม้ตั้งอยู่บนบกแล้ว
ก็ยังเป็นของสดชุ่มด้วยยาง.
(๓) สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายหลีกออกจากกามแล้ว
และละความพอใจรักใคร่ในกาม ให้สงบระงับดีแล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ได้เสวย ทุกขเวทนา
เช่นนั้น อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี แม้ไม่ได้เสวยเลยก็ดี โดยสรุป
คือ ก็ควรจะตรัสรู้ได้, เหมือนไม้แห้งที่ไกลจากน้ำ
บุคคลวางไว้บนบก, บุรุษอาจสีให้เกิดไฟขึ้นได้ เพราะเป็นของแห้ง
ทั้งตั้งอยู่บนบก.
พระองค์จะป้องกันจิตไม่ให้น้อมไปใน กามารมณ์ จึงได้ทรง บำเพ็ญทุกรกิริยา, ครั้นทำไปช้านาน ก็หาได้ผลที่มุ่งหมายไม่,
กลับทรงดำริใหม่ว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เสวย ทุกขเวทนา
อันกล้าแสบเผ็ด ที่เกิดเพราะความเพียรในกาลล่วงแล้วก็ดี จักได้เสวยในกาลข้างหน้าก็ดี
เสวยอยู่ในกาลบัดนี้ก็ดี, ทุกขเวทนา นั้น ก็อย่างยิ่งเพียงเท่านี้ ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไป, ถึงอย่างนั้น
เราก็ไม่สามารถจะตรัสรู้ด้วยทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนอย่างนี้;
ชะรอยทางตรัสรู้จะมีเป็นอย่างอื่นกระมัง? คราวนี้ เกิดพระสติหวนระลึกถึงความเพียรทางใจว่า
จักเป็นทางตรัสรู้ได้กระมัง? ใคร่จะทรงตั้งปธานทางจิต ทรงคิดเห็นว่า
ความเพียรเช่นนั้น คนซูบผอมเช่นนี้
ไม่สามารถให้เป็นไปได้ จำเราจะกินอาหารแข้น คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส [ขนมสด คือ ขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะบูด
เช่น ขนมด้วง ขนมครก ขนมถ้วย ขนมตาล เป็นต้น พระพุทธเจ้าหลังจากเลิก
บำเพ็ญทุกรกิริยา ก็เสวยข้าวสุกและกุมมาส] ให้มีกำลังก่อน;
ทรงสันนิษฐานเช่นนี้แล้ว จึงกลับเสวยพระอาหารโดยปกติ.
ฝ่ายพระมหาบุรุษเสวยอาหารแข้น ทำพระกายให้กลับมีพระกำลังขึ้นได้อย่างเดิม
ทรงเริ่มความเพียรเป็นไปในจิตต่อไป [ซึ่งเรียกว่า
เจริญภาวนา เพื่อให้เกิดปัญญาญาณ], นับแต่บรรพชามา ๖ ปีล่วงแล้ว จึงได้ตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ได้พระปัญญารู้ธรรมพิเศษ เป็นเหตุพอพระหฤทัยว่า
รู้ละ
[ปหานปธานเพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว]
ในราตรีแห่งวิศาขปุรณมี ดิถีเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงวิศาขนักขัตฤกษ์
ที่ใต้ร่มไม้อัสสัตถพฤกษ์โพธิใบ [ต้นพระศรีมหาโพธิ์] ในปีก่อนพุทธศก ๔๕.
พระองค์ทรงรู้เห็นธรรมอะไร จึงพอพระหฤทัยว่ารู้ และหยุดการแสวงต่อไป
และเริ่มสั่งสอนอื่น? ทางดีในอันสันนิษฐานข้อนี้ คือ กระแสพระธรรมเทศนาของพระองค์
ที่ได้ประทานไว้ในที่นั้นๆ ในกาลนั้นๆ มีปฐมเทศนาเป็นอาทิ. ฝ่ายพระมัชฌิมภาณกาจารย์แสดงความตรัสรู้ของพระองค์ไว้ดังนี้:
(๑) ทรงเจริญสมถภาวนา ทำจิตให้เป็นสมาธิ คือ แน่แน่วบริสุทธิ์ ปราศจากอุปกิเลส คือ
อารมณ์เครื่องเศร้าหมอง สุขุมเข้าโดยลำดับ นับว่าได้บรรลุฌานที่
๑ ฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ คือ รูปฌาน
๔, แล้วจากนั้น (๒) ทรงเจริญวิปัสสนาภาวนา ยังญาณอันเป็นตัวปัญญา ๓ ประการ [วิชชา ๓ญาณ ๓ คือ ความรู้แจ้ง] ให้เกิดขึ้นในยามทั้ง ๓ แห่งราตรี ตามลำดับกัน.
ญาณ ๓ [วิชชา ๓] นั้น ญาณที่ ๑ คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แปลว่า ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยในก่อน,
ทานแจกอรรถโดยอาการระลึกชาติหนหลังของตนได้. ญาณที่ ๒
คือ จุตูปปาตญาณ แปลว่า ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย,
ท่านแจกอรรถโดยอาการรู้สัตว์ทั้งหลายอันดีเลวต่างกันว่าเป็นด้วยอำนาจกรรม,
อีกนัยหนึ่งเรียกว่า ทิพพจักขุญาณ แปลว่า ความรู้ดุจดวงตาทิพย์. ญาณที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ แปลว่า ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ
คือ เครื่องเศร้าหมองอันหมักหมมอยู่ในจิตสันดาน, ท่านแจกอรรถโดยอาการกำหนดรู้ขันธ์พร้อมทั้งอาการ
โดยความเป็นเหตุและเป็นผล เนื่องต่อกันไป, จบลงด้วยรู้อริยสัจจ์
คือ ความจริงอย่างสูง ๔ ประการ คือ รู้ทุกข์ ๑ รู้ทุกขสมุทัย
เหตุเกิดแห่งทุกข์ ๑ รู้ทุกขนิโรธ ความดับแห่งทุกข์
๑ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ทางดำเนินถึงความดับทุกข์
๑. หรือกล่าวสั้นว่า รู้ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค. และ รู้อาสวะ เหตุเกิดอาสวะความดับอาสวะ คือ ทางดำเนินถึงความดับอาสวะ
อีกทางหนึ่ง เมื่อพระองค์รู้เห็นอย่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งปวง
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
ญาณทั้ง ๓ นั้น [ข้อ ๑๓ ในโสฬสญาณญาณ ๑๖]
พึงเห็นโดยนัย ดังนี้ :
ญาณที่ ๑ ให้หยั่งรู้อัตภาพโดยเป็นแต่สภาวะอย่างหนึ่งๆ คุมกันเข้า
[นามรูปปริจเฉทญาณ] ได้ชื่อว่า ขันธ์ เช่น ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวีอาโปเตโชวาโย คุมกันเป็นขันธ์อันหนึ่ง
เรียกว่า รูป, ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆ เป็นขันธ์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า เวทนา, ความจำนั่นจำนี่ได้ เป็นขันธ์อีกอันหนึ่ง
เรียกว่า สัญญา, ความนึกความคิด เป็นขันธ์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า สังขาร, ความรู้ทางทวาร ๕ ภายนอกและจิตอันเป็นพนักงานผู้นึกผู้คิด
เป็นขันธ์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า วิญญาณ; โดยบรรยายนี้เป็น ปัญจขันธ์. แม้ขันธ์หนึ่งๆ ก็เป็นมาแต่สภาวะย่อยๆ
คุมกันเข้าอีก [พิจารณาแยกรูปแยกนาม], เหมือนรถหรือเรือน เป็นของที่สัมภาระย่อยคุมกันเข้า, เป็นอย่างนี้ทั้งส่วนอันล่วงไปแล้ว
ทั้งส่วนยังเป็นไปอยู่ คนผู้ไม่ได้เคยสดับย่อมเห็นเป็นสิ่งเป็นอัน
เป็นผู้เป็นคน และหลงรักหลงชังในขันธ์ [คาหะความยึดถือ อภินิเวสะความยึดมั่น = อุปาทานขันธ์]
นั้น, เหมือนคนผู้ไม่ได้เป็นช่าง เห็นเป็นแต่รถแต่เรือน
ถึงจะรู้บ้างก็ยังหยาบ. ต่อนายช่างจึงจะเล็งเห็นละเอียดลงไปถึงสัมภาระ.
ญาณนี้ย่อมนำ [รู้เห็นกำจัด] ความหลง [โมหะอวิชชา]
ในขันธ์อันเป็นเหตุรักหรือชังเสีย.
ญาณที่ ๒ ให้หยั่งรู้ว่าขันธ์นั้นแล ย่อมเป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดา,
มีอันคุมกันเป็นสัตว์บุคคล แล้วภายหลังสลายจากกัน เป็นอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมด
[สัมมสนญาณ = เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์
คือ เห็น สามัญลักษณะ
ได้แก่ อนิจจังทุกขังอนัตตา
], แต่ถึงอย่างนั้น ยังดีเลว งามไม่งาม ได้สุขได้ทุกข์ต่างกันอยู่, เป็นอย่างนี้เพราะ
กรรม ที่ทำ [กฎแห่งกรรม]. ญาณนี้ย่อมนำ
[รู้เห็นกำจัด] ความหลงในคติแห่งขันธ์อันเป็นเหตุสำคัญผิดด้วยประการต่างๆ เสีย.
ญาณที่ ๓ ให้หยั่งรู้ขันธ์พร้อมทั้งอาการโดยความเป็นเหตุและผลเนื่องประพันธ์กันไป,
สภาวะอย่างหนึ่งเป็นผลเกิดแต่เหตุอย่างหนึ่งแล้ว ซ้ำเป็นเหตุยังผลอย่างอื่นให้เกิดต่อไปอีกเล่า
เหมือนลูกโซ่เกี่ยวคล้องกันเป็นสาย, บรรยายนี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ [ปัจจยปริคคหญาณ]
ญาณนี้ย่อมนำ [รู้เห็นกำจัด] ความหลงในธรรมดาเป็นเหตุเพลินในขันธ์อันประณีตเสีย ที่ท่านแสดงว่าเห็น อริยสัจจ์ ๔ มีทุกข์ เป็นต้น และเป็นเหตุถึงความบริสุทธิ์สิ้นเชิง
ที่ท่านแสดงว่าสิ้นอาสวะทั้งปวง.
แหล่งที่มา:
พุทธประวัติ เล่ม ๑ [หลักสูตรนักธรรม
และธรรมศึกษาชั้นตรี] พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๕๓/๒๕๔๑
ดังนั้น
จะเห็นได้ว่า การเจริญภาวนา ต้องประกอบด้วย ขันติสังวร [Restraint by Patience] คือ สำรวมด้วยขันติ หรือ อธิวาสนขันติ หมายถึง ความอดทนคือความอดกลั้น ที่เริ่มจาก ความประพฤติให้บริสุทธิ์ จนกลายเป็นศีล หรือ
ศีลวัตรศีลพรตศีลและวัตรศีลและพรต
ซึ่งหมายถึง (๑) ข้อที่จะต้องสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิดหลักความประพฤติทั่วไปอันจะต้องรักษาเป็นพื้นฐานเสมอกันชื่อว่า
ศีล [Virtue] (๒) ข้อที่พึงถือปฏิบัติข้อปฏิบัติพิเศษเพื่อฝึกฝนตนให้ยิ่งขึ้นไปชื่อว่า
วัตร [Duty] (๓) ข้อปฏิบัติทางศาสนาข้อปฏิบัติประจำธรรมเนียมความประพฤติของผู้ถือศาสนาที่คู่กันกับ ศีลวัตร ชื่อว่า พรต [Rituals] ซึ่งในขั้นตอนนี้ เรียกว่า ภาวนา ๔ [Development] ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น หมายถึง การเจริญการทำให้เป็นให้มีขึ้นการฝึกอบรมการพัฒนา ได้แก่ (๑) กายภาวนา [Physical
Development] (๒) สีลภาวนา [Moral
Development] แล้วค่อยก้าวสู่ (๓) จิตตภาวนา
[Emotional Development] คือ สมถภาวนา [Tranquility Development] คือ การเจริญ รูปฌาน ๔ กับ (๔) ปัญญาภาวนา [Wisdom
Development] คือ วิปัสสนาภาวนา [Insight Development] คือ การเจริญ โสฬสญาณญาณ ๑๖ ตามลำดับ
อนึ่ง ดังสมัยพุทธกาล มีธรรมเนียมปฏิบัติกันในหมู่ภิกษุอย่างหนึ่ง
ที่เรียกว่า บอกวัตร หมายถึง บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป
ข้อความที่บอก ว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึง ปฏิบัติบูชา คาถา ๑ โอวาทปาฏิโมกข์
๑ คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม ๑ คำเตือนให้ใส่ใจในธรรม ในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์
ผู้ได้พบกับพระพุทธศาสนา ๑ ความไม่ประมาท [อัปปมาทะ]
๑ เร่งเพียรพยายามในทางธรรม เพื่อน้อมไปสู่พระนิพพานและพ้นจากทุคติ
๑ แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ ๑ ลำดับกาลในพระพุทธประวัติ
๑ สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน ๑ ชื่อ วันเดือนปี และดาวนักษัตร ๒๗ ๑ และจบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท
๑ บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ
๑ แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมนี้ บัดนี้เลือนรางไปแล้ว [เป็นการเตือนสติ
ซึ่งพึงปฏิบัติกัน คือ ของดีควรอนุรักษ์ไว้] นอกจากนี้
ให้ศึกษาการเจริญภาวนาอย่างละเอียดในบทที่ ๓ และ บทที่ ๔ อีกครั้ง.
|